อี้ซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี้ซิน
奕訢
เหอซั่วกงจงชินอ๋อง
ดำรงพระยศ25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1850-29 พฤษภาคม ค.ศ.1898
ถัดไปผู่เว่ย
ประสูติ11 มกราคม ค.ศ. 1833
สิ้นพระชนม์29 พฤษภาคม ค.ศ. 1898 (65 ปี)
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจวี๋ยหลัว อี้ซิน (愛新覺羅 奕訢)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิเต้ากวง
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง

กงชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอี้ซิน (จีน: 奕訢; แมนจู:ᠠᡳᠰᡳᠨ ᡤᡳᠣᡵᠣ ᡳ ᡥᡳᠨ) ประสูติเมื่อ 11 มกราคม ค.ศ. 1833 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 6 ของจักรพรรดิเต้ากวง และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของจักรพรรดิเสียนเฟิง และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของเจ้าชายอี้เซฺวียนอีกด้วย ทรงมีเชื้อสายมองโกลเนื่องจากพระมารดามาจากตระกูลบอร์จิกิด ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงศ์หยวน ทรงได้รับการขนานพระนามว่า "ไอผี 6" ด้วย เหตุผลที่พากันเรียกท่านว่า ไอผี 6 เนื่องจากทรงสามารถพูดสนทนาภาษาอังกฤษได้แตกฉาน จึงได้รับภาระให้เจรจาข้อราชการกับพวกฝรั่งเป็นหลัก ในขณะที่ชาวจีน เห็นฝรั่งหน้าขาวซีด จมูกงุ้มเหมือนตะขอ นัยตาสีเขียวบ้างฟ้าบ้าง และผมสีแดง จึงพากันเรียกว่า หงเหมากุ่ย(สำเนียงจีนกลาง) หรือ อั้งม้อกุ้ย (สำเนียงแต้จิ๋ว) แปลว่า ไอผีหัวแดง (คงเคยได้ยินคนจีนในบ้านเรามักจะเรียกว่าฝรั่งว่า ฝรั่งอั้งม้อ) เมื่อทรงคุยกับไอผีหัวแดงรู้เรื่อง คบหาสนิทสนมกับพวกผีหัวแดง ขุนนางฝั่งที่ไมชอบท่านจึงพากันเรียกท่านลับหลังว่า ไอผี 6

ช่วงแรกของพระชนม์ชีพ[แก้]

ทรงได้รับการเลี้ยงดูโดย จูปิงเทียน และ เจียเจิน และเป็นที่รู้ว่าทรงค่อนข้างขยันและร่างเริง เมื่อจักรพรรดิเต้ากวงทรงเลือกรัชทายาท ทรงเลือกไม่ถูกว่าจะทรงเลือกเจ้าชายอี้ชินหรือเจ้าชายอี้จู่ (ต่อมาคือจักรพรรดิเสียนเฟิง) แต่ในที่สุดทรงเขียนพินัยกรรมลับประกาศรัชทายาท สามปีต่อมาจักรพรรดิเต้ากวงทรงรับสั่งสร้างสุสานสำหรับพระมารดาของเจ้าชายอี้ซิน และรับสั่งให้ฝังหลังพระนางสิ้นพระชนม์ ส่อให้เห็นว่าทรงจะไมเลือกอี้ซินเป็นรัชทายาทแน่นอน (ซึ่งตามธรรมเนียมของราชวงศ์ชิงคือ เมื่อพระจักรพรรดินีทรงสิ้นพระชนม์ก่อนพระราชสวามี จะไม่มีการฝังพระศพจนกว่าพระราชสวามีจะทรงเสด็จสวรรคต จึงจะฝังพร้อมกัน ซึ่งพระจักรพรรดิจะทรงแต่งตั้งพระราชมารดาให้เป็นพระจักรพรรดินีหลังพระราชมารดาทรงสิ้นพระชนม์)

เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1850 ก่อนจักรพรรดิเต้ากวงทรงเสด็จสวรรคต ทรงเปิดเผยพินัยกรรมลับพระองค์ที่ทรงพระอักษรในปี 1846 ซึ่งระบุให้เจ้าชายอี้จู่ขึ้นเป็นรัชทายาท ส่วนเจ้าชายอี้ซินเป็นกงชินหวัง (อ๋องชั้นเอก) และสมรสกับบุตรสาวของกุ้ยเหลียง ซึ่งมาจากสกุล กูวาลจียา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเอ๋าป้าย หลายๆคนมองว่าพระจักรพรรดิเต้ากวงทรงสนับสนุนกงหวัง แต่จริง ๆ ทรงทำไปเพื่อ "ชดเชย" การที่กงหวังเสียตำแหน่งรัชทายาทให้เจ้าชายอี้จู่

ระหว่างรัชสมัยเสียนเฟิง[แก้]

เมื่อเจ้าชายอี้จู่เป็นจักรพรรดิเสียนเฟิง อี้ซินและพระมารดาได้ร่วมกันปลอมพระราชโองการให้พระมารดาขึ้นเป็นจักรพรรดินี แม้ฮ่องเต้จะทรงไม่พอพระทัยกับการกระทำของพระอนุชา แต่ทรงทำอะไรไม่ได้เพราะเกรงจะเกิดความไม่พอใจจากประชาชน ต่อมา 8 วันหลังจากนั้น พระมารดาสิ้นพระชนม์และเฉลิมพระยศเป็นพระจักรพรรดินี กงหวังไม่ได้ทรงมีบทบาทใด ๆ ในทางการเมืองเลยและทรงทำหน้าที่เป็นเสนาบดีกรมทหารในช่วงปี 1853-1855

ปี 1860 ระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตผู้มีอำนาจเต็มของพระจักรพรรดิ และรับพระราชโองการให้ประทับในกรุงปักกิ่งเพื่อเจรจากับกองกำลังต่างชาติในนามของรัฐบาลชิง ส่วนพระจักรพรรดิทรงแปรพระราชฐานไปที่พระราชวังเฉิงเต๋อในเมืองเหอหนาน ด้านกงหวังทรงประสบความสำเร็จในการเจรจากับกองกำลังทหารต่างชาติ แต่ทว่าพระจักรพรรดิทรงสวรรคตในปี 1861 ในพระราชวังเฉิงเต๋อ พระราชโอรสของพระองค์ได้เป็นจักรพรรดิถงจื้อต่อจากพระองค์ ก่อนทรงสวรรคต ทรงแต่งตั้งให้ ไจ้หยวน,ต้วนหัว และ ชูฉุน และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ห้าคนสำเร็จราชการให้พระโอรสของพระองค์

ในฐานะอ๋องผู้สำเร็จราชการ[แก้]

รูปโดย เฟลิกซ์ บีทโทล 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1860, ภายหลังการเจรจาในกรุงปักกิ่ง

เดือนพฤศจิกายน 1861 ทรงวางแผนร่วมกับพระนางซูสีและซูอันในการทำรัฐประหารผู้สำเร็จราชการหรือรัฐประหารซินโหย่ว เพื่อยึดอำนาจ ขณะที่ผู้สำเร็จราชการนำโลงพระศพจักรพรรดิเสียนเฟิงเข้าสู่กรุงปักกิ่งก็ถูกขัดขวางและจับกุม ไจ้หยวนกับต้วนหัวถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย ส่วนชูฉุนถูกประหาร และผู้สำเร็จราชการที่เหลือถูกขับออกจากตำแหน่ง

หลังจากนั้น พระนางทั้งสองทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกันปกครองแผ่นดิน ส่วนกงหวังทรงได้เป็นอ๋องผู้สำเร็จราชการ (อี้เจิ้งหวัง) และคุมอำนาจทั้งในราชสำนักและบ้านเมืองทั้งหมดด้วย ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการมาตลอดรัชสมัยจนถึงยุคจักรพรรดิกวังซฺวี่ ปี 1861 ทรงก่อตั้ง กระทรวง "ซ่งหลี่เหย่อเหมิน" ซึ่งทำหน้าที่เป็นกระทรวงต่างประเทศโดยพฤตินัย ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำอย่างยาวนาน ทรงรับผิดชอบสร้างความเข้มแข็งและเป็นหัวหอกในการปฏิรูปต่างๆ และดำเนินการพัฒนาปฏิรูปประเทศจีนในยุคนั้น นอกจากนี้ทรงยังก่อตั้งตงเหวินกวานเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

ถูกขับออกจากอำนาจ[แก้]

กงชินหวัง ในปี ค.ศ. 1872

ปี 1865 ทรงถูก ไช่ โช่วฉี กล่าวหาว่าพระองค์ "ผูกขาดอำนาจรัฐ, รับสินบน, สะสมพรรคพวก และ แสดงความไม่เคารพต่อองค์จักรพรรดิ จนทำให้พระนางซูสีทรงสงสัยและทรงถอดพระองค์ออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ถึงกระนั้น พระองค์ก็ยังเป็นผู้มีอำนาจในราชสำนัก ปี 1869 อันเต๋อไห่ หัวหน้าขันทีและพรรคพวกผู้ใกล้ชิดพระนางซูสี ถูกประหารโดย ติง เป่าเจิ้น ระหว่างเดินทางไปซานตง เพราะขันทีไม่สามารถออกจากวังได้โดยไม่ได้รับอนุญาต พระนางซูสีทรงเชื่อว่า ติง เป่าเจิ้น ถูกยุยงโดยกงหวัง ทรงไม่พอพระทัยอย่างมากกับกงหวัง ต่อมา ปี 1873 อี้ซินคัดค้านการก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อนแห่งใหม่ ทำให้พระนางทรงพิโรธพระองค์มาก

ปี 1884 เมื่อสงคราม จีน-ฝรั่งเศสประทุขึ้น กงหวังทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหาร ซึ่งไม่เป็นระเบียบและไม่แน่ใจว่าจะสู้หรือสงบ ส่งผลทำให้จีนแพ้สงครามและทรงเสียศักดิ์ศรีมาก หลังจากนั้นเอง ทรงถูกพระนางซูสีขับออกจากตำแหน่งพร้อมกับพรรคพวกของพระองค์และให้ฉุนชินหวัง (อี้เซฺวียน พระอัยกาของจักรพรรดิผู่อี๋) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารแทน ส่วนกงชินหวังทรงถูกรับสั่งให้ประทับอยู่ในบ้านเพื่อพักฟื้นพระอาการประชวร เหตุการณ์นี้รู้จักกันดีในเหตุการณ์ "การเปลี่ยนแปลงเจียเชิ้น" (ซึ่งตรงกับปีเจียเชิ้นพอดี)

หลังจากที่ทรงถูกขับออกจากตำแหน่ง ทรงยังคงประทับอยู่ในวัดเจียไต้แถวตะวันตกของปักกิ่ง ปี 1894 กงหวังในวัยชราภาพ ทรงเข้าทำงานในกรมทหารและกรมต่างประเทศ จนทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 29 พฤษภาคม 1898 สิริพระชนมายุ 65 พรรษา

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

พระสนมจิ้งกับองค์ชายอี้ซิน
เจ้าหญิงกู้หลุนหรงชู่ (ทรงนั่งตรงกลาง)
  • พระราชบิดา : จักรพรรดิเต้ากวง
  • พระราชมารดา : จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง
  • พระชายา
    • พระชายาเอกกัวเอ่อร์เจีย (瓜爾佳氏)
  • พระโอรส
    • องค์ชายไจ้เฉิง (載澂,1858–1885) เกาหมิ่นเป้ยเล่อ(果敏貝勒)
    • องค์ชายไจ้อิง (載瀅,1861–1909) เป้ยเล่อ(貝勒)
    • องค์ชายไจ้จุ้น (載濬,1864–1866)
    • องค์ชายไจ้หวง (載潢,1881–1885)
  • พระธิดา
    • องค์หญิงกู้หลุนหรงโซ่วกงจวู่ (荣寿固伦公主,1854–1924)
  • พระนัดดา
    • องค์ชายผู่เว่ย (溥偉,1880–1936) กงเสียนชินหวัง(恭贤亲王,1898-1936); พระโอรสขององค์ชายไจ้อิง
    • ผู่หรู (溥儒,1896-1963);พระโอรสขององค์ชายไจ้อิง
    • ผู่โหยว่ (溥佑);พระโอรสขององค์ชายไจ้อิง
    • ผู่ฮุ่ย (溥僡,1906–1963);พระโอรสขององค์ชายไจ้อิง
  • พระปนัดดา
    • องค์หยู่จาน (毓嶦,1923-ปัจจุบัน) กงชินหวัง(恭亲王,1936-1945); พระโอรสขององค์ชายผู่เว่ย
    • เถาหัว (韜華);ธิดาของผู่หรู
    • หยู่ลี่ (毓岦);บุตรของผู่หรู
    • หยู่เซิน (毓岑);บุตรของผู่หรู
    • หยู่ฉี (毓岐);บุตรของผู่หรู

เชื้อสาย[แก้]

พระนามและพระยศ[แก้]

พระตำหนักเจ้าชายกง[แก้]

พระตำหนักในปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกของกรุงปักกิ่ง เปิดเป็นพิพิฑภัณฑ์ให้ชม เรียกว่า "ตำหนักเจ้าชายกง"

วัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

ปี ค.ศ. 2006,พระราชประวัติขอพระองค์ได้ถูกนำมาทำเป็นเรื่อง "กงชินหวัง (Sigh of His Highness)" นำแสดงและรับบทกงชินหวังโดย เฉิน เป่ากั่ว

ก่อนหน้า อี้ซิน ถัดไป
กงชินหวัง
(ค.ศ.1850-1898)
ผู่เว่ย

อ้างอิง[แก้]