อาวุธป้องกันประจำบุคคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟเอ็น พี90

อาวุธป้องกันประจำบุคคล (อังกฤษ: personal defense weapon, PDW) หรือพีดีดับบลิวคืออาวุธปืนขนาดเล็กที่ยิงแบบกึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ โดยที่มีขนาดคล้ายกับปืนกลมือ แต่ยิงกระสุนเจาะเกราะที่ทำให้มันมีความแม่นยำ ระยะ และสร้างความเสียหายได้มากกว่าปืนกลมือทั่วไป อาวุธชนิดนี้มีในปัจจุบันโดยที่มันคือการผสมของปืนกลมือเข้ากับปืนคาร์บิน โดยใช้ขนาดที่กระชับและความจุกระสุนของปืนกลมือรวมเข้ากับกระสุนที่ทรงพลัง แม่นยำ และทะลุทะลวงของปืนคาร์บิน

ต้นกำเนิด[แก้]

พีดีดับบลิวในปัจจุบันเกิดมาจากอาวุธที่เป็นการผสมผสานของปืนและมีด เมื่อพวกมันถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นอาวุธที่ซ่อนได้สำหรับจุดประสงค์ในการป้องกันมากกว่าเป็นอาวุธที่ใช้เพื่อโจมตี การจัดเตรียมดังกล่าวคือ"ปืนพกพร้อมกริช"[1] มันเป็นที่รู้จักกันมานานซึ่งทหารหลายนายใช้ประโยชน์จากอาวุธที่เทอะทะน้อยกว่าอาวุธของทหารราบ ในทศวรรษที่ 1800 และ 1900 ปืนเล็กยาวแบบที่สั้นกว่าของทหารราบถูกเรียกว่าคาร์บินโดยทหารม้าและพลปืนใหญ่ จากนั้นมันก็ลดขนาดลงอย่างแบบปืนเล็กยาวลี-เอ็นฟีลด์

โดยทั่วไปปืนพกจัดว่ามีประสิทธิภาพน้อยเกินไปในบทบาทนี้ ในสงครามโลกครั้งแรกเมาเซอร์ ซี96 และปืนพกลูเกอร์ที่ใช้พร้อมกับพานท้ายและสามารถทำให้มันเหมาะกับบทบาทนี้ เอ็ม1 คาร์บินในสงครามโลกครั้งที่สองสามารถจัดได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกของอาวุธป้องกันประจำบุคคลในปัจจุบัน มันมีบทบาที่คล้ายคลึงกัน คือ มันไม่ใช้เพื่อการรบในแนวหน้าแต่ให้การสนับสนุนกับบุคคลอย่างพลขับ วิศวกร เสนารักษ์เพื่อที่พวกเขาจะได้ป้องกันตัวเองได้ในกรณีฉุกเฉิน ปืนกลมือที่ใช้กระสุนคาลิเบอร์สามารถเติมเต็มบทบาทนี้ได้ แต่ถูกมองว่าเป็นอาวุธปืนอัตโนมัติสำหรับการรบในแนวหน้ามากกว่า

ในปีพ.ศ. 2529 โรงเรียนเตรียมทหารของสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานที่ฟอร์ทเบนนิ่งโดยทำเอกสารอ้างอิงเพื่อจำแนกอาวุธป้องกันประจำบุคคลแบบพัฒนา

อาวุธป้องกันประจำบุคคลถูกสร้างขึ้นในทศวรรษที่ 1980 สำหรับทหารที่มักไม่ต้องทำการรบซึ่งเป็นอาวุธอัตโนมัติขนาดเล็กที่สามารถเอาชนะเกราะกันกระสุนของศัตรูได้ อาวุธป้องกันประจำบุคคลในช่วงแรกคือเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5 และจีจี-95 พีดีดับบลิว[1] ปืนพกและปืนกลมือมาตรฐานมีลำกล้องสำหรับกระสุนปืนพกที่มีประสิทธิภาพน้อยกกว่าเมื่อเจอกับทหารที่สวมเกราะและอาวุธขนาดเล็กที่เจาะเกราะได้นั้นก็กลายมาเป็นที่ต้องการ ในบทบาทนี้พวกมันสมควรที่จะเป็นทางเลือกที่สะดวกของปืนเล็กยาวจู่โจม เพราะพวกมันมีขนาดที่เล็กกว่าและน้ำหนักที่เบากว่า ซึ่งเหมาะกับทหารที่ไม่ต้องทำหน้าที่ในแนวหน้าของสงคราม

กระสุน[แก้]

พีดีดับบลิวทั่วไปนั้นจะใช้กระสุนคาลิเบอร์ขนาดเล็กซึ่งเป็นกระสุนปืนพกความเร็วสูงที่สามารถเจาะทะลุเกราะได้ อย่างไรก็ตามแรงที่รวดเร็วของมันเป็นการถกเถียงกันถึงแรงหยุดที่มันต้องเจอกับเป้าหมายที่ไม่สวมเกราะ มันถูกมองว่าไม่ดีพอ

กระสุน 4.6x30 ม.ม.และ 5.7x28 ม.ม.ได้รับคำวิจารณ์ในเรื่องความมีประสิทธิภาพที่ต่ำเมื่อปลายทาง พลังงานเคลื่อนที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนในเนื้อเยื่อของมนุษย์ในการยืดออกชั่วคราวของมัน ซึ่งเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ยกเว้นตับและเส้นประสาทจะสามารถทนทานต่อสิ่งอันตรายเล็กน้อยได้ มีการมุ่งเน้นไปที่การผสมผสานของแผลขนาดเล็กและการทะลุทะลวงที่ไร้ประสิทธิภาพหลายๆ ครั้ง ทำให้กระสุนพีดีดับบลิวนั้นมีการทำงานที่แย่ในตอนท้าย[ต้องการอ้างอิง]

พีดีดับบลิวยังเหมือนกับปืนกลมือในหลายๆ ด้านและมักถูกจำแนกว่าเป็นปืนกลมือ ปืนทั้งสองชนิดจะมีอัตราการยิงที่สูงมาก ซึ่งเมื่อผสมกับแรงถีบที่น้อยแล้วมันก็เพิ่มโอกาสให้การยิงได้มากขึ้นไปอีก

การใช้งาน[แก้]

ฟาบริกเนชั่นแนล พี6

อาวุธป้องกันประจำบุคคลไม่ประสบความสำเร็จในวงกว้างด้วยหลายเหตุผล เพราะว่าอาวุธป้องกันประจำบุคคลนั้นไม่ได้ถูกไปกว่าปืนเล็กยาวอัตโนมัติ และแพงกว่าปืนกลมือส่วนใหญ่ ในขณะที่มันมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในที่ที่กระสุนเจาะเกราะไม่มีความจำเป็น ตลาดทางทหารของอาวุธป้องกันประจำบุคคล ถูกข่มด้วยการปรากฏตัวของปืนคาร์บิน (อย่างเอ็ม4 คาร์บิน) ที่มีจุดเด่นที่ดีกว่า

นอกจากนั้นอาวุธป้องกันประจำบุคคลมักต้องใช้กระสุนพิเศษ อย่าง เอฟเอ็น พี90 นั้นใช้กระสุนขนาด 5.7x28 ม.ม.แบบนาโต้ หรือ เอชเค เอ็มพี7 ที่ใช้กระสุนขนาด 4.6x30 ม.ม. ซึ่งปืนพกและปืนเล็กยาวไม่ได้ใช้มัน ความแตกต่างเกิดขึ้นในพีพี-2000 ของรัสเซียที่สามารถยิงกระสุน 9x19 ม.ม.แบบพาราเบลลัมและกระสุนเจาะเกราะที่ทำให้มันมีความสามารถเดียวกับอาวุธป้องกันประจำบุคคล

แม้ว่าพวกจะไม่เป็นที่นิยมในกองทัพนัก อาวุธป้องกันประจำบุคคลหลายรุ่นก็เป็นที่นินมในกองรักษาความปลอดภัยและหน่วยรบพิเศษเพื่อแทนที่ปืนกลมือ อาวุธป้องกันประจำบุคคลเหมือนกับปืนกลมือที่มันมีน้ำหนักเบา อัตราการยิงที่สูง และแรงถีบที่น้อย เมื่อเทียบกับปืนเล็กยาวจู่โจมและคาร์บินที่มีหนักกว่า มีแรงถีบเยอะ และให้การทะลุทะลวงที่มากจนเกินไป

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Fowler, Will; North, Anthony; Stronge, Charles; Sweeney, Patrick: The Complete World Encyclopedia of Guns, page 90. Anness Publishing Ltd, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]