อำเภอบางระกำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบางระกำ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Rakam
คำขวัญ: 
หลวงพ่ออินทร์ล้ำค่า ยอดน้ำปลา
ปลาสร้อย สุนัขน้อยพันธุ์บางแก้ว
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอบางระกำ
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอบางระกำ
พิกัด: 16°45′30″N 100°7′5″E / 16.75833°N 100.11806°E / 16.75833; 100.11806
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิษณุโลก
พื้นที่
 • ทั้งหมด936.04 ตร.กม. (361.41 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด92,758 คน
 • ความหนาแน่น99.10 คน/ตร.กม. (256.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 65140,
65240 (เฉพาะตำบลคุยม่วงและชุมแสงสงคราม)
รหัสภูมิศาสตร์6504
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางระกำ หมู่ที่ 7 ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 65140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางระกำ เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของจังหวัด เดิมชื่อ ชุมแสง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]

ประวัติ[แก้]

บางระกำเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (ระหว่าง พ.ศ. 1999 - ไม่ปรากฏ) เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาผนวชอยู่ที่วัดจุฬามณีในปี พ.ศ. 2007 ได้มีชุมชนหนึ่งอาศัยอยู่ตามเรือนแพลำแม่น้ำยม ประกอบอาชีพทางการประมง ซึ่งคาดว่าจะเป็นประชากรรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบางระกำ

หลักฐานที่ค่อนข้างชัดเจนเริ่มปรากฏให้เห็นในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งครองกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2112 - 2133 ในขณะนั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามกับประเทศพม่า จึงปรากฏชื่อสถานที่ต่างๆตามที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงคราม เช่น แหล่งผลิตและรวบรวมศาสตราวุธเพื่อเตรียมการรบกับพม่า จึงเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า "ชุมแสงสงคราม"

"อำเภอชุมแสง" ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 โดยมีขุนเผด็จประชาดุลย์ เป็นนายอำเภอคนแรก ภายหลังได้ย้ายสถานที่ตั้งอำเภอใหม่ โดยได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ที่ตำบลบางระกำ มีลักษณะเป็นเรือนแพ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "แพหลวง" ตั้งอยู่เหนือศาลเจ้าพ่อดาบทอง แต่เมื่อถึงในฤดูน้ำหลากน้ำจะเอ่อล้นท้วมตลิ่ง ทำให้ราษฎรซึ่งต้องใช้เรือในการสัญจรไปมา ทำให้ลำบากในการติดต่อราชการ

  นายอำเภอสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าควรย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่บนพื้นที่เนิน ที่บ้านท่าโก ตำบลบางระกำ ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน 4 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ราษฎรในการเดินทางมาติดต่อกับทางราชการ แต่ปรากฏว่าราษฎรต้องได้รับความเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น  เพราะไม่มีถนน ประกอบกับมีบ้านเรือนคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนน้อย และสัตว์ป่าดุร้ายชุกชุม ราษฎรต้องเดินเท้าเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร จึงได้มีการร้องเรียนให้ย้ายที่ว่าการอำเภอกลับมาตั้งยังที่ว่าการอำเภอเดิม

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชโองการให้เรียกชื่ออำเภอตามชื่อตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอชุมแสง มาเป็น "อำเภอบางระกำ" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพิณพลราษฎร์ นายอำเภอขณะนั้น เห็นความเดือดร้อนของราษฎรในการเดินทางไปติดต่อราชการที่บ้านท่าโก จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งยังริมฝั่งขวาของแม่น้ำยม ใกล้กับวัดสุนทรประดิษฐ์ หมู่ที่ 7 ตำบลบางระกำ จนถึงปัจจุบัน[2]  

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอชุมแสง จังหวัดพิษณุโลก เป็น อำเภอบางระกำ[1]
  • วันที่ 23 มีนาคม 2472 ตั้งตำบลวังอีทก แยกออกจากตำบลบางระกำ และตำบลกำแพงดิน ตั้งตำบลพันเสา แยกออกจากตำบลบึงกอก[3]
  • วันที่ 2 เมษายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในตอนนั้น) จากตำบลกำแพงดิน มาขึ้นกับตำบลวังอีทก[4]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลกโดยโอนตำบลกำแพงดิน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ไปขึ้นกับอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบึงกอก แยกออกจากตำบลปลักแรด ตำบลหนองกุลา และตำบลชุมแสงสงคราม ตั้งตำบลพันเสา แยกออกจากตำบลปลักแรด และตำบลวังอิทก[6]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางระกำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางระกำ[7]
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2515 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอบางระกำ และอำเภอสามง่าม[8]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2515 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางระกำ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[9]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลปลักแรด ในท้องที่บางส่วนของตำบลปลักแรด[10]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม 2521 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 354 วันที่ 13 ธันวาคม 2515 และจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[11]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลนิคมพัฒนา แยกออกจากตำบลบึงกอก[12]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลบ่อทอง แยกออกจากตำบลพันเสา[13]
  • วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลท่านางงาม แยกออกจากตำบลบางระกำ[14]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลคุยม่วง แยกออกจากตำบลชุมแสงสงคราม[15]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางระกำ และสุขาภิบาลปลักแรด เป็นเทศบาลตำบลบางระกำ และเทศบาลตำบลปลักแรด ตามลำดับ[16]
  • วันที่ 7 สิงหาคม 2544 กำหนดเขตตำบลบางระกำ ให้มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน ตำบลชุมแสงสงคราม ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลบึงกอก ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลคุยม่วง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลท่านางงาม ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลปลักแรด ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลนิคมพัฒนา ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลหนองกุลา ให้มีเขตการปกครองรวม 20 หมู่บ้าน ตำบลพันเสา ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลบ่อทอง ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน และตำบลวังอิทก ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน[17]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบางระกำห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบางระกำแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 142 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางระกำ (Bang Rakam) 19 หมู่บ้าน 7. ชุมแสงสงคราม (Chum Saeng Songkhram) 11 หมู่บ้าน
2. ปลักแรด (Plak Raet) 10 หมู่บ้าน 8. นิคมพัฒนา (Nikhom Phatthana) 13 หมู่บ้าน
3. พันเสา (Phan Sao) 11 หมู่บ้าน 9. บ่อทอง (Bo Thong) 10 หมู่บ้าน
4. วังอิทก (Wang Ithok) 11 หมู่บ้าน 10. ท่านางงาม (Tha Nang Ngam) 11 หมู่บ้าน
5. บึงกอก (Bueng Kok) 12 หมู่บ้าน 11. คุยม่วง (Khui Muang) 12 หมู่บ้าน
6. หนองกุลา (Nong Kula) 22 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบางระกำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางระกำ
  • เทศบาลตำบลปลักแรด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 ตำบลปลักแรด
  • เทศบาลตำบลพันเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันเสาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบึงระมาณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลักแรด (นอกเขตเทศบาลตำบลปลักแรด)
  • เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางระกำ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังอิทก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังอิทกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสงสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงสงครามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่านางงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคุยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุยม่วงทั้งตำบล

ของดีของอำเภอบางระกำ[แก้]

  • สุนัขบางแก้ว สุนัขสายพันธุ์ไทยแท้ ขนสองชั้น หางเป็นพวง ขนที่แผงคอคล้ายสิงโต ฉลาด ดุ และจงรักภักดีต่อผู้เป็นนาย
  • น้ำปลาปลาสร้อย น้ำปลาแท้ที่ผลิตจากปลาสร้อย
  • วัดสุนทรประดิษฐ์ มี หลวงพ่ออินทร์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวบางระกำ และมี หลวงพ่อแขก พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
  • วัดปลักแรด ต.ปลักแรด มี รูปปั้นองค์ หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวตำบลปลักแรด และ ตำบลใกล้เคียง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. [1]ประวัติอำเภอบางระกำ
  3. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบางกระทุ่ม ตำบลวังอีทก และตำบลทุ่งพันเสา ซึ่งแยกตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 378–379. 23 มีนาคม 2472.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 245. 2 พฤษภาคม 2481.
  5. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 346–347. 17 เมษายน 2482.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 59-60. 30 พฤษภาคม 2499.
  8. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๕๔ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดให้ที่ดินของรัฐในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (190 ก): (ฉบับพิเศษ) 267-268. 13 ธันวาคม 2515.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (198 ง): 3068–3070. 26 ธันวาคม 2515.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (17 ง): 387–388. 20 กุมภาพันธ์ 2516.
  11. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย และอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (71 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-9. 14 กรกฎาคม 2521.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (96 ง): 1778–1780. 16 มิถุนายน 2524.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-46. 15 กันยายน 2532.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 7-14. 12 กันยายน 2533.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-52. 1 กรกฎาคม 2534.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (63 ง): 7–43. 7 สิงหาคม 2544.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ฐานิดา บุญวรรโณ. “จังหวะชีวิตของชาวนาบางระกำหลังโครงการบางระกำโมเดล." ใน ถนอม ชาภักดี และคนอื่นๆ (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 11 เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์. น. 251-266. กรุงเทพฯ: มีดี กราฟิก, 2560.