อิงลิชเบรคฟาสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิงลิชเบรคฟาสต์
สัญลักษณ์ของรายการ
แสดงนำวรินท์ แพททริค แม็คเบลน
สุผจญ กลิ่นสุวรรณ
การผลิต
ความยาวตอน30 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
ออกอากาศ17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 –
ปัจจุบัน

อิงลิชเบรกฟาสต์ ออกอากกาศวันเสาร์-อาทิตย์ 09.30 - 10.00 น. เป็นรายการผสมระหว่างซิทคอมควบคู่รายการข่าว ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ในช่วงเวลาสาย แรก ๆ ออกอากาศในวันเสาร์-อาทิตย์ อีกช่วงหนึ่งจึงย้ายมาออกอากาศวันอาทิตย์และในปีพ.ศ. 2552รายการก็ได้กลับมาออกอากาศในวันเสาร์-อาทิตย์เช่นเดิม มีคำขวัญประจำรายการว่า "เรียนรู้ภาษาจากสิ่งใหม่ ๆ" เมื่อรายการเริ่มออกอากาศ คำขวัญก็เปลี่ยนมาเป็น "เติมอาหารจานใหญ่ใส่สมอง มีพิธีกรคือ ด.ช.วรินท์ แพททริค แม็คเบลน และ นายสุผจญ กลิ่นสุวรรณ ครีเอทีฟประจำรายการ ซึ่งเป็นอดีตนักข่าวการเมืองภาคสนามและผู้ประกาศข่าวทีวีไทย แต่ในปัจจุบันได้โอนย้ายมาทำรายการอิงลิชเบรกฟาสต์เต็มตัว ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 โดยมิได้กลับไปอ่านข่าวอีก¹ และ เมษายน 2556 ออกอากาศวันอาทิตย์ 09.00 - 09.30 น.

ตัวละคร[แก้]

วรินท์ แพททริค แม็คเบลน แสดงและลงเสียง

  1. คุกกี้ (Cookie) เป็นเจ้าของร้านกาแฟ
  2. แพท (Pat) เป็นเพื่อนของพี่เต้ทำงานนักข่าว
  3. โบรว์ โฮมบอย (Bro Homeboy) เป็นตัวละครที่สักลายเสือไว้ที่แขนทั้งสองข้าง ค่อนข้างเจ้าเล่ห์
  4. นู้บบี้ เนิร์ด (Noobie Nerd) เป็นตัวละครที่ไม่สันทัดในการพิมพ์ภาษาอังกฤษนัก
  5. Same same กับ Different เป็นฝาแฝดกัน สอนเรื่องคำพ้อง (ใช้เทคโนโลยีโฮโลกราฟี)
  6. Ajarn Warin (อาจารย์วาริน) เป็นอาจารย์ที่เป็นพิธีกรในรายการ Ask Ajarn Warin

คุณสุผจญ กลิ่นสุวรรณ แสดงและลงเสียง

  1. พี่เต้ (P'Tae) เป็นลูกค้าในร้านกาแฟ ทำงานเป็นนักข่าว
  2. ดู๊ด โฮมบอย (Dude Homeboy) เป็นตัวละครที่สักลายมังกรไว้ที่แขนทั้งสองข้าง ซี้กับโบรว์มาก ๆ
  3. โนว์ออล เนิร์ด (Knowall Nerd) เป็นตัวละครที่ค่อนข้างจะรู้เหนือกว่านู้บบี้
  4. จิมมี่ ริดเดิ้ล:บุคคลลึกลับ (Jimmy Riddle:Man of mystery) เป็นผู้นำปริศนาภาษาอังกฤษมาให้เราทายเล่น
  5. ลุงลัง (Loong Lang) เป็นตัวละครที่นำหัวข้อข่าวจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ มาขยายความให้เราเข้าใจ หรือมาแสดงร่วมกันในช่วงซิทคอม

ตัวละครอื่น ๆ

  1. ดร.เอ๊กซ์ (Dr.X) (ผศ.ดร.ภคพล อนุฤทธิ์) เป็นผู้สัมภาษณ์ชาวต่างชาติภายใต้หัวข้อประจำตอนนั้น
  2. พี่นุ้ย (P'Nui) (สมิตา หมวดทอง) สอนเกร็ดต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
  3. อานตี้ปู เลิฟกูรู (Auntie Poo, Love Guru) (นวลผ่อง ณ ถลาง) เป็นผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรัก
  4. วีเจ เฟียต (VJ Fiat) (ธัชนนท์ จารุพัชนี) เป็นผู้นำคำศัพท์จากเนื้อเพลงต่าง ๆ มาให้เราศึกษา
  5. วีเจ นิกกี้ (VJ Nicky) (การณิก ทองเปี่ยม) เป็นผู้นำคำศัพท์จากเนื้อเพลงต่าง ๆ มาให้เราศึกษา

ช่วงรายการ[แก้]

ช่วงซิทคอม[แก้]

เป็นช่วงของการแสดงละครตลกโดยมีร้านกาแฟเป็นฉากในรายการ ทุก ๆ ตอนจะมีตัวละครที่ต่างกัน แต่แสดงด้วยคนสองคน

ช่วงข่าว[แก้]

จะมีช่วงข่าว ส่วนมากเน้นข่าวต่างประเทศ

ช่วงอื่น ๆ[แก้]

เป็นช่วงสอนภาษาอังกฤษ ได้แก่

  1. Planet Tuktuk พิธีกรประจำคือ ดร.เอ๊กซ์ (Dr.X) เป็นช่วงสัมภาษณ์ผู้คนภายใต้หัวข้อประจำตอน
  2. Just ask พิธีกรประจำคือ พี่นุ้ย (P'Nui) เป็นช่วงที่สอนเกร็ดต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
  3. Same same but Different เป็นช่วงที่สอนเรื่องคำพ้องเสียง
  4. Auntie Poo, Love Guru เป็นช่วงที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรัก (ได้ยกเลิกในปี 2553)
  5. Track Attack พิธีกรประจำคือ วีเจ เฟียต (VJ Fiat) และ วีเจ นิกกี้ (VJ Nicky) ช่วงที่นำคำศัพท์จากเนื้อเพลงมาให้เราศึกษา
  6. Jimmy Riddle:Man of mystery เป็นช่วงที่นำปริศนาภาษาอังกฤษมาทาย
  7. Dig The Papers With Loong Lang เป็นช่วงที่คั่นรายการข่าวของ EB พิธีกรคือ Loong Lang เป็นการนำหัวข้อข่าวหนังสือพิมพ์มาขยายความให้เราเข้าใจ
  8. Tea Break เป็นช่วงที่พี่เต้และแพทริคไปสัมภาษณ์ดารา
  9. Jobs Jobs เป็นช่วงที่พี่เต้และแพทริคไปสัมภาษณ์คนที่เป็นอาชีพต่าง ๆ (เพิ่มเมื่อเดือน พ.ย. 53)

มุขตลก[แก้]

มุขตลกที่แทรกมาในรายการ ส่วนมากเป็นมุขต่าง ๆ เช่น มุขจีบสาว มุขสั่งน้ำชา มุขดูดาว ฯลฯ ในช่วงข่าว ได้ใส่มุขตลกว่า "รถยนต์ที่ใช้ไฟคืออะไร ซาเล้ง"

สปอตโปรโมทรายการ[แก้]

สปอตโปรโมทรายการ จะเป็นภาพของพิธีกรทำสิ่ง ๆ ต่าง มักออกอากาศในช่วงวันศุกร์ ก่อนรายการออกอากาศ 1 วัน มักมีเนื้อหาตามชื่อตอนที่จะแสดง เช่น ในช่วงตอนพิเศษโอลิมปิก ก็จะให้พิธีกรคนที่ 2 เล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ ในสปอตโปรโมทรายการ โฆษกจะออกเสียงชื่อสถานีแบบยืดยานว่า "โอนลีออนทายย พีบีเอส" ในปี 2552 โฆษกออกเสียงชื่อสถานีว่า"โอนลี่ออน ทีวีทายย"

รายชื่อแขกรับเชิญในรายการ[แก้]

ชื่อตอน วันที่ออกอากศ แขกรับเชิญ
ตอนพิเศษวันตรุษจีน 25 มกราคม 2552 บารัก โอบามา (หุ่น)
ไดโนเสาร์ 14 มีนาคม- 15 มีนาคม 2552 ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว
ตอนพิเศษวันสงกรานต์ 12 เมษายน- 13 เมษายน 2552 ลุงลัง
อิสรภาพ 7 มิถุนายน 2552 อองซาน ซูจี
LLFB 20 มีนาคม 2553 ไทเกอร์ วูดส์

อิทธิพล[แก้]

ข่าวลือเกี่ยวกับการจากไปของรายการ[แก้]

อนึ่ง ในเทปตอนว่า "ความจริง" ได้มีการขึ้นตัววิ่งว่าจะมีการปรับรูปแบบรายการ แต่เรื่องในตัววิ่งก็ไม่เป็นจริง

อิทธิพลทางโทรทัศน์[แก้]

อิทธิพลของรายการได้ถูกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม ไตเติ้ลรายการก็ถูกนำไปทำเป็นไตเติลรายการบุษบาบานเช้า

การกินเวลารายการ[แก้]

สาเหตุของการกินเวลารายการคือการรายงานข่าว อนึ่งในเทปวันที่ 11 เมษายน 2552 ต้องถูกกินเวลาถึง 2 ครั้งเพื่อรายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง

โฆษณาปลอม[แก้]

บางตอนของรายการจะมีโฆษณาปลอมของร้านคุกกี้คาเฟ่ เช่น ตอนไดโนเสาร์ จะมีโฆษณาปลอมซึ่งทำขึ้นมาของรายการอาหารพิเศษชุดโลกล้านปี

ธุรกิจในรายการ[แก้]

  • บู๊บทูบ;เว็บไซต์แลกเปลี่ยนวิดีโอ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]