จัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิน-จัน (ผลไม้))

จัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
วงศ์: วงศ์มะพลับ
สกุล: สกุลมะพลับ
Lour.
สปีชีส์: Diospyros decandra
ชื่อทวินาม
Diospyros decandra
Lour.

จัน,[1][2] จันอิน, จันโอ, จันขาว หรือ จันลูกหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros decandra) เป็นพืชวงศ์เดียวกับมะพลับและมะเกลือ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย เปลือกต้นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว ดอกขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลือง ผลกลมเมื่อสุก สีเหลืองรสหวาน ผลมีสองแบบคือ ผลที่มีรอยบุ๋มตรงกลาง เมล็ดลีบหรือไม่มีเมล็ด เรียกลูกจันอิน ส่วนผลที่ไม่มีรอยบุ๋ม มีเมล็ด 2-3 เมล็ดเรียกลูกจันโอ ผลมีกลิ่นหอมและมีรสฝาด ต้องคลึงผลให้ช้ำ รสฝาดจึงจะหายไปนิยมกินเป็นผลไม้สด และนิยมปลูกในวัด

ผลสุกรับประทานได้ หรือนำไปแปรรูปเป็นของหวาน ผลช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เนื้อไม้มีรสขมปนหวาน เป็นยาบำรุงประสาท แก้ร้อนใน แก้ไข้ ขับพยาธิ แก่นใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ใช้เป็นยาแก้ไข้ ผลดิบทางภาคอีสานนำไปตำส้มตำ โดยสับทั้งเปลือก ใช้แทนมะละกอ ปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะยมและมะเฟือง[3]

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร[แก้]

เป็นต้นไม้ใหญ่ ผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ยืนต้นเก่าแก่อยู่คู่กับวังท่าพระมาช้านาน และยังมีต้นเก่าแก่อีกต้นที่พระตำหนักทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ต้นจันเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็นที่มาของเพลงกลิ่นจัน ปัจจุบันมีการปลูกต้นจันที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเพิ่มขึ้นด้วย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔.
  2. ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557, หน้า 206.
  3. กรณิศ รัตนามหัทธนะ. ลูกจันดิบกินเป็นตำส้ม. ครัว. ปีที่ 19 ฉบับที่ 227. พฤษภาคม 2556 หน้า 10
  4. ในการประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 18/2541 เมื่อวันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2541 วาระที่ 3.2 เรื่อง การกำหนดชื่อต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. จัน-อิน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 56
  • เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. อิน-จัน ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 63

ดูเพิ่ม[แก้]

มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]