อีเอ็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือ อีเอ็ม (อังกฤษ: Effective Microorganisms: EM) เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท EM Research Organization, Inc. สำนักงานใหญ่อยู่ที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไป อีเอ็มหมายถึงส่วนผสมของเหลวที่มีจุลชีพแบบไม่ใช้อากาศ (anaerobic organsims) อยู่อย่างน้อย 3 ชนิด

อีเอ็มเทคโนโลยี ใช้ส่วนผสมของจุลชีพที่เพาะจากห้องปฏิบัติการ ส่วนผสมหลักนั้นประกอบด้วย แบคทีเรียกรดแลกติก (Lactic acid bacteria), แบคทีเรียม่วง (purple bacteria) และ ยีสต์

ผู้ผลิตน้ำจุลินทรีย์แบบอีเอ็มหลายแห่งอ้างว่าจุลชีพเหล่านี้สามารถอยู่ร่วมกันได้และมีประโยชน์กับสภาพแวดล้อม จุลชีพเหล่านั้นได้แก่ Lactobacillus casei (แบคทีเรียกรดแลคติค), Rhodopseudomonas palustris (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง), Saccharomyces cerevisiae (ยีสต์) และจุลชีพอื่นๆที่อยู่ในสภาพธรรมชาติของส่วนผสมอีเอ็ม[1]

จุดกำเนิด[แก้]

แนวคิดของจุลชีพที่เป็นมิตร มาจากศาสตราจารย์ เทรูโอะ ฮิกะ (Teruo Higa) จากมหาวิทยาลัยริวกิว (University of the Ryukyus, โอกินาวา, ประเทศญี่ปุ่น) ในช่วงทศวรรษ 1980 ฮิกะได้รายงานถึงส่วนผสมที่ได้จากการจัดหมู่ของจุลชีพต่างๆ ที่มีความสามารถในการช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุโดยมีผลดีกับกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ฮิกะได้เสนอทฤษฎีหลักที่ใช้อธิบายผลของอีเอ็มไว้ว่า จุลชีพ 3 กลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้โดย จุลชีพเชิงบวก (positive microorganisms) ทำหน้าที่สร้าง, จุลชีพเชิงลบ (negative microorganisms) ทำหน้าที่ย่อยสลาย, และจุลชีพฉวยโอกาส (opportunist microorganisms) ในตัวกลางชนิดต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ หรือ ลำไส้มนุษย์) อัตราส่วนของจุลชีพเชิงบวกต่อจุลชีพเชิงลบนั้นสำคัญมากเพราะว่าจุลชีพฉวยโอกาสจะทำตามแนวโน้มไม่ว่าจะเป็นการสร้างหรือย่อยสลาย ดังนั้นฮิกะเชื่อว่า เป็นไปได้ที่จะสร้างผลกระทบด้านดีได้โดยการเพิ่มจุลชีพเชิงบวกเข้าไป

การตรวจสอบ[แก้]

หลักการของอีเอ็มที่ฮิกะยังเป็นที่ถกโต้แย้งกันอยู่ และยังไม่มีหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์สนับสนุน เรื่องนี้ฮิกะเองก็ยอมรับดังปรากฏในรายงานของเขา ในปี 1994 ที่ฮิกะเขียนร่วมกับนักจุลชีววิทยาธรณี เจมส์ เอฟ, พาร์ (James F. Parr) ที่สรุปว่า "ข้อจำกัดโดยหลัก...คือปัญหาในการทำซ้ำอีกครั้งโดยให้ได้ผลเหมือนเดิม"[2]

พาร์กับฮิกะบอกว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำปฏิกิริยาของอีเอ็มกับจุลินทรีย์พื้นถิ่น คือ ค่า pH ของดิน, การโดนแสง, อุณหภูมิของดิน และการเกิดน้ำท่วม รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก แนวคิดเชิงหลักการที่ฮิกะกับพาร์เสนอขึ้นมาคือ การรักษาค่า pH และอุณหภูมิของดินให้อยู่ภายในขอบเขตเงื่อนไขซึ่งรู้กันว่าจะสร้างความเสียหายแก่จุลชีพเชิงลบ เช่นกันกับการเพิ่มอีเอ็มลงไปเพื่อรักษาสมดุลระหว่างจุลชีพเชิงบวกกับเชิงลบ เพื่อให้จุลชีพเชิงบวกอยู่ต่อไปได้[ต้องการอ้างอิง]

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผู้คิดค้นหลักของเทคโนโลยีนี้ (ฮิกะกับพาร์) ได้ตัดจุลชีพที่เป็นประโยชน์ที่เพาะลงไป ซึ่งเป็นจุลชีพเดี่ยวเพียงตัวเดียวซึ่งไม่ได้ประสิทธิผลขึ้นกับความไม่แน่นอนของสภาวะเงื่อนไขที่จุลชีพเดี่ยวจะสามารถก่อประสิทธิผลขึ้นได้[2] พวกเขาระบุว่า การรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่าจุลชีพหลายๆ ตัว (เช่นในกรณีของโบคาฉิ ซึ่งฮิกะเป็นผู้คิดค้นและทำการตลาดเอง) ร่วมกันกับการจัดการดินที่ดี จะส่งผลทางบวกต่อจุลชีพในดินและการเจริญเติบโตของพืชพรรณได้ ทั้งสองร้องขอให้มีการทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับจุลชีพในดินและปฏิกิริยาของพวกมัน

มีงานวิจัยต่อๆ มาอีกหลายชิ้นที่ได้ทดสอบทฤษฎีของฮิกะ เช่น งานของ ลวินี (Myint Lwini) และระนามุกคาราชชี (S. L. Ranamukhaarachchi) ที่ศึกษาการใช้การควบคุมทางชีวภาพกับโรคเหี่ยวเฉาจากแบคทีเรีย และแสดงให้เห็นว่า การใช้อีเอ็ม และ ปุ๋ยหมักอีเอ็ม (EM Bokashi) เป็นตัวควบคุมชีวภาพ 2 ตัวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด[3] นอกจากนั้นยังมีงานอื่นๆอีก เช่น ยามาดะและซูที่ศึกษาการใช้อีเอ็มในการทำปุ๋ยอินทรีย์[4], ฮุย-เลียน-ซูที่ศึกษาอีเอ็มกับการสังเคราะห์แสงและผลผลิตของข้าวโพดหวาน[5] เป็นต้น

การใช้งานอีเอ็ม[แก้]

อีเอ็มเทคโนโลยี นั้นถูกใช้ในกิจกรรมของการเกษตรและการดำเนินชีวิตตามแนวคิดหยั่งยืน และยังถูกอ้างถึง การช่วยให้สุขภาพของคนและสัตว์เลี้ยงดีขึ้น รวมถึงประโยชน์ในการจัดการกับของเสีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Szymanski, N.; Patterson, R.A. (2003). "Effective Microorganisms (EM) and Wastewater Systems in Future Directions for On-site Systems: Best Management Practice.". In R.A. and Jones, M.J. (Eds). (PDF). Proceedings of On-site ’03 Conference. Armidale, NSW, Australia: Lanfax Laboratories. pp. 347–354. ISBN 0-9579438-1-4. [1]. Retrieved 2006-11-14.
  2. 2.0 2.1 Higa, Dr. Teruo (1994). https://web.archive.org/web/20121111092622/http://emproducts.co.uk/downloads/EM.pdf (PDF). Beneficial and Effective Microorganisms for a Sustainable Agriculture and Environment. Atami, Japan: International Nature Farming Research Center. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 21 January 2008. {{cite conference}}: |archive-url= missing title (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. MYINT LWIN1 AND S.L. RANAMUKHAARACHCHI. Development of Biological Control of Ralstonia solanacearum Through Antagonistic Microbial Populations. International Journal of Agriculture & Biology. 8(5), 2006. Pp 657-660.
  4. Yamada, K and Xu, H. Properties and Applications of an Organic Fertilizer Inoculanted with Effective Microorganisms. Journal of Crop Production. 3(1) June 2001. Pp 255-268
  5. Xu, Hui-Lian. Effects of a Microbial Inoculant and Organic Fertilizers on the Growth, Photosynthesis and Yield of Sweet Corn. Journal of Crop Production. 3(1). June 2001. Pp 183-214.