จังหวัดอุดรมีชัย

พิกัด: 14°10′N 103°30′E / 14.167°N 103.500°E / 14.167; 103.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อุดรมีชัย)
จังหวัดอุดรมีชัย

ខេត្តឧត្ដរមានជ័យ
ถนนสายหนึ่งในเมืองสำโรง
ถนนสายหนึ่งในเมืองสำโรง
แผนที่ประเทศกัมพูชาเน้นจังหวัดอุดรมีชัย
แผนที่ประเทศกัมพูชาเน้นจังหวัดอุดรมีชัย
พิกัด: 14°10′N 103°30′E / 14.167°N 103.500°E / 14.167; 103.500
ประเทศธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
ยกฐานะเป็นจังหวัดพ.ศ. 2509
เมืองหลักสำโรง
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการแปน โกะซ็อล
พื้นที่
 • ทั้งหมด6,158 ตร.กม. (2,378 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 13
ประชากร
 (พ.ศ. 2551)[1]
 • ทั้งหมด185,443 คน
 • อันดับที่ 18
 • ความหนาแน่น30 คน/ตร.กม. (78 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 19
เขตเวลาUTC+07
รหัสโทรศัพท์+855
รหัส ISO 3166KH-22
อำเภอ5

อุดรมีชัย[2] หรือ อุดดอร์เมียนเจ็ย[2] (เขมร: ឧត្ដរមានជ័យ อุตฺฎรมานชัย) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่เลียบแนวชายแดนของประเทศไทย คำว่า อุดรมีชัย แปลว่า ทางเหนือมีชัย

ประวัติ[แก้]

ในอดีต พื้นที่จังหวัดอุดรมีชัยเคยเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มเขมรแดง ราวปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2518 โดยกลุ่มเขมรแดงได้สร้างฐานที่มั่นไว้บนทิวเขาพนมดงรัก และจัดตั้งอำเภออ็อนลวงแวงให้เป็นฐานหลักในราวปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2540 ปัจจุบันจังหวัดอุดรมีชัยยังเป็นพื้นที่ที่มีกับระเบิดอยู่จำนวนมาก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

จังหวัดอุดรมีชัยแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ (ស្រុក) ได้แก่

ชื่อเมือง
(ภาษาเขมร)
เขียนด้วยอักษรไทย เขียนด้วยอักษรโรมัน
អន្លង់វែង อ็อนลวงแวง (อนฺลง̍แวง) Anlong Veng
បន្ទាយអំពិល บ็อนเตียย์อ็อมปึล (บนฺทายอํพิล) Banteay Ampil
ចុងកាល จงกาล (จุงกาล) Chong Kal
សំរោង สำโรง (สํโรง) Samraong
ត្រពាំងប្រាសាទ ตอเปรียงปราสาท (ตฺรพำงบฺราสาท) Trapeang Prasat

ภูมิประเทศ[แก้]

จังหวัดอุดรมีชัยตั้งอยู่ในพื้นที่ทิวเขาพนมดงรัก เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรงเนื่องมาจากการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจและการบุกรุกป่าข้ามชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals" (PDF). National Institute of Statistics, Ministry of Planning. 3 September 2008.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.