อำเภอแม่สรวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแม่สรวย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Suai
ทิวเขาขุนตานในเขตบ้านแม่จันใต้
ทิวเขาขุนตานในเขตบ้านแม่จันใต้
คำขวัญ: 
ดอยช้างสูงเด่น ร่มเย็นพระธาตุจอมแจ้ง
แหล่งชาวาวี ประเพณีสูงค่า งามสง่าศาลสมเด็จฯ
ขิงเผ็ดรสดี สตรีงามน้ำใจ ประชาธิปไตยมั่นคง
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่สรวย
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่สรวย
พิกัด: 19°39′24″N 99°32′30″E / 19.65667°N 99.54167°E / 19.65667; 99.54167
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,428.61 ตร.กม. (551.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด84,270 คน
 • ความหนาแน่น58.99 คน/ตร.กม. (152.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57180
รหัสภูมิศาสตร์5710
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่สรวย หมู่ที่ 5 ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอแม่สรวย [อ่านว่า แม่-สวย] (ไทยถิ่นเหนือ: (ᨾᩯ᩵ᩈᩕ᩠ᩅ᩠ᨿ)) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและขนาดพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย

ทิวเขาขุนตานในเขตบ้านแม่จันใต้
ทุ่งนาข้าวในเขตตำบลแม่พริก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอแม่สรวยมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

อ่างเก็บน้ำแม่สรวย (เขื่อนแม่สรวย) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยทางสำนักงานชลประทานแม่สรวย ได้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่สรวยขึ้นที่ช่องเขาด้านทิศเหนือของยอดเขาแห่งนี้ เป็นอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่สวยงาม มีภูเขาล้อมรอบ กักเก็บน้ำจากน้ำแม่สรวย ผันน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรมและอยู่ในเขตดูแลรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานแม่สรวย

ประวัติ[แก้]

อำเภอแม่สรวยจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอมาตั้งแต่ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2444) มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพายัพเหนือ และอยู่ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ตำนานกล่าวว่า ชื่อของอำเภอมาจากชื่อของแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งของอำเภอ เดิมที่เรียกว่า “แม่ซ่วย” ซึ่ง “ซ่วย” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ล้าง” ต่อมาเรียกชื่อเป็น “แม่สรวย” เดิมที่ว่าการอำเภอแม่สรวย อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของดอยจอมแจ้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมแจ้งในเขตตำบลแม่สรวย ซึ่งมีแม่น้ำแม่สรวยไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอและได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บริเวณหน้าวัดแม่พริก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ได้มีหลวงดำรงฯ นายแขวงในขณะนั้นเห็นว่าที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม และไม่สะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการ ประกอบกับในฤดูแล้งลำน้ำห้วยแม่พริกแห้งขอดไม่พอใช้สอยในการเกษตร และการบริโภคจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลแม่พริก มาอยู่ที่บ้านแม่สรวย ตำบลแม่สรวย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สรวยในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อมีการยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวาในปี 2453[1] ได้มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดเชียงราย

การขอเสนอโครงการจัดตั้งกิ่งอำเภอ[แก้]

แผนที่จังหวัดเชียงราย แสดงพื้นที่ซึ่งเคยมีการเสนอ ให้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ดังนี้ 1.กิ่งอำเภอแม่เจดีย์ 2.กิ่งอำเภอวาวี 3.กิ่งอำเภอดอยสัก 4.กิ่งอำเภอปล้อง 5.กิ่งอำเภอแม่อ้อ หรือ กิ่งอำเภอพัชรกิติยาภา 6.กิ่งอำเภอเรืองนคร

เสนอให้แยกตำบลวาวี ออกจากอำเภอแม่สรวยในปี พ.ศ. 2539 เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอวาวี แต่โครงการได้ถูกระงับเนื่องจากขาดแคลนงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ได้มีการรื้อฟื้นอีกครั้งหลังจากมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝางขึ้นโดยมีการอ้างว่าเป็นความต้องการของประชาชนในตำบลวาวีเนื่องจากเดินทางติดต่อกับตัวอำเภอฝางสะดวกมากกว่าติดต่อกับจังหวัดเชียงราย แต่อย่างไรก็ดีข้อมูลดังกล่าวอาจจะทำให้สับสนกับผู้อ่านได้ [14][15]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่การปกครองส่วนภูมิภาคและอาณาบริเวณในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอแม่สรวยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 131 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[16]
1. แม่สรวย Mae Suai 17 3,566 8,942
2. ป่าแดด Pa Daet 22 3,854 11,046
3. แม่พริก Mae Phrik 13 2,133 5,798
4. ศรีถ้อย Si Thoi 12 2,105 6,232
5. ท่าก๊อ Tha Ko 28 5,796 17,813
6. วาวี Wawi 27 7,301 22,884
7. เจดีย์หลวง Chedi Luang 12 2,733 7,223

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอแม่สรวยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่สรวย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่สรวย
  • เทศบาลตำบลเจดีย์หลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเจดีย์หลวง
  • เทศบาลตำบลเวียงสรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สรวย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สรวย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแดดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่พริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีถ้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าก๊อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาวีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์หลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง)

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

อำเภอแม่สรวยมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญดังนี้

  1. วัดแสงแก้วโพธิญาณ เป็นวัดที่มีจุดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลกและสกายวอล์ก ตั้งขึ้น ณ บ้านใหม่แสงแก้ว ตำบลเจดีย์หลวง สร้างโดย พระภาวนารัตนญาณ วิ. (ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต) ที่ริเริ่มจากนิมิต(ความฝัน)ของตัวท่านเองว่ามีดอกบัวอยู่บนพื้นที่ประกอบกับชาวบ้านขอให้สร้างวัด ใน พ.ศ. 2549
  2. วัดพระธาตุจอมแจ้ง เป็นวัดที่เป็นหนึ่งในพระธาตุเก้าจอมในจังหวัดเชียงราย
  3. เขื่อนแม่สรวย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีน้ำแม่สรวยซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของน้ำแม่ลาว ซึ่งจะมีการล่องแพเปียกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ปีใหม่เมือง) ซึ่งจะมีการล่องแพเปียกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม ของทุกปี
  4. ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นสถานที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จกรีธาทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2147

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (39): 950–951. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-08-27. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2448
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกกิ่งแขวงเวียงเป้าขึ้นเป็นแขวงเวียงป่าเป้า อยู่ในความบังคับบัญชาของบริเวณพายัพเหนือ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (7): 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2453
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 40-41. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพาน อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (174 ง): 3509–3516. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2522
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (166 ง): 5502–5503. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-44. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลศรีถ้อย เป็นเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (68 ก): 15–16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
  11. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สรวย ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงสรวย". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  12. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เวียงสรวย เป็น เทศบาลตำบลเวียงสรวย". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  13. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (83 ง): 132–152. วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562
  14. ส.ส.เชียงใหม่ พท.หนุนตั้ง "ฝาง" เป็นจังหวัดใหม่ อ้าง ศก.เจ๋ง ทั้งท่องเที่ยว-การค้ากับเพื่อนบ้าน, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291029954&grpid=&catid=19&subcatid=1906 เก็บถาวร 2014-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝาง พ.ศ. .., http://www.parliament.g[ลิงก์เสีย] o.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20110905142727.pdf
  16. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]