อำเภอนครหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอนครหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nakhon Luang
ปราสาทนครหลวง
คำขวัญ: 
มีดอรัญญิกลือนาม สง่างามปราสาท
นครหลวง โชติช่วงเกษตรอุตสาหกรรม
เลิศล้ำภูมิปัญญาไทย
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอนครหลวง
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอนครหลวง
พิกัด: 14°27′51″N 100°36′20″E / 14.46417°N 100.60556°E / 14.46417; 100.60556
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด198.9 ตร.กม. (76.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด36,507 คน
 • ความหนาแน่น183.55 คน/ตร.กม. (475.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13260
รหัสภูมิศาสตร์1403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนครหลวง เลขที่ 9
หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครหลวง เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ[แก้]

ในสมัยอยุธยานั้น บริเวณนอกกำแพงเมืองถูกแบ่งออกเป็นเขตการปกครอง 3 เขต เรียกว่าแขวง (ภายหลังเปลี่ยนมาเรียกอำเภอ) ประกอบด้วยแขวงขุนนคร แขวงขุนเสนา และแขวงขุนอุทัย

แขวงขุนนครนั้น ต่อมาแยกออกเป็นแขวง คือ

  1. แขวงนครใหญ่ ซึ่งต่อมาแยกเป็น แขวงนครใหญ่ (อำเภอมหาราชในปัจจุบัน) และ แขวงนครใน (อำเภอบางปะหันในปัจจุบัน)
  2. แขวงนครน้อย ต่อมาก็แยกออกเป็น 2 แขวงเช่นกัน คือ
  • แขวงนครน้อย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าเรือ
  • แขวงนครกลาง ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเรียกว่า อำเภอนครกลาง มีที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตำบลบ่อโพง แต่ด้วยสถานที่ตั้ง ณ ตำบลบ่อโพงนั้นไม่เป็นศูนย์กลาง ในเวลาต่อมาจึงมีการย้ายที่ว่าการอำเภอนครกลางมาอยู่ที่ตำบลนครหลวง (เหตุที่ชื่อตำบลนครหลวงเพราะเป็นที่ตั้งของปราสาทนครหลวง) แล้วจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอนครหลวง จนถึงปัจจุบัน [1]

ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองสะแก แยกออกจากตำบลบ่อโพง ตั้งตำบลหนองปลิง แยกออกจากตำบลบ่อโพง และตำบลบ้านชุ้ง ตั้งตำบลปากจัน แยกออกจากตำบลบางระกำ ตั้งตำบลบางพระครู แยกออกจากตำบลนครหลวง ตั้งตำบลท่าช้าง แยกออกจากตำบลพระนอน[2]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2490 โอนพื้นที่หมู่ 10-14 ตำบลพระนอน (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับ ตำบลท่าช้าง (หมู่ 3-7 ในขณะนั้น) [3]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2494 โอนพื้นที่หมู่ 7 ตำบลบางระกำ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับ ตำบลนครหลวง (หมู่ 8 ในขณะนั้น) [4]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลนครหลวง บางส่วนของตำบลบางระกำ และ บางส่วนของตำบลบางพระครู [5]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลอรัญญิก ในท้องที่บางส่วนของตำบลพระนอน บางส่วนของตำบลท่าช้าง และ บางส่วนของตำบลสามไถ [6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครหลวง และ สุขาภิบาลอรัญญิก เป็น เทศบาลตำบลนครหลวง และ เทศบาลตำบลอรัญญิก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอนครหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอนครหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 74 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นครหลวง (Nakhon Luang) 9 หมู่บ้าน 7. บางพระครู (Bang Phra Khru) 4 หมู่บ้าน
2. ท่าช้าง (Tha Chang) 8 หมู่บ้าน 8. แม่ลา (Mae La) 6 หมู่บ้าน
3. บ่อโพง (Bo Phong) 7 หมู่บ้าน 9. หนองปลิง (Nong Pling) 5 หมู่บ้าน
4. บ้านชุ้ง (Ban Chung) 7 หมู่บ้าน 10. คลองสะแก (Khlong Sakae) 5 หมู่บ้าน
5. ปากจั่น (Pak Chan) 6 หมู่บ้าน 11. สามไถ (Sam Thai) 4 หมู่บ้าน
6. บางระกำ (Bang Rakam) 6 หมู่บ้าน 12. พระนอน (Phra Non) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอนครหลวงประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครหลวงทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางระกำและตำบลบางพระครู
  • เทศบาลตำบลอรัญญิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้าง ตำบลสามไถ และตำบลพระนอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อโพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านชุ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากจั่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาทั้งตำบล รวมถึงตำบลบางระกำและตำบลบางพระครู (นอกเขตเทศบาลตำบลนครหลวง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสะแกทั้งตำบล

บุคคลสำคัญ[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

อำเภอนครหลวง เป็นเขตอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ

  • นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ตั้งอยู่ในตำบลบางพระครู

สถานศึกษา[แก้]

ศิลาพระจันทร์ลอย ปราสาทนครหลวง
  • โรงเรียนนครหลวงอุดมรัชต์วิทยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-และมัธยาศึกษาตอนปลายเป็นสถานศึกษาขนาดกลาง เป็นโรงเรียนประจำอำเภอนครหลวง
  • โรงเรียนท่าช้างวิทยาคมเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-และมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
  • พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมอรัญญิกมีดอรัญญิก ตั้งอยู่ในตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิกหมู่บ้านอรัญญิก ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แท้จริงแล้วหมู่บ้านอรัญญิกมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่สองหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านต้นโพธิ์ และบ้านหนองไผ่ ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเป็นแหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี

อ้างอิง[แก้]

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอนครกลาง เป็นอำเภอนครหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (22): 352–353. 30 สิงหาคม 2446. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
  2. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (28 ง): 1616–1617. 24 มิถุนายน 2490.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (46 ง): 2921. 17 กรกฎาคม 2494.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. 7 มกราคม 2500.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (225 ง): (ฉบับพิเศษ) 19. 28 ธันวาคม 2536.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]