อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554
ผู้หญิงติดบนหลังคารถยนต์รอการช่วยเหลือในระหว่างน้ำท่วมเฉียบพลันที่ทูวูมบา (Toowoomba)
วันที่พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – มกราคม พ.ศ. 2554
ที่ตั้งรัฐควีนส์แลนด์ทางตอนกลางและใต้ส่วนใหญ่ รวมไปถึงบริสเบน, ร็อกแฮมตัน, จิมพี, เอเมอรัลด์, บันดาเบิร์ก, ดอลบี, ทูวูมบา, โรมา และอิปสวิช
เสียชีวิต35
ทรัพย์สินเสียหาย2.39 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,389,225,876 ดอลลาร์สหรัฐ); ส่งผลกระทบ 200,000 คน[1]

อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ ธันวาคม พ.ศ. 2553-มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นในรัฐควีนส์แลนด์ อุทกภัยครั้งดังกล่าวส่งผลให้มีการอพยพประชาชนหลายพันคนออกจากเมืองและนครที่ได้รับผลกระทบ[2] และมีอย่างน้อย 22 เมือง และประชาชนมากกว่า 200,000 คนได้รับผลกระทบ[2] ความเสียหายเบื้องต้นประมาณไว้ที่ 1 พันล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย (650 ล้านปอนด์)[3] พื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนใต้และตอนกลางของรัฐควีนส์แลนด์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ถนนกว่า 300 สายถูกปิด รวมทั้งทางหลวงสายหลัก 9 สาย[4] เส้นทางรถไฟถ่านหินก็ได้ถูกปิดและบริเวณทำเหมืองหลายแห่งถูกน้ำท่วม ราคาของผักและผลไม้ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก[5] ด้านรัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางอนุมัติเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 1 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย[6] ยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยอยู่ที่ 35 ศพ[7]

เบื้องหลัง[แก้]

เส้นทางของไซโคลนทาชา

อุทกภัยเป็นผลมาจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นจากพายุไซโคลนเขตร้อนทาชา ซึ่งประกอบกับร่องน้ำในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ลานีญาสูงสุด ลักษณะลมฟ้าอากาศลานิญา พ.ศ. 2553 ซึ่งนำสภาพอากาศชื้นกว่าปกติมายังออสเตรเลียตะวันออก เป็นปรากฏการณ์ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2516[8] เกิดอุทกภัยในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองไล่ตั้งแต่หลายส่วนของรัฐนับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม วันที่ 24 ธันวาคม ร่องมรสุมพาดผ่านชายฝั่งจากทะเลคอรัล ทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างนับจากอ่าวคาร์เพนแทเรียไปจนถึงโกลด์โคสต์ วันที่ 28 ธันวาคม ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักนั้นเริ่มซาลง[9]

ขอบเขต[แก้]

เดิมอุทกภัยส่งผลกระทบให้ประชาชน 1,000 คนได้รับการอพยพออกจากเมืองธีโอดอร์และอีกหลายเมือง ฝ่ายทหารได้สนับสนุนโดยการเคลื่อนย้ายประชาชนทางเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์การอพยพในมัวรา การอพยพประชากรทั้งเมืองของธีโอดอร์ได้รับการอธิบายว่าไม่เคยปรากฏมาก่อนโดยรักษาการหัวหน้าเจ้าหน้าที่จัดการฉุกเฉินรัฐควีนส์แลนด์[10] บันดาเบิร์กประสบกับอุทกภัยรุนแรงหลังจากน้ำในแม่น้ำเบอร์เน็ตต์เอ่อล้นเข้าท่วมเมือง ชินชิลล่าและเจอริโกก็ประสบภัยพิบัติเช่นกัน[11]

การคมนาคมทางถนนของเอมเมอรัลถูกตัดขาดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม หลังจากน้ำในแม่น้ำนากัวมีระดับสูงขึ้น[11] ในวันรุ่งขึ้น น้ำในแม่น้ำได้เกินความสูงที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งอุทกภัยใน พ.ศ. 2551 ที่ความสูง 15.36 เมตร[12] พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองถูกน้ำท่วมในช่วงที่เกิดอุทกภัยหนักที่สุด นับเป็นภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดที่เมืองเคยประสบมา[13]

ร็อกแฮมป์ตันมีเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ในการเตรียมรับมือกับอุทกภัยหลังจากน้ำในแม่น้ำฟิตซรอยเพิ่มสูงขึ้น ท่อากาศยานถูกปิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม[14] และเมื่อถึงวันที่ 3 ธันวาคม การติดต่อทางอากาศ ถนน และทางรางกับส่วนอื่นของประเทศถูกตัดขาดอย่างสมบูรณ์[15] ผนังกั้นน้ำโลหะถูกตั้งขึ้นรอบอาคารที่พักผู้โดยสารเพื่อป้องกันไม่ให้ซากปรักหักพังที่เกิดจากอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้าง ศูนย์ผู้อพยพได้ถูกตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลควีนส์แลนด์[16] ท่าเรือแกลดสโตนลดปริมาณการส่งออกสินค้าลงเนื่องจากการขาดการขนส่งถ่านหินทางราง และเนื่องจากคลังสินค้าของท่าเรือชุ่มไปด้วยน้ำ[17] ชาวเมืองเอมเมอรัล 1,200 คน ได้ลงทะเบียนเป็นผู้อพยพ[16]

อุทกภัยในเดลบีเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2524[18] ระบบการทำน้ำให้สะอาดของเมืองถูกน้ำท่วม ซึ่งส่งผลให้มีการจำกัดน้ำที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำน้ำให้สะอาดนี้ น้ำกว่า 112,500 ลิตรได้รับการขนส่งมายังเมืองที่มีประชากรกว่า 14,000 คน[19] แม่น้ำคอนดาไมน์เพิ่มระดับสูงขึ้นเป็น 14.25 เมตร เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม เป็นระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา และยังคงมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ[6] เมืองคอนดาไมด์มีการอพยพประชาชนในวันเดียวกัน[5]

ในรัฐควีนส์แลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ เขื่อนไวเว็นโฮมีปริมาณน้ำ 122% ของปริมาณเก็บกัก ส่งผลให้ต้องมีการระบายน้ำออกทั้งห้าประตู[20] บริสเบนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหนักที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2402[17]

นายกรัฐมนตรี จูเลีย กิลลาร์ด ลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Delana Carbone; Jenna Hanson (29 มกราคม 2013). "Floods: 10 of the deadliest in Australian history". Australian Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013.
  2. 2.0 2.1 "Australia: Queensland floods spur more evacuation". BBC News. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  3. "Floods force mass evacuations in Queensland, Australia". BBC News. 29 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  4. "Hundreds of roads closed in flooded Qld". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. 28 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  5. 5.0 5.1 "Some Queensland flood victims facing long wait to return to their flooded homes". The Australian. News Limited. 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  6. 6.0 6.1 "Disease fears grow as flooding hits towns' water supplies and rivers rise in Queensland". The Courier-Mail. Queensland Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  7. Creighton, Drew (2016-01-13). "Queensland floods 2011: The floods by the numbers". Brisbane Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
  8. "La Nina to break down later this year". ABC News Online. Australian Broadcasting Corporation. 1 January 2011. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  9. "Bureau believes worst is over". Warwick Daily News. APN News & Media. 28 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  10. Marissa Calligeros (29 December 2010). "Flooding could last 'weeks, not days'". Brisbane Times. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  11. 11.0 11.1 Marissa Calligeros (30 December 2010). "From drought to flooding rains: Queensland's flood crisis continues". Brisbane Times. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  12. "Qld's 'heartbreaking' floods worst ever". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  13. Vikki Campion (1 January 2011). "Flooded towns in Queensland declared disaster zones". The Daily Telegraph. Herald and Weekly Times. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  14. "Rockhampton Airport shuts down". The Morning Bulletin. APN News & Media. 3 January 2011. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
  15. "Floods completely cut off Rockhampton". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Rockhampton faces forced evacuations". ABC News Online. Australian Broadcasting Corporation. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
  17. 17.0 17.1 David Fickling & Ray Brindal (30 December 2010). "Rains Hit Australian Coal Mines". Wall Street Journal. Dow Jones & Company. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  18. Courtney Trenwith (30 December 2010). "Heartbreak beneath the flood slick". Brisbane Times. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  19. "Drinking water trucked into flood-ravaged Dalby". Herald Sun. Herald and Weekly Times. 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  20. Andrew Korner (30 December 2010). "Five gates open at Wivenhoe Dam". The Queensland Times. APN News & Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.