อำเภอมัญจาคีรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอมัญจาคีรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mancha Khiri
คำขวัญ: 
มัญจาคีรีนามเมืองเก่า บึงกุดเค้าคู่เมืองบ้าน นมัสการหลวงปู่โสหลวงปู่ผาง ตลาดกลาง
ที่นอนหมอน แสนออนซอนดอนเต่า
งามลำเนาเขาภูเม็ง เล็งชมกล้วยไม้ป่าบาน
โบราณสถานโนนศิลาเลข สิมชั้นเอกวัดสระทอง
น้ำตกเนืองนองห้วยเข ผ้าฝ้ายผ้าไหมสุดเก๋หนองหญ้าปล้อง เกียรติก้องเหรียญเงินยกน้ำหนักโอลิมปิก
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอมัญจาคีรี
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอมัญจาคีรี
พิกัด: 16°7′36″N 102°32′32″E / 16.12667°N 102.54222°E / 16.12667; 102.54222
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
พื้นที่
 • ทั้งหมด735.825 ตร.กม. (284.104 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด69,768 คน
 • ความหนาแน่น94.81 คน/ตร.กม. (245.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40160
รหัสภูมิศาสตร์4017
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอมัญจาคีรี ถนนกลางเมือง ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 40160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มัญจาคีรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลกุดเค้า

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอมัญจาคีรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

อำเภอมัญจาคีรี เดิมตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่บ้านหัวนา ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดย ณ ที่นั้นมีภูเขาชื่อ "เม็ง" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำ "มญฺจ" ในภาษาบาลี อันแปลว่า "เตียง" หรือ "แท่น" อำเภอนั้นจึงได้ชื่อว่า "มัญจาคีรี" หมายความตามตัวอักษรว่า "ภูเขามัญจา" หรือ "ภูเขาเม็ง" แปลได้อีกว่า อำเภอที่ตั้งอยู่ใกล้เขาอันมีรูปดั่งเตียงหรือแท่น

พ.ศ. 2419 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านสวนหม่อน ตำบลสวนหม่อน

พ.ศ. 2430 ไปที่ตำบลกุดเค้า แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอกุดเค้า" ตามตำบลที่ตั้ง

พ.ศ. 2481 กลับมาใช้ชื่อ "มัญจาคีรี" ดังเดิม

เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ตั้งเมืองขึ้น ชื่อ เมืองมัญจาคีรี โดยมี จางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเขม (สน สนธิสัมพันธ์)เป็นเจ้าเมืองคนแรก ของเมืองมัญจาคีรี หรือ อำเภอมัญจาคีรี เมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์)เมื่อ พ.ศ. 2439-2443 และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรี ในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย ในห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า - กรุงเทพฯ)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอมัญจาคีรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 118 หมู่บ้าน ได้แก่

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอมัญจาคีรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมัญจาคีรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกุดเค้า
  • เทศบาลตำบลนาข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาข่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเค้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดเค้า (นอกเขตเทศบาลตำบลมัญจาคีรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนหม่อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแปนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนเพ็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนเพ็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำแคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำแคนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าศาลาทั้งตำบล

โรงเรียน[แก้]

โรงเรียนมัธยมศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา

โรงเรียนขยายโอกาส

ภูมิศาสตร์[แก้]

อำเภอมัญจาคีรีมีแม่น้ำชีไหลผ่าน และมี "บึงกุดเค้า" เป็นบึงขนาดใหญ่ในตัวอำเภอ โดยเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปา

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2534-2535). "มัญจาคีรี". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน, (เล่ม 23 : มอ-แม่แรง). กรุงเทพฯ : ไทยมิตรการพิมพ์. หน้า 14716-14717.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]