อำเภอกุยบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอกุยบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kui Buri
ทัศนียภาพมุมสูงในอำเภอกุยบุรี
ทัศนียภาพมุมสูงในอำเภอกุยบุรี
คำขวัญ: 
พระธาตุเจดีย์คู่บ้าน นมัสการหลวงพ่อในกุฎิ สวยสุดถ้ำ
ลำน้ำใส ชมอุทยานน้ำตกดงมะไฟ ช้างไพร ทะเลงาม
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอกุยบุรี
แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เน้นอำเภอกุยบุรี
พิกัด: 12°4′58″N 99°51′15″E / 12.08278°N 99.85417°E / 12.08278; 99.85417
ประเทศ ไทย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด935.4 ตร.กม. (361.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด45,024 คน
 • ความหนาแน่น48.13 คน/ตร.กม. (124.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 77150
รหัสภูมิศาสตร์7702
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกุยบุรี หมู่ที่ 7 ถนนเพชรเกษม ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กุยบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแยกออกมาจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้รับจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอกุยบุรีเดิมเป็นเขตปกครองของอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งภายหลังได้แยกออกมาเป็นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นเมืองปราณบุรี (จังหวัดปราณบุรี) ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์จึงได้แยกจากเมืองเพชรบุรีมาอยูในการปกครองของเมืองปราณบุรี เป็น "อำเภอประจวบคีรีขันธ์"[1] ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็น "เมืองประจวบคีรีขันธ์"

ต่อมาได้รับการแบ่งแยกพื้นที่เป็น กิ่งอำเภอกุยบุรี ขึ้นตรงกับอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้รับจัดตั้งเป็น อำเภอกุยบุรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 [2]

ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ได้มีการโอนย้ายตำบลไร่ใหม่ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอกุยบุรีตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอกุยบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[4]
1. กุยบุรี Kui Buri
8
10,246
2. กุยเหนือ Kui Nuea
11
6,862
3. เขาแดง Khao Daeng
3
2,179
4. ดอนยายหนู Don Yai Nu
4
3,263
5. สามกระทาย Sam Krathai
10
11,151
6. หาดขาม Hat Kham
11
11,178

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอกุยบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกุยบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกุยบุรีและตำบลกุยเหนือ
  • เทศบาลตำบลไร่ใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสามกระทาย (รวมทั้งบางส่วนของตำบลไร่ใหม่ในเขตอำเภอสามร้อยยอดด้วย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุยบุรี (นอกเขตเทศบาลตำบลกุยบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุยเหนือ (นอกเขตเทศบาลตำบลกุยบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหนู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนยายหนูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสามกระทาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามกระทาย (นอกเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหาดขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดขามทั้งตำบล
สถานีรถไฟกุยบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
  2. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๘๐ เล่มที่ ๗๒ ก เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ หน้าที่ ๓๖๒
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search_result.jsp?SID=4072F5E24FED71A796264B0759D6FCBF พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอกุยบุรีกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ตอนที่ ๑๑๒ ภาคที่ ๕๘ ก ประกาศ ณ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ หน้าที่ ๒๘
  4. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.