อี ซุน-ชิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อี ซุน-ซิน)
อี ซุน-ชิน
28 เมษายน พ.ศ. 208716 ธันวาคม พ.ศ. 2141

อี ซุน-ชิน
เกิดที่ ฮัมซอง (ปัจจุบัน คือ โซล)
อนิจกรรมที่ ช่องแคบโนรยัง
เหล่าทัพ กองทัพเรือเกาหลี
Yi Sun-sin

ฮุนมินจ็องอึม
ฮันจา
อาร์อาร์I Sunsin or Ri Sunsin
เอ็มอาร์Yi Sunsin or Ri Sunsin
ชื่อสุภาพ
ฮุนมินจ็องอึม
ฮันจา
อาร์อาร์Yeohae
เอ็มอาร์Yŏhae
ชื่อมรณกรรม
ฮุนมินจ็องอึม
ฮันจา
อาร์อาร์Chungmu
เอ็มอาร์Ch'ungmu

อี ซุน-ชิน (เกาหลี이순신; ฮันจา李舜臣; เอ็มอาร์I Sun-sin; 28 เมษายน พ.ศ. 208716 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล : 삼도수군통제사, ฮันจา : 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวนน้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ [1]

เขาเสียชีวิตในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก) , "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister) , และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君, เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง"

ช่วงต้นของชีวิต[แก้]

อี ซุน-ชินเกิดที่กรุงฮันยัง (ปัจจุบันคือโซล) ตระกูลของเขาคือตระกูลลีแห่ง Deoksu พ.ศ. 2095 ลีจอง พ่อของเขาถูกจับและลงโทษ จากข้อหาประกอบพิธีศพให้อาชญากรที่ตายไปแล้ว ครองครัวของเขาจึงย้ายไปที่อาซาน จังหวัดกองซางโต พระเจ้าซอนโจพระราชทานอภัยโทษให้ในปี พ.ศ. 2110

หนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญในช่วงนี้คือการที่เข้าได้เป็นเพื่อนกับ ยู ซองรยง (유성룡) นักวิชาการผู้มีชื่อ ที่ได้เป็นมหาเสนาบดีของเกาหลีในช่วงการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ซึ่งในช่วงสงครามนี้ การสนับสนุนของยู ซองลยอง มีความสำคัญมากๆต่อชัยชนะของอี ซุน-ชิน

ในวัยเด็ก เขาเล่นเกมสงครามกับเพื่อนๆ ซึ่งในการละเล่นนี้ เขาได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะด้านความเป็นผู้นำทางทหาร (เช่นเดียวกับนโปเลียน) และเขายังประดิษฐ์ธนูและลูกศรเองตั้งแต่ยังเป็นวัยเด็ก

พ.ศ. 2119 อี ซุน-ชินเขาสอบคัดเลือกนายทหารประจำปี (무과; 武科) เขาได้แสดงความสามารถเชิงดาบและธนู ให้เป็นที่ประทับใจแก่คณะกรรมการตัดสิน แต่ตกในการสอบขี่ม้าเพราะตกม้าขาหัก หลังจากเข้าสอบใหม่และผ่าน เขาถูกส่งไปรบในตำบลทหารกองทัพภาคเหนือ ในจังหวัดฮัมยอง (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งของเกาหลีเหนือ) เขาเป็นนายทหารใหม่ที่อายุเยอะที่สุด (32 ปี) เขาได้รับหน้าที่เข้ารบต่อสู้กับพวกหนู่เจิน (ต่อมาคือพวกแมนจู) ที่เข้ามาปล้นสะดมตามแนวชายแดน อี ซุน-ชินได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วจากความเป็นผู้นำและเป็นผู้มีกลยุทธ์

พ.ศ. 2126 เขาวางแผนลวงพวกหนู่เจินให้ออกมารบ จนสามารถเอาชนะและจับหัวหน้าพวกหนู่เจิน มูไปไน ได้อย่างไรก็ตาม อี ซุน-ชินต้องพักราชการไปไว้ทุกข์ให้บิดาที่จากไปตามประเพณีอยู่ 3 ปี ก่อนจะกลับเข้ามารับราชการอีก

ความสามารถและความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมของเขานั้น กลับเป็นการสร้างความอิจฉาริษยาให้แก่ผู้อื่นยิ่ง กล่าวหาว่าเขาหนีทัพระหว่างการรบ การใส่ร้ายนี้ นำโดยนายพล ลีอี ผู้ซึ่งต่อมาแพ้ให้กับกองทัพญี่ปุ่นในการรบที่ซางจู การใส่ร้ายป้ายสีเพื่อขัดแข้งขัดขาผู้อื่น กลายเป็นเรื่องปกติมากๆในกองทัพและรัฐบาลเกาหลีในปีถัดๆมา ในที่สุด อี ซุน-ชินก็ถูกจับจองจำและทรมาน หลังถูกปล่อย เขาถูกลดขั้นเป็นเพียงพลทหาร แต่เขาก็ไต่เต้าขึ้นมาใหม่ได้อีกอย่างรวดเร็ว จนได้เป็นผู้บัญชาการศูนย์ฝึกทหาร และถูกย้ายไปเป็นผู้พิภาคษาศาลทหารในจังหวัดเล็กๆแห่งหนึ่ง

ความพยายามของอี ซุน-ชินในภาคเหนือ ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว ในช่วงเดือนท้ายๆของปี พ.ศ. 2133 เขาได้รับการปรับเลื่อนตำแหน่งถึง 4 ครั้ง และในท้ายที่สุด เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการฝ่ายซ้ายแห่งจังหวัดทหารเรือจอนลา (전라좌도; 全羅左道) ในช่วงนี้เอง รัฐบาลโซซอนกำลังอยู่ในภาวะสับสน เนื่องจากความไม่แน่ชัดว่าญี่ปุ่น ภายใต้การนำของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ จะรุกรานเกาหลีหรือไม่ (ซึ่งผลคือ ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลีจริงจริงในอีก 2 ปีให้หลัง) และ การเรืองอำนาจของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ผู้นำหนุ่มแห่งหนู่เจิน (เขาคือผู้วางรากฐานให้อาณาจักรแมนจู ต่อมา ลูกหลานของเขา ก็สามารถบุกยึดประเทศจีน สถาปนาราชวงศ์ชิงได้) ด้วยเหตุนี้ จึงมีการโยกย้ายนายทหารผู้เปี่ยมประสบการณ์ ขึ้นไปประจำการยังจุดยุทธศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ อี ซุน-ชินจึงถูกส่งไปประจำการที่ยอซู ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2133 และที่นี่เอง เขารับผิดชอบสร้างมณฑลทหารเรือขึ้นมา ซึ่งต่อมากลายเป็นกุญแจสำคัญในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในสงคราม 7 ปีหรือศึกอิมจิน (ชื่อที่ชาวเกาหลีเรียก การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)) เขาสร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพเรือเกาหลีผ่านการปรับปรุงหลายครั้ง รวมไปถึงการสร้างเรือเต่า โคบุ๊คซอน ที่ถือได้ว่าเป็นเรือรบหุ้มเกราะเหล็กลำแรกของโลก

การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)[แก้]

วีรกรรมของอี ซุน-ชิน ได้รับการจดจำอย่างมาก จากการเข้าร่วมรบหลายต่อหลายครั้งในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) นี้เอง ในปี พ.ศ. 2135 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิออกคำสั่งเคลื่อนพลเข้าตีเกาหลี หมายจะกวาดพื้นที่ทั้งคาบสมุทรเกาหลี เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการหน้าในการเข้ายึดประเทศจีนต่อไป หลังการโจมตีเมืองปูซาน อี ซุน-ชินก็เริ่มปฏิบัติการโต้ตอบทางทะเล จากยอซู หน่วยบัญชาการของเขา เขามีชัยเหนือญี่ปุ่นใน ยุทธนาวีที่โอ๊กโป,ยุทธนาวีที่ซาชาน และอีกหลายศึก ชัยชนะอย่างต่อเนื่องของเขา ทำให้แม่ทัพทั้งหลายของญี่ปุ่นกังวลถึงภัยจากทางทะเล อี ซุน-ชินเข้ารบในยุทธนาวีใหญ่ๆ อย่างน้อย 23 ครั้ง และได้ชัยชนะทุกครั้ง

ฮิเดโยชิตระหนักถึงความจำเป็นยิ่งยวด ถึงการครอบครองทะเลในระหว่างสงคราม จากล้มเหลวในการจ้างเรือแกลเลียนจากโปรตุเกส ฮิเดโยชินจึงหันไปเพิ่มขนาดกองเรือของเขาเป็น 1,700ลำ โดยคิดว่าเกาหลีจะสู้ในระยะประชิด และญี่ปุ่นจะเอาชนะได้โดยง่ายเป็นแน่ เพราะในเวลานั้นระดับความสามารถของกองทัพเกาหลีและญี่ปุ่นแตกต่างกันมาก

มีเหตุผลอยู่หลายประการว่าทำไมอี ซุน-ชินถึงชนะได้หลายต่อหลายครั้ง หนึ่งคือ อี ซุน-ชินได้เตรียมตัวรับมือกับสงคราม ที่เขามองว่าเลี่ยงไม่ได้ โดยการตรวจความพร้อมของกำลังพล, ยุทโธปกรณ์และเกียกกาย (กองเสบียง) ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนและสร้างเรือเต่า ที่ถือว่าเป็นกุญแจหลักต่อชัยชนะในครั้งนี้ สอง เกาหลีมีความเชี่ยวชาญในด้านภูมิศาสตร์ประเทศของตัวเองเป็นอย่างดี และอี ซุน-ชินก็มักจะล่อญี่ปุ่น ให้เข้ามารบในที่ๆและวันเวลาญี่ปุ่นเสียเปรียบเสมอๆ โดยสถานที่นั้นคือสถานที่ที่เป็นช่องแคบ เรือรบญี่ปุ่นที่มีจำนวนมากเข้ามาติดกับและเบียดเสียดจนเรือรบแถวหลังไม่สามารถช่วยสนับสนุนได้และคลื่นทะเลหนุนให้เรือรบญี่ปุ่นเข้ามาในช่องแคบได้ง่าย แต่หนีออกไปไม่ได้ อี ซุน-ชินยังแสดงให้ทหารหาญเห็นถึงความกล้าหาญและความจงรักษ์เสมอๆ เขาปฏิบัติต่อทหารของเขาด้วยเกียรติ และรบเคียงบ่าเคียงไหล่ทหารหาญ แม้ในสถานการณ์เสี่ยงอันตราย มีการบันทึกเอาไว้ว่า เขามักจะแสดงออกถึงความเสียดายในชีวิตทหารที่ตายไป และตอบสนองความต้องการสุดท้ายของทหารที่เสียชีวิตเสมอๆ ด้วยเหตุนี้เอง ทหารทุกนายจึงรักเขา และพร้อมที่จะร่วมเป็นร่วมตายกับเขา แม้ข้าศึกจะมีจำนวนมากกว่านับร้อยเท่า มากไปกว่านั้น เขามีคุณสมบัติของผู้นำในการรักษาขวัญกองทัพ ในยามที่ข่าวความพ่ายแพ้ทางบกจะเข้ามา และอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกาหลีชนะญี่ปุ่นได้คือ เรือรบเกาหลี พานโอกซอน ที่มีคุณลักษณ์เหนือชั้นกว่าเรือรบญี่ปุ่นยิ่ง โดยเชิงโครงสร้างแล้ว พานโอกซอนมีความแข็งแกร่งมากกว่า ท้องเรือแข็งแกร่ง มีปืนใหญ่ประจำเรือไม่ต่ำกว่า 20 กระบอก ในขณะที่ญี่ปุ่นมีเพียงหนึ่งหรือสองกระบอก ถึงแม้บางลำจะเป็นปืนอย่างยุโรปแต่ก็เป็นปืนรุ่นเก่า จึงทำให้เรือรบเกาหลีมีข้อได้เปรียบในการสู้ระยะไกลอย่างมาก

ความเยี่ยมยอดของเขา ในฐานะนักยุทธศาสตร์และผู้นำนั้น ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก ในระหว่างสงคราม ตัวอย่างเช่น ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง (명량) ที่อี ซุน-ชินนำเรือพานโอกซอนเพียง 13 ลำ เข้าโรมรันกับกองเรือญี่ปุ่น 333 ลำ (เป็นเรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียงไม่น้อยกว่า 200 ลำ) [2][3][4][5][6][7][8][9][10][11] ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 โดยสามารถจมเรือรบญี่ปุ่นได้รวม 31 ลำ[12] ทำให้เรือจำนวนหนึ่งใช้การไม่ได้รวม 92 ลำ[ต้องการอ้างอิง] จับทหารญี่ปุ่นในการรบมาเป็นเชลยประมาณ 8,000 ถึง 18,466 นาย [13] ในขณะที่ทางเกาหลีไม่เสียเรือเลยสักลำ มีเพียงทหารตาย 2 นาย และบาดเจ็บ 3 นาย บนเรือที่อี ซุน-ชินบัญชาการ[14] และอี ซุน-ชินยังเป็นผู้บัญชาการที่กระตือรือร้น มักจะเป็นฝ่ายเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นอยู่เสมอ

ภายใต้การบัญชาการของ อี ซุน-ชิน กองทัพญี่ปุ่นจึงต้องถอนกำลังออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกาหลีและจีนปลอดภัยจากการรุกรานของญี่ปุ่น

ความสำเร็จในการรบในครั้งนี้ เป็นผลจากการแผนการวางกลยุทธ์ โดยเขาศึกษาทิศทางของกระแสน้ำและกระแสลมอย่างละเอียดจนทำให้ชนะข้าศึกในที่สุด (ในปี พ.ศ. 2557 มีการนำยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง (ฮันกึล : 명량) ไปสร้างเป็นภาพยนตร์สงครามอิงประวัติศาสตร์ในชื่อ อีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม[15] Myeongryang : The Admiral: Roaring Currents, Roaring Currents ทำรายได้สูงสุดในปีที่ออกฉายและยังคงทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในประเทศเกาหลีใต้)

พ.ศ. 2136 อี ซุน-ชิน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคใต้ และได้รับพระราชทานราชทินนาม "นายพลเรือแห่งสามจังหวัดทหารเรือ" (ฮันกึล : 삼도수군통제사, ฮันจา :三道水軍統制使) ซึ่งทำให้เขาสามารถบังคับบัญชา กองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดกองซางโต กองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดจอนลา และกองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดชุงชอง

การทัพทั้งสี่ของแม่ทัพลี[แก้]

กองกำลังญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ปูซานและดาแดจิน ที่ซึ่งเป็นเมืองท่าทางใต้ของเกาหลี เนื่องจากไม่มีกองเรือต่อต้าน กองทัพบกญี่ปุ่นจึงรุกคืบ เข้ายึดเมืองท่าทั้ง 2 ได้อย่างรวดเร็ว และเริ่มรุกขึ้นเหนือประหนึ่งสายฟ้าฟาด ทำให้เดินทางถึงโซลในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2135 ใช้เวลานับจากยกพลขึ้นบกเพียง 19 วัน สาเหตุที่กองทัพญี่ปุ่นสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของกองทัพบกภาคใต้ เนื่องจากกองกำลังหลักทางบกของเกาหลีไปอยู่ที่ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งประมาทว่าญี่ปุ่นจะไม่รุกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรบที่แซงจู และความล้มเหลวในการป้องกันด่านโจลยอง

การทัพทั้งสี่ของอี ซุน-ชิน รวมไปถึงทุกๆ ปฏิบัติการ อย่างน้อย 33 ปฏิบัติการใหญ่ๆ ที่อี ซุน-ชินได้ชัยมา ทำให้ญี่ปุ่นต้องเสียเรือรบซันเคน เรือลำเลียงพล และเรือลำเลียงเสบียงนับร้อยๆ และมีทหารถูกจับนับพันนาย

เรือเต่า[แก้]

ภาพวาดเรือเต่า

ความสำเร็จที่ได้รับการจดจำมากของแม่ทัพลีก็คือการรื้อฟื้น และพัฒนาเรือเต่า (โคบุคซอน;거북선) ขึ้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ของเขา และการสนับสนุนของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกนาย แท้จริงแล้ว อี ซุน-ชินไม่ใช่ผู้ที่คิดค้นเรือเต่านี้ขึ้นมา อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน หากแต่เขานำแบบแปลนเก่า ที่มีการคิดขึ้นมาแต่ยุคต้นราชวงศ์โชซ็อน มาปรับปรุงใหม่ต่างหาก มีการคาดกันว่า แบบแปลนเก่านี้ น่าจะถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจง

เรือเต่าที่อี ซุน-ชินได้ปรับปรุงขึ้น มีอัตราบรรจุปืนใหญ่ 24-28 กระบอก โดยแบ่งเป็นกราบ (ด้านข้างของเรือ) ละ 11กระบอก และหัวและท้ายเรือ ตำแหน่งละหนึ่งกระบอก หัวเรือถูกแกะสลักเป็นรูปมังกร และที่หัวมังกรแกะสลักนี้ สามารถบรรจุปืนใหญ่ได้อีกถึง 4 กระบอก อีกทั้งมีการบรรจุม่านควันอีกด้วย ปืนใหญ่และม่านควันนี้ถูกตกแต่งเข้ากันอย่างดี เพื่อการข่มขวัญข้าศึก ที่ด้านข้างของเรือ มีการเจาะช่องเพื่อยิงธนู, ปืนคาบชุด และปืนครก หลังคาเรือถูกคลุมด้วยแผ่นโลหะรูปแปดเหลี่ยมและหนามแหลม จุดประสงค์ของการสร้างหนามแหลมนี้ เพื่อป้องกันข้าศึกที่พยายามบุกเข้ายึดเรือ เพราะด้วยเหตุว่าลี ชุนชินทราบดีว่าประสิทธิภาพของทหารเกาหลีนั้นต่างจากความชำนาญอาวุธของทหารญี่ปุ่นมากรวมถึงทหารราบเกาหลีมักด้อยความสามารถทั้งด้านการฝึกฝนและอาวุธ ถึงแม้จะมีการสวมเกราะของทหารทั้ง2ฝ่ายแล้วก็ตามเรือรบญี่ปุ่นนี้มีขนาดใหญ่กว่าเรือเกาหลี อีกทั้งมีกราบเรือที่ยาวกว่า หนามแหลมบนเรือเต่านี้ จึงมีประโยชน์ในการป้องกันทหารญี่ปุ่นกระโดดลงมายึดเรืออย่างยิ่ง ตัวเรือมีหางเสืออยู่2ใบ และใบพาย 20ใบ ในยามเดินเรือ หนึ่งใบพาย จะใช้ 2ฝีพาย แต่ในยามรบ จะใช้ 5ฝีพาย

ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในวงการประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับจำนวนชั้นของเรือเต่า ว่ามี 2 หรือ 3ชั้น และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่ทว่า เป็นที่แน่นอนว่าเรือเต่านั้นมีหลายชั้น แยกฝีพายออกจากหน่วยรบ นี่ทำให้เรือเต่ามีความคล่องตัวสูง เนื่องด้วยทั้งกำลังคนและลม โดยมากแล้ว เชื่อว่าเรือมี 2ชั้น ตามแปลนที่1 และ2ของเรือเต่า แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ยังเชื่อว่าเรือเต่ามี 3ชั้น เนื่องจากอี ซุน-ชินเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวอันเป็นเอกลักษณ์ และเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเสมอๆ ซึ่งแตกต่างจากคนอื่นที่มีคุณวุฒิ และวัยวุฒิเช่นเดียวกับเขาอย่างสิ้นเชิง จึงมีความเป็นไปได้ว่าเขาจะสร้างเรือเต่า 3ชั้น นอกจากนี้ เรือธงของเขา (เรือปานโอกซอน) ที่เขาใช้ตลอด 4การทัพนี้ ก็มี 3ชั้น ดังนั้นเรือเต่าก็น่าจะมี 3ชั้นเช่นกัน

เรือเต่านี้ เป็นส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดเกี่ยวกับกองเรือของอี ซุน-ชิน แต่เขากลับไม่เคยใช้เรือเต่ามากกว่า 5ลำ ในแต่ละยุทธนาวี สาเหตุที่ใช้น้อยนั้น ไม่ใช่มาจากเรื่องงบประมาณ และเวลาในการก่อสร้างอันมีจำกัดในตอนนั้น แต่เป็นเพราะกลยุทธ์การนาวีต่างหาก ในยุคนั้น คงมีเพียงราชนาวีอังกฤษและราชนาวีโซซอนเท่านั้น ที่ใช้ปืนใหญ่เป็นอาวุธหลัก โดยประวัติศาสตร์แล้ว ราชนาวีโซซอนมักจะปราบสลัดญี่ปุ่นด้วยปืนและปืนใหญ่มาตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. 1933 แต่ราชนาวีโซซอนไม่มีหน่วยนาวิกโยธิน เพื่อยึดเรือ ในขณะที่กองทัพเรือญี่ปุ่นมี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับราชนาวีโซซอน ในการ "ออกห่าง" จากเรือรบญี่ปุ่น อี ซุน-ชินมักจะเตือนลูกน้องเขาเสมอว่า การไปรบประชิดตัวกับญี่ปุ่นเป็นเรื่องต้องห้าม เพราะฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธระยะประชิดและกองทัพออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ให้อาศัยระยะยิงที่เหนือกว่าให้เป็นประโยชน์แทน และเรือเต่าก็ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้

เรือเต่า ถูกนำออกมาใช้ครั้งแรกในยุทธนาวีแห่งซาชอน (พ.ศ. 2135) และถูกนำมาใช้เกือบทุกครั้งจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ โศกนาฐกรรมที่ชีลชอนลยาง ที่ราชนาวีเสียเรือเต่าและพานโอกซอนทั้งหมด เหลือเพียง เรือพานโอกซอน 13ลำเท่านั้น (อี ซุน-ชินไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาในยุทธนาวีนี้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นกับดัก จึงถูกจับขึ้นศาลทหาร) และไม่ปรากฏอีกเลย นับแต่ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง จุดเปลี่ยนที่2 ของสงคราม

เรือเต่านี้ โดยมากมักจะใช้เป็นหัวหอกทะลวงข้าศึก ใช้ได้ดีในพื้นที่แคบ ล้อมรอบไปด้วยเกาะแก่ง แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในทะเลเปิด

สายลับสองหน้าของญี่ปุ่น และความแตกแยกของเกาหลี[แก้]

หลังชัยชนะอย่างต่อเนื่องของอี ซุน-ชิน ฮิเดโยชิ และแม่ทัพของเขาก็เริ่มหวาดเกรง เพราะกองเรือเกาหลีเข้าใกล้ปูซาน ฝ่ายญี่ปุ่นกลัวว่าเส้นทางลำเลียงเสบียงจะถูกตัด อีกทั้ง อี ซุน-ชินยังทำให้การขนส่งอาหารและยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นล่าช้า กำลังเสริมจากญี่ปุ่นก็ผ่านด่านกองทัพเรือเกาหลีไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ แผนการบุกเข้าเปียงยางจึงชะงักลง ด้วยว่าเสบียงมาไม่ถึงมือกองหน้าทั้ง2ของญี่ปุ่น

แต่ฮิเดโยชิก็ปรับแผนอย่างรวดเร็ว ที่ปูซาน เรือรบญี่ปุ่นถูกปรับปรุงด้วยการเสริมเกราะไม้และปืนใหญ่ และเพิ่มมาตรการป้องกันอ่าวด้วยปืนใหญ่ตามริมแนวชาวฝั่ง โดยสั่งให้โรงหล่อในปูซานหล่อขึ้นมา ที่สำคัญที่สุด ญี่ปุ่นรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังความกลัวของพวกเขา และอี ซุน-ชินจะต้องถูกกำจัดให้พ้นทาง ตราบใดที่อี ซุน-ชินยังอยู่ ไม่มีอะไรสามารถรับประกันความปลอดภัยทางทะเลให้ญี่ปุ่นได้แน่นอน

เนื่องจากความแยกแยก แบ่งฝักฝ่าย เล่นพรรคเล่นพวกของราชสำนักโซซอน ทำใหญ่ญี่ปุ่นคิดกลอุบายได้ สายลับสองหน้าของญี่ปุ่นนาม โยชิระ ถูกส่งเข้าหานายพลเกาหลีนาม คิม อูงซู เพื่อคอยป้อนข้อมูลเท็จให้เกาหลี และทางเกาหลีก็เชื่อเขาเสียด้วย

วันหนึ่ง เขาหลอกแม่ทัพคิมว่า แม่ทัพ คาโต้ คิโยมาสะจะยกทัพมา ณ สถานที่ และวันเวลาที่แน่นอน ด้วยกำลังพลมหาศาล เพื่อโจมตีชายฝั่งอย่างแน่นอน และยุยงให้เขาส่งอี ซุน-ชินออกไปรบ แม่ทัพคิมหลงเชื่อและส่งสารแจ้งไปยังจอมพล คอน ยูล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Commander-in-Chief; 도원수, 導元帥) ผู้ที่ส่งสารฉบับนี้ขึ้นทูลเกล้าถวายแด่พระเจ้าซอนโจอีกทอด พระเจ้าซอนโจทรงกระหายชัยชนะ เพื่อที่จะขับญี่ปุ่นออกไปจากราชอาณาจักรของพระองค์ยิ่งนัก จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โจมตี อย่างไรก็ตาม อี ซุน-ชินกลับปฏิเสธที่จะสนองพระบรมราชโองการ เนื่องจากเขาทราบดีว่า ข้อมูลนี้ได้รับมาจากสายลับของข้าศึก อีกทั้งยุทธภูมินี้ เต็มไปด้วยหินโสโครก อันตรายอย่างยิ่ง อีกทั้งคลื่นลมก็ไม่เหมาะแก่การรบ ที่สำคัญ เขาไม่เชื่อคำพูดสายลับสองหน้า

เมื่อแม่ทัพคิมกราบทูลรายงานถึงการปฏิเสธพระบรมราชโองการ เหล่าขุนนางขี้อิจฉา ที่จ้องจะล้มอี ซุน-ชินต่างก็เร่งกราบทูลให้ลงพระอาญาอี ซุน-ชิน และส่งแม่ทัพวอน กยูน อดีตอดีตผู้บัญชาการกองเรือตะวันตกแห่งจังหวัดกองซาง และผู้บัญชาการทหารบกแห่งจอนลา เพื่อเป็นการซ้ำเติมอี ซุน-ชิน วอน กยูนยังกราบทูลรายงานป้ายสีว่า อี ซุน-ชินเป็นพวกขี้เหล้าและเกียจคร้าน

ด้วยเหตุนี้ อี ซุน-ชินจึงถูกปลด ถูกจับใส่โซ่ตรวน และถูกส่งไปยังโซล เพื่อทรมานและจองจำ อี ซุน-ชินถูกทรมานจนเกือบตาย ด้วยวิธีทรมานพื้นฐานเช่น การเฆี่ยนด้วยแส้, การโบยตีด้วยพลอง, การนาบด้วยเหล็กร้อนแดง และ ด้วยวิธีตามแบบการทรมานของเกาหลี คือการหักขา[ต้องการอ้างอิง] แท้จริงแล้ว พระเจ้าซอนโจทรงหมายจะเอาชีวิตเขาด้วยซ้ำ แต่ผู้สนับสนุนอี ซุน-ชิน โดยเฉพาะ เสนาบดีชุง ตาก ขอให้ทรงเมตตาอี ซุน-ชิน เพื่อเห็นแก่ความดีความชอบแต่ครั้งก่อน ส่วนมหาเสนาบดี ยู ซอง ลยอง ที่เคยเป็นเพื่อนสมัยเด็กของอี ซุน-ชิน และเป็นหัวเรือใหญ่ในการสนับสนุนเขากลับนิ่งเงียบในช่วงนี้ แม้จะได้รับการละเว้นโทษตาย แต่เขากลับถูกลดขั้นลงเป็นทหารเลวอีกครั้ง ในกองพลของจอมพลคอน ยูล โทษนี้ สำหรับแม่ทัพเกาหลีนั้น รุนแรงยิ่งกว่าโทษตายเสียอีก เพราะพวกเขามีชีวิตอยู่ด้วยเกียรติยศ

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาโดนลดขั้นลงเป็นทหารเลว ก่อนนี้ ตอนที่เขาเป็นนายทหาร เขาก็เคยถูกใส่ความว่าหล่ะหลวมในการป้องกัน เผ่าหนี่เจิน อานารยชน ผู้รุกรานจากทางเหนือ ที่ส่งผลให่เกิดความสูญเสียมากมายนัก แต่ข้อเท็จจริงนั้น อี ซุน-ชินมองเห็นถึงจุดอ่อนนี้แล้ว และสั่งให้เสริมแนวป้องกัน แต่ผู้บังคับบัญชาของเขากลับเห็นว่าเขาเลอะเทอะ และโยนความผิดทุกอย่างให้เขาในภายหลัง

แต่ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับความอัปยศอดสู จากการถูกลดขั้นเป็นทหารเลว แต่เขาก็ยังคงทำงานของเขาโดยไม่ปริปากบ่นอย่างขยันขันแข็ง อีกทั้งบรรดานายทหารก็ล้วนให้เกียรติเขา ด้วยรู้ว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และในไม่ช้า เขาก็เข้าไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพลคอน ยูล จนกระทั่งการตายในสนามรบของแม่ทัพวอน กยูน พร้อมหายนะที่ช่องแคบชีลชอนลยอง เขาจึงได้รับการคืนยศ

การคืนยศและการทัพครั้งสุดท้าย[แก้]

เนื่องด้วยอี ซุน-ชิน ไม่มีอำนาจใดๆอีกต่อไปแล้ว ญี่ปุ่นจึงไม่มีอะไรต้องกังวลอีกต่อไป การเจรจาสันติภาพระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น ประสบความล้มเหลวใน พ.ศ. 2139 และการรุกรานเกาหลีครั้งที่2จึงเปิดฉากขึ้นในต้นเดือนของปีถัดมา ด้วยกำลังพล 140,000 นาย และกองเรือ 1,000ลำ แต่รอบนี้ญี่ปุ่นโชคไม่ดีเหมือนคราวก่อน สมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ แห่งราชวงศ์หมิง มีพระบรมราชโองการ ส่งกองพลนับพันเข้ามาช่วยเหลือเกาหลีในครั้งนี้ ดังนั้น เกาหลีจึงสามารถยันกองทัพญี่ปุ่น และผลักญี่ปุ่นลงใต้ได้สำเร็จในช่วงฤดูหนาวของปีพ.ศ. 2139

ถึงแม้ว่ากองทัพผสมทางบกของเกาหลี-จีนจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่ในด้านกองทัพเรือนั้นกลับล้มเหลว แม่ทัพวอน กยูนล้มเหลวในการป้องกันน่านน้ำ ปล่อยให้กองทัพเรือญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวโซแซงได้โดยสวัสดิภาพ และเริ่มปฏิบัติการทางทหารได้อย่างง่ายดาย

แม่ทัพวอน กยูน ผู้ที่เข้ามารับผิดชอบกองทัพเรือเกาหลีแทนอี ซุน-ชิน ตัดสินใจเคลื่อนกองเรือทั้งหมดของราชนาวีโซซอน ที่สร้างโดยอี ซุน-ชิน จำนวน 150ลำ พร้อมกะลาสี 30,000นาย วอน กยูนเคลื่อนพลจากฐานทัพเรือยอซูโดยแทบจะไม่ได้มีแผนการอะไรเลย นอกจากลาดตระเวณล่าทำลายกองเรือญี่ปุ่นบริเวญปูซาน เช้าวันถัดมา วอน กยูน ก็ตรวจพบกองเรือญี่ปุ่น วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2140 ที่ช่องแคบชิลชอน ยุทธนาวีที่ช่องแคบชิลชอนก็เริ่มขึ้น และกองทัพเรือเกาหลีก็ถูกสังหารหมู่ที่นี่เอง กะลาสีเรือเกาหลีที่กำลังเหนื่อยล้าจากการพายเรือ ถูกกองทัพเรือญี่ปุ่นเข้าตีฉับพลัน เรือรบญี่ปุ่นเข้าประชิดเรือเกาหลี ขว้างตะขอเกี่ยวเรือ แล้วทหารญี่ปุ่นโหนตัวเองบุกขึ้นเรือเกาหลี ,เริ่มการประจันบานในระยะประชิด แทหารเกาหลีซึ่งไม่ใช่คู่มือของทหารญี่ปุ่นจึงพ่ายแพ้ในที่สุด

นี่คือความต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างแม่ทัพกวอน ยูล และแม่ทัพอี ซุน-ชิน ซึ่งอี ซุน-ชินมักจะเคลื่อนทัพอย่างมีแบบแผนและกลยุทธ์ ในขณะที่กวอน ยูลยอมให้กองทัพเรือญี่ปุ่นบุกเข้าประชิด ขึ้นยึดเรือเพื่อเข้ารบในระยะประชิด ซึ่งเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของกองทัพญี่ปุ่นได้อย่างง่ายดาย

ผลลัพธ์ของยุทธนาวีนี้ คือหายนะของกองทัพเรือเกาหลี ที่อยู่ในระดับสิ้นไร้ไม้ตอก' โดยมีเพียงเรือรบ 13ลำเท่านั้นที่เหลือรอดมาได้ (จาก 150ลำ) 12ลำที่รอดมานั้น หนีทัพภายใต้การนำของ ปาล โซล ที่คาดการเอาไว้แล้วว่าการรบครั้งนี้คือหายนะ หลังการล่าทำลาย แม่ทัพกวอน ยูล และแม่ทัพลี ออกกีและผู้บัญชาการอื่นๆ ต่างหนีขึ้นเกาะพร้อมด้วยทหารนายอื่นๆที่รอดตาย แต่ก็พบทหารญี่ปุ่นจากป้อมใกล้ๆ ยืนคอยท่าอยู่แล้ว ไม่มีการจับเป็น และถูกสังหารทิ้งทั้งหมด และยุทธนาวีที่ช่องแคบชีลลยองนี้ ก็เป็นยุทธนาวีเดียวที่ญี่ปุ่นมีชัยเหนือกองทัพเรือเกาหลี ในสงครามนี้

หลังพระเจ้าซอนโจทรงสดับข่าวหายนะนี้ มีพระราชโองการปล่อยอี ซุน-ชิน และคืนยศ ผู้บัญชาการทหารเรือให้ทันที แต่อี ซุน-ชินก็พบว่า เขามีเรือรบอยู่ 12ลำ กับกำลังพลที่รอดชีวิต และพร้อมที่จะเข้าสู่สนามรบเพียง 200นาย เมื่อรวมกับเรือธงของเขา เขามีเรือรบในบังคับบัญชาเพียง 13ลำเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พรเจ้าซอนโจจึงทรงดำริว่ากองทัพเรือของพระองค์สิ้นนาวิกานุภาพแล้ว ยากที่จะพื้นฟูให้ทันเวลา จึงมีพระราชโองการให้ยุบกองทัพเรือ และโยกให้ไปขึ้นตรงต่อกองทัพบก ภายใต้การนำของจอมพล คอน ยูล แต่อี ซุน-ชินกลับทูลตอบว่า "ข้าพเจ้ายังมีเรือรบอยู่13ลำ ตราบที่ข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ราชศัตรูจะไม่มีทางได้ทะเลตะวันตกอย่างแน่นอน (หมายถึงทะเลเหลือง) ฝ่ายญี่ปุ่น ภายใต้การนำของ คูรูชิมะ มิชิฟูสะ,โทโด ทากาโทระ,คาโต้ โยชิอากิ และ วากิซากะ ยาสุฮารุ ที่กำลังได้ใจจากชัยชนะในครั้งก่อน ก็หมายจะกำจัดอี ซุน-ชิน พร้อมเรือรบที่เหลืออีก 13ลำ ระหว่างทางไปโซล ก็เคลื่อนพลออกจากปูซานสู่โซล

การตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวของอี ซุน-ชินช่างทรงพลังยิ่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 เขาลวงกองทัพเรือญี่ปุ่น (เรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียง ไม่ต่ำกว่า200ลำ) ให้เขามาที่ช่องแคบมลองยอง และเริ่มเปิดฉากเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นที่นั่น [16] ด้วยการระดมยิงปืนใหญ่และธนูไฟใส่เรือข้าศึก อีกทั้งรักษาระยะห่างจากเรือข้าศึก มิให้ข้าศึกสามารถบุกขึ้นยึดเรือได้ เรือญี่ปุ่น 31ลำอับปาง ทหารญี่ปุ่นนับพันถูกฆ่า ไม่ก็จมน้ำตาย แม่ทัพ คูรูชิมะ มิชิฟูสะ ของญี่ปุ่น ถูกยิงตายโดยพลธนูประจำเรือที่เข้าใกล้เรือธงของญี่ปุ่น ชัยชนะของอี ซุน-ชินในยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยองนี้ สะท้อนให้เห็นถึง ความสามารถอันยิ่งยวดของเขาในฐานะนายทหารจอมยุทธศาสตร์ ทุกวันนี้ ชาวเกาหลีจะเฉลิมฉลองชัยชนะจากยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยอง ในฐานะชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของอี ซุน-ชิน

การรบครั้งสุดท้าย และการอสัญกรรมของอี ซุน-ชิน[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทางการเดินเรือในระหว่างยุทธนาวีโนรยัง

15 ธันวาคม พ.ศ. 2141 กองเรือขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ภายใต้การบังคับบัญชาของชิมาสุ โยชิฮิโระได้มารวมพลที่อ่าวซาชอน ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของช่องแคบโนรยัง เป้าหมายของชิมาสุคือการสลายการสกัดกันของกองเรือผสมหมิง-โชซ็อน ที่สกัดกองเรือของโคนิชิ ยูกินากะ เพื่อสนธิกำลัง ก่อนที่จะถอนกำลังกลับบ้าน ในขณะเดียวกัน อี ซุน-ชินก็ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของชิมาสุ ผ่านการรายงานของหน่วยลาดตระเวณหาข่าวและชาวประมงพื้นในพื้นที่

กองเรือโซซอนประกอบด้วย เรือปานโอกซอน 82ลำ และเรือเต่า3ลำ พร้อมกำลังพล 8,000นาย [17] ส่วนกองเรือหมิงประกอบด้วย เรือรบสำเภาจีนขนาดใหญ่ 6ลำ เรือแกลเลียนขนาดเล็ก 57ลำ[18] และเรือปานโอกซอนที่อี ซุน-ชินมอบให้ เชน หลิน 2ลำ พร้อมกำลังพล 5,000นายจากกรมทหารประจำมณฑลกวางตุ้ง และนาวิกโยธินจีน 2,600นาย ที่ประจำการบนเรือรบโซซอน[18][19]

การปะทะเริ่มขึ้น ณ เวลา 0200 ของวันที่ 16 ธันวาคม การรบที่ผ่านมา ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถรับมือกับกองเรือเกาหลีได้เลย ถ้าอี ซุน-ชินเป็นคนบัญชาการรบ ครั้งนี้ก็เช่นกัน กองเรือผสมหมิง-โซซอนเปิดฉากยิงปืนใหญ่สกัดกั้นการเคลื่อนตัวของญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ความคับแคบในช่องแคบโนรยัง ยังทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถขยับตัวได้อีกด้วย

เมื่อญี่ปุ่นเริ่มร่นถอย อี ซุน-ชิน ก็เร่งให้ตามตี แต่ในช่วงเวลานี้เอง กระสุนปืนคาบศิลานัดหนึ่งที่ญี่ปุ่นยิงมา ถูกร่างของอี ซุน-ชิน[20] เข้าที่สีข้างด้านขวา[21] แม้ว่ากระสุนจะเข้าที่จุดตาย แต่อี ซุน-ชินกลับกล่าวว่า "การรบดำเนินมาถึงจุดสูงสุดแล้ว อย่าให้ใครรับรู้ถึงการตายของข้า"[20] แล้วเขาก็ขาดใจตายในอีกไม่กี่อึดใจถัดมา

ผู้ที่อยู่ดูใจอี ซุน-ชิน ก่อนจากไปนั้นมีเพียง3คนเท่านั้น 2ใน3คนนั้นได้แก่ ลี โฮ ลูกชายคนโตของอี ซุน-ชิน และ ลี วาน หลานชายของเขา เพื่อมิให้ใครสังเกตเห็นการตายของอี ซุน-ชิน ลีโฮและลีวาน ประคองร่างของอี ซุน-ชินไร้วิญญาณเข้าไปในตัวเรือ เพื่อหลีกหนีสายตาของผู้คน สำหรับการรบที่เหลือ ลีวานสวมเกราะของลุงของเขา แล้วขึ้นไปตีกลองศึก เพื่อรักษาขวัญกำลังใจทหารว่าแม่ทัพของเขายังคงมีชีวิตเรือธงยังคงทำการรบอยู่[20]

ระหว่างศึก เฉิน หลิน แม่ทัพเรือฝ่ายจีนตกอยู่ในภาวะคับขัน 2-3ครั้ง และเรือธงก็ตรงเข้ามาช่วยเขาทุกครั้ง เมื่อเชนหลิงมาเข้าพบอี ซุน-ชิน เพื่อขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือ เขาพบลีวาน และได้รับแจ้งถึงมรณกรรมของอี ซุน-ชิน[22] กล่าวกันว่า เชนหลิงตกใจมาก คุกเข่าลงโขกศีรษะถึง3ครั้งและร้องไห้[23] ข่าวการจากไปของแม่ทัพลี แพร่สะพัดไปทั่วทั้งกองเรือผสมหมิง-โซซอนอย่างรวดเร็ว ทหารหาญทุกนาย ไม่ว่าจะหมิงหรือโซซอนต่างก็พากันร้องไห้ระงม[22]

ร่างไร้วิญญาณของแม่ทัพลี ถูกนำส่งไปยังบ้านเกิดที่อาซาน เพื่อฝังไว้ข้างๆบิดาของเขาตามประเพณีนิยม ศาลเจ้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา

ปฏิกิริยาของรัฐบาลโชซ็อน[แก้]

แม่ทัพอี ซุน-ชิน นอกจากจะสามารถถล่มกองทัพญี่ปุ่นได้แล้ว ยังเป็นผู้ที่รักและเคารพในตัวทหารหาญและครอบครัวยิ่ง เขาได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านจากทั้งผลงานในการป้องกันประเทศชาติ และความเป็นผู้โอบอ้อมอารีย์มีเมตตาต่อประชาชน ผู้ประสบภัยสงครามอีกด้วย ผู้คนเคารพยกย่องแม่ทัพอี ซุน-ชินยิ่ง และกล่าวถึงอี ซุน-ชิน มากกว่าตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือที่เขาเป็น

ในทางกลับกัน พระเจ้าซอนโจกลับไม่ได้ทำอะไรเพื่อปกป้องราชอาณาจักรของพระองค์เลย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พระองค์ทรงล้มเหลวในการป้องกันขอบขัณฑสีมา และการแปรพระราชฐานหนีไปจากโซลโดยทันทีของพระองค์ ทำให้ภาพลักษณ์ของพระองค์ล่มสลายลง มีความเป็นไปได้ถึงความเชื่อว่า พระเจ้าซอนโจและราชสำนัก กลับมองชัยชนะของอี ซุน-ชินและการสนับสนุนในตัวเขาเป็นหอกข้างแคร่ ที่อาจจะทำให้เขาก่อกบฏได้ในภายหลัง เฉยเช่นที่ ลี ซองเกเคยก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจมาจากราชวงศ์โครยอปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแทโจปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนในปี พ.ศ. 1935 ด้วยความกลัวดังนี้ พระเจ้าซอนโจจึงทรงลงพระอาญาจองจำและทรมานอี ซุน-ชิน แต่ก็ได้ยู ซองลยองคอยช่วยกราบทูลคัดค้านโทษตายของอี ซุน-ชินไว้ถึง 2ครั้ง

ด้วยเหตุนี้ การพระราชทานรางวัลให้อี ซุน-ชิน จึงเกิดขึ้นหลังมรณกรรมของเขาเกือบทั้งหมด

ขุนนางในราชสำนักหลายคน มีส่วนสำคัญมากในการทำให้พระเจ้าซอนโจมีพระดำริต่ออี ซุน-ชินในแง่ลบ รัฐบาลโซซอนถูกดึงลงไปในวังวนแห่งการแก่งแย่งชิงดี, เกลียดชัง และแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เหล่าขุนนางที่กลัวและเกลียดชังแม่ทัพผู้โดดเดี่ยว ทุ่มแรงกายแรงใจทำศึกเพื่อปกป้องประเทศชาติ ในขณะที่ราชสำนักกลับแตกแยกสับสน ด้วยวังวนของความอิจฉาริษยานี้ มีแผนการขัดขาอี ซุน-ชินมากมาย จนทำให้อี ซุน-ชินไม่สามารถต่อกรกับข้าศึกได้อย่างเต็มความสามารถ

นักประวัติศาสตร์เองก็ค้นพบว่า ในพงศาวดารโชซ็อนนั้น พระเจ้าซอนโจ ไม่ทรงเคยแสดงความเสียใจหรือตกใจต่อการตายของอี ซุน-ชินเลย

ความบิดเบี้ยวของราชสำนักโซซอนนี้ ดำเนินมาตลอดประวัติศาสตร์ราชวงศ์โชซ็อน ที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความมั่นคงของประเทศชาติ จนมาสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2453 เมื่อเกาหลีสูญเสียเอกราชให้จักรวรรดิญี่ปุ่น

มรดกที่อี ซุน-ชินมอบไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง[แก้]

"ถ้าเราหวังที่จะสู้จนตัวตาย เราจักมีชีวิต แต่ถ้าไม่แล้ว เราจักตายอย่างไร้ค่า"- แม่ทัพลี

ทุกวันนี้ อี ซุน-ชินได้รับการยกย่องจากชาวเกาหลี ในฐานะวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชาวเกาหลีมองเขาในฐานะ ชายผู้กล้าหาญ อดทน แข็งแกร่ง มีความเสียสละ และจงรักภักดีต่อประเทศชาติ

นายพลเรือ จอร์จ อเล็กซานเดอร์ บัลลาร์ด แห่งราชนาวีอังกฤษยกย่องอี ซุน-ชินในฐานะนายทหารผู้ยิ่งใหญ่ และเปรียบเทียบเขากับ โฮราชิโอ เนลสันแห่งอังกฤษ

เป็นเรื่องยากมากสำหรับชาวอังกฤษ ที่จะกล่าวว่ามีใครมีความสามารถเทียบเท่ากับเนลสัน แต่ถ้าจะมีใครสักคนที่สามารถเทียบเท่ากับเนลสันได้นั้น ชายคนนั้นก็คงจะเป็นผู้บัญชาการที่ยิ่งใหญ่ชาวเอเชีย ที่ไม่เคยพ่ายแม้สักครั้ง และตายในการรบกับศัตรู ทางผ่านของชายผู้นั้น ปูไว้ด้วยซากเรือรบญี่ปุ่นนับร้อยที่อัปปาง และศพทหารกล้าของข้าศึก ที่ถูกเขาส่งลงไปนอนอยู่ใต้ทะเลนอกคาบสมุทรเกาหลี ไม่พลาดหรอก และนี่ไม่ใช่การประมาณการด้วยว่า ตั้งแต่ต้นจนจบ เขาไม่เคยทำอะไรพลาดเลย งานของเขาช่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้สถานการณ์แต่ละแบบที่หลากหลาย ยากที่จะวิจารณ์ ตลอดชีวิตทหารหาญของเขา อาจจะสรุปได้ว่า เขาไม่ได้เรียนรู้การรบทางทะเลในประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะใช้ชี้นำเลย เขาออกรบในทะเลในแบบที่มันควรจะเป็น ตราบที่ผลลัพธ์ของการรบนั้นชัดเจน และจบลงด้วยการเป็นผู้ที่ปกป้องประเทศชาติ ที่ดำรงความสำคัญอย่างหาที่เปรียบมิได้[24]

นายพลเรือ เทสซึทาโร่ ซาโต้ แห่งจักรวรรดินาวีญี่ปุ่น เองก็กล่าวถึงอี ซุน-ชินเอาไว้ในหนังสือของเขาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2451 หรือ 2 ปีก่อนเกาหลีศูนย์เสียเอกราชให้ญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์

โดยประวัติศาสตร์แล้ว มีแม่ทัพเพียงไม่กี่คนที่ชำนาญในยุทธวิธีการเข้าตีตรงหน้า เข้าตีฉับพลัน การรวมกำลัง และการขยายกำลัง นโปเลียนผู้เชี่ยวชาญการยึดครองบางส่วนด้วยทั้งหมด ก็สมควรเรียกได้ว่าเป็นแม่ทัพที่ยอดเยี่ยม ในส่วนของแม่ทัพเรือ 2อัจฉริยะด้านยุทธวิธีที่สมควรจะกล่าวไว้คือ อี ซุน-ชินแห่งเกาหลี จากตะวันออก และเนลสันแห่งอังกฤษ จากตะวันตก ลีเป็นแม่ทัพเรือผู้โดดเด่นอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่าเขาจะถูกจำกัดขัดขาในสงครามเจ็ดปี และในทางกลับกัน ความกล้าหาญและชาญฉลาดของเขา มิได้เลื่องลือไปทางตะวันตก เหตุเพราะเขาโชคร้ายที่เกิดมาในราชวงศ์โซซอน ใครก็ตามที่จะเปรียบเทียบกับอี ซุน-ชินได้นั้น ควรจะเหนือกว่า มิเชล เดอ รุยเตอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เนลสันนี้ ยังห่างไกลจากอี ซุน-ชินในแง่ของลักษณะนิสัยและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลียังเป็นผู้ประดิษฐ์เรือรบหุ้มเกราะที่รู้จักในนามเรือเต่า(โคบุคซอน) เขาคือผู้บัญชาการทางทะเลผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง และเป็นผู้เชี่ยวชาญงานยุทธนาวีของ 300 ปีที่ผ่านมา[25]

ในช่วงระหว่างสงคราม เขาต้องจัดหาเสบียง-ยุทธปัจจัย เพื่อเลี้ยงกองทัพเรือด้วยตัวเอง โดยปราศจากความช่วยเหลือจากราชสำนัก เขาบันทึกในปูมการรบของเขา (นานจูง อีลกี, ฮันกุง: 이순신, ฮันจา: 李舜臣) ถึงความกัลวลในการจัดหาเสบียงอาหารในช่วงฤดูหนาว ข้าศึกของเขานั้น มีอาหารกินอิ่มหนำสำราญและมีจำนวนมากกว่า

อี ซุน-ชิน ไม่เคยร่ำเรียนวิชาทหารเรือ เนื่องด้วยราชวงศ์โซซอนไม่มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกทหารเรือ เขาผ่านการสอบคัดเลือกทหารเมื่อเขายังหนุ่ม และเขาไม่เคยได้รับการศึกษาในวิทยาลัยเลย เขามีเพียงประสบการณ์จากการรบทัพจับศึกกับพวกหนู่เจิน ที่คอยรุกรานทางคอนเหนืออยู่เนืองๆ ความจริงแล้ว ชัยชนะที่ยุทธนาวีที่โอ๊กโป ที่เขารบชนะกองเรือญี่ปุ่นนั้น ก็เป็นการรบทางทะเลครั้งแรกของเขา และบรรดานายทหารและกะลาสีของเขา ไม่มีใครในกองเรือของเขาเคยรบทางทะเลมาก่อนเลย

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อี ซุน-ชินประสบความสำเร็จคือ การครอบครองปืนใหญ่ที่มีระยะยิงและอำนาจการยิงที่สูงกว่าญี่ปุ่น ในขณะที่ญี่ปุ่นหวังจะใช้การรบระยะประชิดเข้าสู้กับเกาหลี เรือเต่าของเขา ที่เพิ่งถูกปล่อยเรือลงน้ำเพียงวันเดียวก่อนสงครามจะเริ่มต้น มีประสิทธิภาพสูงมากในการเข้าตี และทะลวงแนวรบข้าศึก อี ซุน-ชินชนะศึกทางทะเลอย่างน้อย 12 ครั้ง โดยได้รับความเสียหายเพียงน้อยนิด แต่ถล่มเรือญี่ปุ่นนับพัน สังหารชีวิตทหารญี่ปุ่นนับแสน

เขาใช้รูปแบบกองเรือหลายแบบ ขึ้นกับสถานการณ์ และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นทะเลและกระแสน้ำทะเลให้เป็นประโยชน์ เขาใช้ความรอบรู้ในสมุทรศาสตร์ในพื้นที่ของเขาให้เป็นประโยชน์เสมอ มีหลายครั้งที่เขาล่อข้าศึก ให้เข้าไปในพื้นที่ที่เขาสามารถล้อมทำลายข้าศึกได้โดยง่าย

ในยุทธนาวีที่เกาะฮันซัน นายทหารญี่ปุ่นนายหนึ่งแหกกฎและเดินเรือมารบกับเขา อี ซุน-ชิน เป็นผู้เชี่ยวชาญยุทธศาตร์นาวี ที่ไม่มีใครในกองทัพโซซอนในสมัยนั้นเทียบเทียมได้ และไม่มีใครสามารถสร้างผลงานได้อย่างเขา หนึ่งในผลงานอันยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ การรบกวนเส้นทางลำเลียงเสียงของข้าศึก ด้วยการโจมที่ที่ผ่านการคิดคำนวณมาก่อนของเขา เขาจึงสามารถส่งกองเรือของญี่ปุ่นลงไปนอนยังก้นพระสมุทรได้อย่างสวยงาม

การปรับปรุงกองทัพเรือของเขา ไม่ได้ถูกลบล้างไปในทันทีหลังมรณกรรมของเขา เรือเต่าค่อยๆถูกลดจำนวนลงจากหน้าประวัติศาสตร์โซซอน จนกระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์ในตำนานในปัจจุบัน ราลวงศ์โซซอนตัดสินใจลดจำนวนทหารลง โดยเฉพาะหลังการรุกรานของแมนจู ในช่วง ค.ศ. 1630

สำเนาบันทึกของอี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน บันทึกความทรงจำของเขาในสมุดบันทึกอย่างละเอียด ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนหนังสือรายงานที่เขาส่งขึ้นกราบทูลพระเจ้าซอนโจ ซึ่งทำให้อนุชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเขาหลายอย่าง นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับเรือเต่าเองก็ถูกบันทึกในนี้เช่นกัน งานของเขาได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในชื่อ "นานจุง อิลกิ: บันทึกความสงจำยามสงครามของแม่ทัพอี ซุน-ชิน (Nanjung Ilgi: War Diary of Admiral Yi Soon-shin)" และ "อิมจิน จังโช: ความทรงจำของแม่ทัพลีที่มีต่อราชสำนัก (Imjin Jangcho: Admiral Yi Soon-shin’s Memorials to Court)"

เมื่อมองดูเกียรติประวัติของเชื้อสายของ อี ซุน-ชิน เชื้อสายของเขามากกว่า 200คนผ่านการสอบเข้ารับราชการทหาร กลายเป็นตระกูลสำคัญ หรือบัณฑิตสายทหาร ถึงแม้ว่าเชื้อสายของเขาจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองในช่วงท้ายของราชวงศ์โซซอน แต่ราชสำนักก็ให้เกียรติต่อตระกูลอี (ฮันกึล : 이) อย่างสูง หลายคนทำงานข้าราชการสายมหาดไทยระดับสูง หลังการล่มสลายของราชวงศ์โซซอน เชื้อสายของอี ซุน-ชิน หลายคน กลายมาเป็นสมาชิกองค์การต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อเอกราชของเกาหลี ปัจจุบัน ลูกหลานของ อี ซุน-ชิน อาศัยอยู่บริเวณโซล และอาซาน

ในเกาหลี แม่ทัพลี นอกจากจะมีชื่อเสียงจากการสร้างเรือเต่าแล้ว ยังมีชื่อเสียงจากคำพูดสุดท้ายก่อนสิ้นใจ ท่านบอกหลานของท่านให้ใส่เกราะของท่านและซ่อนศพของท่านเอาไว้มิให้ใครรู้ เพื่อมิให้ขวัญกองทัพตก โดนท่านกล่าวว่า "อย่าให้ใครรู้ว่าข้าตาย" ("나의 죽음을 알리지마라") หลังชนะศึก ทุกคนล้วนยินดีปรีดาจนกระท่านทราบข่าวการจากไปของผู้นำของตน

ราชทินนามของ อี ซุน-ชิน ชุงมูโกง (ขุนศึกผู้จงรักษ์) ถูกใช้ในเกาหลี ในฐานะราชทินนามอันทรงเกียรติอันดับ 3 และรู้จักในนาม ตำแหน่งทางทหารผู้พิทักษ์อันเก่งกล้าสามารถแห่งชุงมู (the Cordon of Chungmu of the Order of Military Merit and Valor) เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าชายแห่งโด๊กปุง ชุงมูโร (충무로; 忠武路) ถนนดาว์นทาวน์ในโซลเอง ก็ตั้งตามชื่อของเขา เมือง"ชุงมู"เอง ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น"โทงยลอง" เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อี ซุน-ชิน ในฐานะที่เป็นที่ตั้งฐานบัญชาการของเขา (อยู่บนแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาหลี) ใน"เซโจงโน" กลางโซลมีอนุสาวรีย์ของอี ซุน-ชินตั้งไว้อยู่ นอกจากนี้ เรือพิฆาตหลากวัตถุประสงค์ของเกาหลีรุ่นหนึ่ง ก็มีชื่อชั้นว่า "ชามูกง อี ซุน-ชิน" (รหัสโครงการคือ KDX-II)

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

มีการนำชีวประวัติของอี ซุน-ชินไปทำเป็นภาพยนตร์ 2เรื่อง ในชื่อเดียวกันคือ "อี ซุน-ชิน วีรบุรุษนักบุญ" ครั้งแรกที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2505 เป็นภาพยนตร์ขาวดำ และทำใหม่เป็นภาพสี โดยอิงจากบันทึกสงครามของ อี ซุน-ชินในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2547

อี ซุน-ชิน และเรือเต่าของเขา ปรากฏในเกมส์ Age of Empire 2 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความสมดุล ศักยภาพของเรือเต่าจึงถูกเปลี่ยนใน 2 จุดคือ เรือเต่าเคลื่อนที่ได้ช้า ในขณะที่ของจริงแล่นได้เร็วมาก และสามารถยิงปืนใหญ่ได้จากปากมังกรด้านหน้าเท่านั้น ในขณะที่ของจริงสามารถยิงได้รอบด้าน

พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เกาหลี "ทหารสวรรค์" (ชอนกุน (천군; 天軍;Heaven's Soldiers) กำกับโดย มิน จุนกิ แสดงถึงอี ซุน-ชินวัยหนุ่ม (แสดงโดย ปาร์ค จุงฮุน) ที่ต่อสู้กับพวกนฺหวี่เจินร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกับทหารเกาหลีเหนือและใต้ ที่ถูกดาวหางฮัลเลย์ดึงให้พลัดมิติย้อนเวลาจาก พ.ศ. 2548 มาสู่ พ.ศ. 2115 นับว่าผิดแปลกไปกว่าฉบับอื่นที่ อี ซุน-ชินถูกนำเสนอในลักษณะของหนุ่มสิบแปดมงกุฎและค่อนข้างเพี้ยน แทนที่จะเป็นวีรบุรุษผู้กล้าหาญ (เวลาในพื้นเรื่อง เกิดก่อนการรุกราณเกาหลีของญี่ปุ่น ราวๆ 20 ปี) เหตุการณ์ที่นำเสนอก็ผิดเพี้ยนไปจากประวัติศาสตร์ เช่นการทัพต่อต้านพวกนฺหวี่เจินก็มิได้เกิดในปี พ.ศ. 2115 แต่เกิดในไม่กี่ปีหลังจากนั้น หลังเขาสอบเข้ารับราชการทหารได้ในปี พ.ศ. 2119 ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนตามมาตรฐานการสร้างภาพยนตร์ของเกาหลี (7-8 ล้านดอลลาร์) และประสบความสำเร็จ ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายให้เห็นถึงภาพของอี ซุน-ชิน ในฐานะวีรบุรุษของเกาหลีในยุคปัจจุบันและกำลังจะรวมชาติได้อย่างชัดเจน

ละครชุด "อี ซุน-ชินผู้เป็นนิรันดร์" (불멸의 이순신) จำนวน 104 ตอน ถูกนำออกฉายทางช่อง KBS ของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2547 ถึง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยเนื้อหาส่วนมากเป็นช่วงการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น ในขณะที่สะท้อนชีวิตของแม่ทัพอีไปด้วย บทอี ซุน-ชินแสดงโดย คิม มยังมิน และได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจากบทนี้ ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมมากในจีน และถูกนำมาฉายซ้ำโดยสถานีโทรทัศน์ที่เน้นด้านจริยธรรมบางช่องในอเมริกา ละครชุดนี้ถูกวิจารณ์มากในหลายๆจุด เช่นการฉายภาพอี ซุน-ชินในวัยหนุ่มว่าอ่อนแอและโดดเดี่ยว และเป็นคนที่ไม่สนใจอะไรเลยในสถานการณ์เสี่ยงตาย อย่างไรก็ตาม ละครชุดนี้ได้รับการกล่าวขานว่า มีมิติของมนุษย์ปุถุชนมากกว่าชุดอื่นๆ ละครชุดนี้ฉายภาพของอี ซุน-ชินในภาพของมนุษย์ปุถุชน ที่ต้องฝ่าฟันภยันอันตรายเพียงลำพัง ไม่ใช่วีรบุรุษที่ฟ้าประทานลงมา ละครเรื่องนี้กลายเป็นหัวข้อพูดคุยกันมากขึ้นเพราะบังเอิญเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นประกาศว่าเกาะโตกโดเป็นของญี่ปุ่น ไม่ใช่เกาหลีใต้

สำหรับวรรณกรรม พ.ศ. 2544 คิมฮุนแต่งวรรณกรรมเรื่องแรกของเขาชื่อ "บทเพลงแห่งดาบ" ออกวางขายและประสบความสำเร็จ โดยวรรณกรรมเรื่องนี้แต่งเป็นร้อยกรอง บรรยายในลักษณะบุรุษที่1 โดยตัวของอี ซุน-ชินเอง คิมฮุนได้รับรางวัล Dongin Literature Award ในฐานะวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องสูงสุดในชาติ

ใน พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์เรื่อง อีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม[26] "Roaring Currents" (ฮันกึล : 명량) มีเนื้อหาว่าด้วยการที่ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลี และถูกปราบโดย อี ซุน-ชิน เข้าฉายในช่วงกลางปี เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ทำยอดขายตั๋วเกิน 10 ล้านใบ ภายในเวลาเข้าฉายเพียง 12 วัน ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดสำหรับการขายตั๋วผ่านหลัก 10 ล้านใบ ของวงการภาพยนตร์เกาหลี และทำลายสถิติยอดขายตั๋วเรื่อง "Avatar" ที่ 13.62 ล้านใบ ได้ไม่ยาก โดยใช้เวลาเข้าฉายเพียง 18 วัน และกลายเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกที่ทำรายได้ในประเทศมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักแสดงผู้รับบท อี ซุน-ชิน คือ ชอยมินซิก[27][28]

อ้างอิง[แก้]

  1. Korean Hero Yi Sunsin
  2. "First Ironclads". Military History. About. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  3. "Yi-Sunshin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  5. The Failure of the 16th Century Japanese Invasions of Korea
  6. ¿£½ÎÀ̹ö ¹é°ú°Ë»ö - ¸í·®´ëø (เกาหลี)
  7. "야후! 백과사전 - 이순신". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  8. "'명량대첩' 울돌목에 조류발전소 세운다". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  9. [https://web.archive.org/web/20070929120621/http://news.hankooki.com/lpage/society/200510/h2005102720120875040.htm เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 한국일보 : [전남] "명량대첩 승전고 다시 울려라"]
  10. 세계를 밝히는 신문 - 세계닷컴
  11. http://www.yushin.or.kr/@history/dvd-kbshistory/kbs046.htmTreeID=2246&PCode=0007&DataID=200610241356000071[ลิงก์เสีย]
  12. ปูมบันทึกความทรงจำของอี ซุน-ชิน:วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1596 (ตามจันทรคติ)
  13. ภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง "Immortal Admiral Yi Sun-shin"
  14. ปูมบันทึกความทรงจำของอี ซุน-ชิน:วันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1596 (ตามจันทรคติ)
  15. "ยีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม", วิกิพีเดีย, 2021-07-25, สืบค้นเมื่อ 2021-07-25
  16. War Diary (亂中日記) , the autobiographical diary of Admiral Yi Sun-Sin
  17. Hawley (2005) , p. 552
  18. 18.0 18.1 Hawley (2005) , p. 553
  19. Choi (2002) , p. 213
  20. 20.0 20.1 20.2 Ha (1979) , p. 237
  21. Hawley (2005) , pp. 549-550
  22. 22.0 22.1 Choi (2002) , p. 222
  23. Hawley (2005) , p. 555
  24. The Influence of the Sea on The Political History of Japan, pp. 66–67.
  25. A Military History of the Empire (ญี่ปุ่น: 帝國國防史論) , p. 399
  26. "ยีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม", วิกิพีเดีย, 2021-07-25, สืบค้นเมื่อ 2021-07-25
  27. "หนังอิงประวัติศาสตร์ Roaring Currents ทำเงินทุบสถิติวงการหนังเกาหลี". ผู้จัดการออนไลน์. 13 August 2014. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  28. "Roaring Currents ทุบสถิติ Avatar ในเกาหลีใต้". ผู้จัดการออนไลน์. 18 August 2014. สืบค้นเมื่อ 19 August 2014.[ลิงก์เสีย]