อำเภออมก๋อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภออมก๋อย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Omkoi
ล่าหู่ เกษตรกรชาวเขาในอำเภออมก๋อย
ล่าหู่ เกษตรกรชาวเขาในอำเภออมก๋อย
คำขวัญ: 
ดินแดนในหุบเขา ใต้ร่มเงาพระเจ้าแสนทอง ดอยม่อนจองสูงสง่า สัตว์ป่าล้วนมากมี ประเพณีหลายเผ่าพันธุ์
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภออมก๋อย
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภออมก๋อย
พิกัด: 17°48′4″N 98°21′31″E / 17.80111°N 98.35861°E / 17.80111; 98.35861
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,093.8 ตร.กม. (808.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด63,207 คน
 • ความหนาแน่น30.19 คน/ตร.กม. (78.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50310
รหัสภูมิศาสตร์5018
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออมก๋อย หมู่ที่ 1
ถนนเจริญทัศนา ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 50310
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อมก๋อย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งใน 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามหลายแห่ง เช่น ดอยม่อนจอง ดอยมูเซอ วัดแสนทอง ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอมก๋อย เป็นต้น เมื่อปี 2563 อำเภออมก๋อยถูกกล่าวถึงว่าเป็นอำเภอที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อมก๋อย มาจากภาษาเลอเวือะคำว่า ลอา-อืม แปลว่า น้ำ (เลือนไปเป็น อำ, อม) + กอย คือชื่อของลำห้วย [2] สันนิษฐานว่า หมายถึง ต้นน้ำแม่ตื่นที่ไหลผ่านชุมชนเมืองโบราณจากตำนานเมืองตื๋นนันทบุรีได้จารึกไว้ ว่าพระยาช้างเผือกและพระยาเลิก สองพี่น้องได้พาราษฎรที่อพยพมาจากเมืองเชียงใหม่มาทำการสร้างเมืองตั๋นบุรี ในปี พ.ศ. 1985 (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลแม่ตื่น) มีอาณาเขตถึงบ้านฟ้อนฟ้า นาหง สะหรง แม่ระมาด หินลวด นาไฮ หนอแสง ดินแดง บ้านป๊อก บ้านหมาก ผาสาด และวังคำต่อมมาพระอทิตตราได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์วัดจอมแจ้งขึ้น ที่ดอยนางนอนในปี พ.ศ. 2148 และพระยาอนันตราช เจ้าเมืองตั๋นได้บรรจุพระบรมธาตุเจดีย์ในปี พ.ศ. 2299 และได้มีประเพณีไหว้พระธาตุในเดือน 9 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับที่ตั้งอำเภออมก๋อยในปัจจุบัน เดิมเป็นหมู่บ้านของชาวเลอเวือะ มีขุนแสนทองเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ต่อมาได้มีคนเมืองอพยพเข้ามาแทนที่ และชาวเลอเวือะได้ย้ายออกไปอยู่ในท้องที่อื่น ส่วนทางราชการได้ทำการจัดตั้งเป็นตำบลอยู่ในเขตปกครองของอำเภอฮอดได้ทำการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภออมก๋อยในปี พ.ศ. 2463[3] และได้ยกฐานะเป็นอำเภออมก๋อยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[4]

การเสนอจัดตั้งอำเภอแม่ตื่น[แก้]

ราษฎรชาวตำบลแม่ตื่น และตำบลม่อนจอง เรียกร้องให้มีการจัดตั้งอำเภอใหม่ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ โดยเสนอให้ใช้ชื่อว่า "อำเภอนันทบุรี" ในปี พ.ศ. 2555[5] ต่อมาเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นชอบ[6] และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กรมการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เห็นชอบการเสนอขอจัดตั้งอำเภอแม่ตื่นเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากราษฎรในตำบลม่อนจอง และตำบลแม่ตื่น ได้ร้องขอให้จัดตั้งอำเภอเป็นกรณีพิเศษเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งตำบลม่อนจองตำบลแม่ตื่น ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภออมก๋อยมากกว่า 76 กิโลเมตร การคมนาคมขนส่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก[7]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภออมก๋อยตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัดเชียงใหม่ พิกัดเส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือ และเส้นแวง ที่ 98 องศาตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของอำเภอจากทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 53 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 875 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ผ่านทางจังหวัดเชียงใหม่

อำเภออมก๋อยมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ภูมิประเทศ[แก้]

อำเภออมก๋อยมีพื้นที่ทั้งหมด 2,099.831 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,365,177.812 ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 เขตย่อย ดังนี้

ภูมิอากาศ[แก้]

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเป็นที่สูงและภูเขา จึงทำให้มีอากาศค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ย 15-20 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 2-4 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตรต่อปี อำเภออมก๋อยมีสภาพอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดูดังนี้

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

ทรัพยากรน้ำ[แก้]

อำเภออมก๋อยมีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่

ทรัพยากรธรณีและป่าไม้[แก้]

ดินที่พบในอำเภออมก๋อยมีหลายประเภท ลักษณะเนื้อดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แตกต่างกันตามชนิดต้นกำเนิดของดินในบริเวณนั้นๆ มักมีหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไปตามภูเขา ส่วนป่าไม้ ส่วนใหญ่อำเภอยังมีป่าไม้ประเภทต่างๆ ปกคลุมทั่วไป เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ แต่หลายแห่งมีการทำไร่เลื่อนลอย โดยปราศจากการอนุรักษ์ดินและน้ำ ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน อำเภออมก๋อยมีการจัดสรรพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

  • พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอมก๋อย พื้นที่ 1,059,860 ไร่ (ร้อยละ 74.66 ของพื้นที่)
  • พื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ 337,640 ไร่ (ร้อยละ 23.78 ของพื้นที่)
  • เขตจำแนกเขตถาวร พื้นที่ 16,961 ไร่ (ร้อยละ 0.1 ของพื้นที่)
  • พื้นที่นอกเขตป่าและที่อยู่อาศัย พื้นที่ 5,706 ไร่ (ร้อยละ 0.04 ของพื้นที่)

การคมนาคม[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1099 ในเขตอำเภออมก๋อย

อำเภออมก๋อยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ 179 กิโลเมตร ใช้เส้นทางรถยนต์ในการติดต่อกับจังหวัดและอำเภอใกล้เคียง มีเส้นทางสำคัญดังนี้

ส่วนการขนส่ง มีรถโดยสารประจำทางจากจังหวัดเชียงใหม่มายังอำเภออมก๋อย วันละ 2 เที่ยว และมีรถโดยสารขนาดเล็ก ระหว่างอำเภออมก๋อย - อำเภอฮอด วันละ 3 เที่ยว

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภออมก๋อยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล และ 95 หมู่บ้าน ดังนี้

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[8]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[8]
1. อมก๋อย Omkoi 20 16,662 1,053
15,609
(ทต. อมก๋อย)
(อบต. อมก๋อย)
2. ยางเปียง Yang Piang 17 10,164 10,164 (อบต. ยางเปียง)
3. แม่ตื่น Mae Tuen 16 10,960 10,960 (อบต. แม่ตื่น)
4. ม่อนจอง Mon Chong 9 5,893 5,893 (อบต. ม่อนจอง)
5. แม่หลอง[9] Mae Long 12 8,476 8,476 (อบต. แม่หลอง)
6. นาเกียน Na Kian 21 11,052 11,052 (อบต. นาเกียน)
รวม 95 63,207 1,053 (เทศบาล)
62,154 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภออมก๋อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลอมก๋อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอมก๋อย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอมก๋อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอมก๋อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางเปียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางเปียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ตื่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่อนจองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่หลอง[10] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่หลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเกียนทั้งตำบล

การท่องเที่ยว[แก้]

  • แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
    1. ดอยม่อนจอง เป็นภูเขาที่มีความสูง 1,929 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่ในตำบลม่อนจอง มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีพืชและสัตว์ป่าหายากนานาชนิด เช่น กุหลาบพันปี กวางผา ช้างป่า เป็นต้น
    2. หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยจิโน อยู่ในหมู่ 17 ตำบลอมก๋อย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300 เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับการไปพักผ่อน
    3. ดอยมูเซอ อยู่ในหมู่ 5 ตำบลม่อนจอง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีทิวทัศน์ที่งดงาม
    4. น้ำตกแม่ตื่นน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ตื่น
    5. น้ำตกนางนอน หมู่ที่ 3 ตำบลม่อนจอง
    6. น้ำตกห้วยตาด หมู่ที่ 8 ตำบลม่อนจอง
    7. น้ำตกวังควายเผือก หมู่ที่ 5 ตำบลแม่หลอง
    8. น้ำตกโป่งดิน หมู่ที่ 10 ตำบลอมก๋อย
    9. น้ำตกตะกอคะ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่หลอง
  • ศาสนสถาน
    1. วัดแสนทอง เป็นวัดเก่าแก่อายุหลายร้อยปี คู่บ้านคู่เมืองอมก๋อย เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนทอง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน
    2. วัดจอมแจ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลแม่ตื่น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2148
    3. วัดจอมหมอก ตั้งอยู่ที่ ตำบลม่อนจอง

อ้างอิง[แก้]

  1. คนจนเชียงใหม่พุ่ง อมก๋อยจนสุด แม่ฮ่องสอนแชมป์ประเทศ
  2. อมก๋อย ดินแดนดั้งเดิมของชาวเขาโบราณที่ถูกหลงลืมจากสิทธิขั้นพื้นฐาน
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอ" (PDF). Royal Gazette. 46 (0 ง): 296–297. 28 เมษายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2009-08-10.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม อำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). Royal Gazette. 75 (55 ก): 321–327. 22 กรกฎาคม 2501. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2009-08-10.
  5. ชาวบ้านแม่ตื่น-ม่อนจองร้องผู้ว่าฯ วอนช่วยซ่อมทางหลวง-หนุนตั้งอำเภอใหม่
  6. อำเภอนันทบุรี
  7. รายงานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2560
  8. 8.0 8.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.
  9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชื่อตำบลแม่หลอง ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม 2565
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หลอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (ตอนพิเศษ 78 ง): 30. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบล