อาร์บีไอเบสบอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์บีไอเบสบอล
อาร์บีไอเบสบอล
ภาพปกอาร์บีไอเบสบอล
ผู้พัฒนานัมโค
ผู้จัดจำหน่ายนัมโค
เทนเงน
ออกแบบปีเตอร์ ลิปสัน
แต่งเพลงจุนโกะ โอะซะวะ, แบรด ฟุลเลอร์, ดอน เด็กไนท์, จอห์น พอล, เคนท์ คามิคัล
ชุดอาร์บีไอเบสบอล
เครื่องเล่นแฟมิคอม, เพลย์ชอยส์-10
วางจำหน่ายค.ศ. 1987
แนวกีฬา
รูปแบบโหมดผู้เล่นคนเดียว
โหมดผู้เล่นหลายคน

อาร์บีไอเบสบอล (อังกฤษ: R.B.I. Baseball) หรือชื่อในเวอร์ชันญี่ปุ่น โปรยะคิวแฟมิลีสเตเดียม (ญี่ปุ่น: プロ野球ファミリースタジアム) เป็นวิดีโอเกมเบสบอลสำหรับระบบแฟมิคอม (เอ็นอีเอส) เกมนี้ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทนัมโคและได้รับการเปิดตัวโดยบริษัทเทนเงน ซึ่งได้รับการเปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1987 อาร์บีไอมีภาคต่อสองภาคในระบบแฟมิคอม ตลอดจนเวอร์ชันสำหรับระบบเซกา เมกาไดรฟ์, เทอร์โบกราฟซ์-16 (พีซี เอนจิน), เซกา 32เอกซ์, คอมโมดอร์อามิกา, ซูเปอร์แฟมิคอม, เซกา เกมเกียร์ และอาตาริ เอสที ทั้งนี้ อาร์บีไอ มาจากอักษรย่อของคำว่า "รันแบตเท็ดอิน"

ประวัติ[แก้]

นัมโคซึ่งเป็นผู้ควบคุมของบริษัทเทนเงน ได้ทำการพัฒนาและเปิดตัวโปรยะคิวแฟมิลีสเตเดียม (ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแฟมิลีสเตเดียม) สำหรับระบบแฟมิคอม (เครื่องเล่นเกมเอ็นอีเอสในเวอร์ชันญี่ปุ่น)[1] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1986 แฟมิลีสเตเดียมประสบความสำเร็จและมีภาคต่อในแพลตฟอร์มต่าง ๆ หลายภาคในประเทศญี่ปุ่น อาตาริเกมส์ซึ่งเป็นแผนกอาเขตอเมริกันและเป็นบริษัทแม่ของเทนเงนได้ทำการเปิดตัวแฟมิลีสเตเดียมในเวอร์ชันของนินเท็นโด Vs. ซีรีส์ โดยใช้ชื่อว่า Vs. อาร์บีไอเบสบอล ใน ค.ศ. 1987 ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน และปีเตอร์ ลิปสัน ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์เกมเวอร์ชันดังกล่าวได้ทำการพัฒนาเวอร์ชันคอนโซลขึ้นในระบบเอ็นอีเอส

รูปแบบการเล่นและคุณลักษณะ[แก้]

หน้าจอในเวอร์ชันเอ็นอีเอส

อาร์บีไอเบสบอล เป็นเกมคอนโซลชุดแรกที่ได้รับการอนุญาตจากสมาคมผู้เล่นเมเจอร์ลีกเบสบอล (เอ็มแอลบีพีเอ) และได้ใช้ชื่อผู้เล่นเอ็มแอลบีที่มีอยู่จริง ซึ่งแตกต่างจากวิดีโอเกมเบสบอลอื่น ๆ ที่มีอยู่ในช่วงปลายยุค 1980 อย่างไรก็ตาม เกมนี้ไม่ได้รับลิขสิทธิ์ชื่อทีมจากเมเจอร์ลีกเบสบอล (เอ็มแอลบี) สำหรับใช้ในเกม และด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้ใช้ชื่อของทีมหรือโลโก้ หากแต่สิ่งที่ใช้แทนคือรายชื่อของ 8 ทีมที่เป็นชื่อเมืองเท่านั้น ซึ่งได้แก่: บอสตัน, แคลิฟอร์เนีย, ดีทรอยต์, ฮิวสตัน, มินนิโซตา, นิวยอร์ก, เซนต์หลุยส์ และซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นเมืองต้นสังกัดตรงตามชีวิตจริงของพวกเขา โดยคล้ายกับเมเจอร์ลีกเบสบอลตามทีมที่ได้อันดับต้น ๆ ของในแต่ละดิวิชันในฤดูกาล 1986 (บอสตัน, แคลิฟอร์เนีย, ฮิวสตัน, นิวยอร์ก) และ 1987 (ดีทรอยต์, มินนิโซตา, เซนต์หลุยส์, ซานฟรานซิสโก) เกมนี้ยังได้อวดสองทีมลีกออลสตาร์ ทั้งจากอเมริกันลีกและเนชันแนลลีก โดยทั้งสองรายการได้มีการปรากฏตัวของนักเบสบอลผู้มากด้วยประสบการณ์ ดังเช่น จอร์จ เบรตต์, เดล เมอร์ฟี และอังเดร ดอว์สัน ซึ่งไม่มีใครปรากฏตัวขึ้นในอีกแปดทีม รวมถึงผู้เล่นที่จะมีชื่อเสียงในอนาคตอย่างมาร์ก แมคไกวร์, อันเดรส กาลาร์รากา, เควิน ไซท์เซอร์ และโคเซ กังเซโก

ผู้เล่นแต่ละคนจะมีความสามารถที่แตกต่างกันในเกม โดยผู้ตีมีความสามารถในการสร้างจุดแข็งที่แตกต่างกันไป ทั้งการตีลูกที่ใช้พลัง รวมถึงการวิ่งสู่ฐานเบสของพวกเขา ซึ่งวินซ์ โคลแมน เป็นผู้เล่นที่มีความเร็วที่สุดในเกม ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะจับเขาเพื่อขโมยฐานเบสที่สอง ส่วนคนขว้างลูกมีระดับความเร็วในการขว้างที่แตกต่างกัน และสามารถบังคับให้ปั่นไซด์ไปทางซ้ายและขวาในช่วงที่ลูกลอยออกไปได้ นอกจากนี้คนขว้างยังมีแรงในการขว้างที่ต่างกัน ในกรณีที่ผู้ขว้างเริ่มเหนื่อย การเคลื่อนที่ลูกเบสบอลจะช้าลงและยากที่จะทำการปั่นไซด์ โนแลน ไรอัน และโรเจอร์ คลีแมน เป็นสองผู้ขว้างลูกในเกมที่ขว้างได้เร็วที่สุด สำหรับเฟร์นันโด บาเลนซเวลา ที่ปราศจากบอลเร็วแบบหนักหน่วงนั้น มีการเคลื่อนไหวด้วยการขว้างลูกของเขาอย่างน่าเกรงขามในทั้งสองทิศทาง ส่วนไมค์ สกอตต์ มีทักษะการขว้างลูกที่เฉียบคมและหลอกสายตา ทั้งนี้ ผู้ขว้างลูกที่ดีที่สุดยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน โดยขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นจะใช้พวกเขาในแบบใด และไม่มีหลักฐานถึงความสามารถในการรับลูกว่าสอดคล้องกับผู้เล่นแต่ละคนแต่อย่างใด

ความสามารถของผู้เล่นแต่ละคนทำไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับสถิติที่แสดงบนหน้าจอเมื่อผู้เล่นจะทำการตีหรืออยู่บนเนิน ด้วยข้อยกเว้นจำนวนมาก (ดูด้านล่าง) สถิติเหล่านี้มีความถูกต้องโดยทั่วไป ซึ่งพวกเขาจะไม่มีการเปลี่ยนในช่วงระหว่างรายการหรือการแข่งแบบต่อเนื่อง

ตารางคะแนนแรกเริ่มจะปรากฏขึ้นในช่วงระหว่างและหลังการแข่งโดยแสดงสถิติสถานะของแต่ละทีม เมื่อทำการตีได้จะให้เครดิตในการวิ่งสู่อีกฐานเบส และหากใครคนหนึ่งถูกจับตัวก่อนเข้าถึงฐานเบสจะถือว่าพลาดในการทำเครดิตจากการตี โดยตรงกันข้าม หากผู้ตีไม่สามารถตีลูกได้จะไม่ได้รับเครดิต

บัญชีรายชื่อของทั้งแปดทีมมีความถูกต้องเที่ยงธรรมตรงตามปีนั้น โดยแต่ละทีมจะมีผู้ตีประเดิม 8 คน, ผู้ป้องกันในพื้นที่สี่คน, ผู้ขว้างลูกประเดิมสองคน และผู้ขว้างลูกสมทบสองคน ผู้เล่นสามารถเริ่มต้นเป็นผู้ขว้างลูกใด ๆ ก็ได้หากต้องการ แม้ว่าผู้ขว้างลูกสมทบจะมีความแข็งแกร่งอ่อนกว่ามากก็ตาม แต่หากพวกเขาเล่นเกมติดต่อกันได้โดยไม่ได้ตั้งค่าใหม่ ผู้ขว้างลูกประเดิมที่ใช้ในช่วงก่อนหน้านี้จะไม่สามารถใช้ได้ ผู้เล่นจะต้องรอจนกว่าเกมจะเริ่มก่อนที่จะนักเบสบอลทำหน้าที่แทนร่วมกับผู้ตีตัวสำรอง ซึ่งสามารถเล่นได้ในตำแหน่งใด ๆ

ในเวอร์ชัน Vs. อาร์บีไอเบสบอล ทีมทั้งหลายต่างได้รับการสร้างขึ้นจาก 10 ทีมระดับตำนานที่แตกต่างกัน นักเบสบอลเหล่านี้ต่างเป็นตัวแทนสถิติด้วยฤดูกาลที่ดีที่สุดของพวกเขา ข้อยกเว้นที่น่าสังเกตเป็นของแมคไกวร์ ผู้ซึ่งอยู่ในทีมโอกแลนด์ โดยได้แสดงสถิติตัวเลขที่ซ่อนเร้นในการแสดงฝีมืออันโดดเด่นจากการทำนายล่วงหน้า ซึ่งเขาได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถทำโฮมรันได้ 62 ครั้งในฤดูกาลที่ดีที่สุดของเขา โดยใน ค.ศ. 1998 เขาได้ทำสถิติโฮมรันในเมเจอร์ลีกของฤดูกาลนี้ถึง 70 ครั้ง

ภาคต่อ[แก้]

  • อาร์บีไอเบสบอล 2 - มีทีมและผู้เล่นจากฤดูกาล 1989
  • อาร์บีไอเบสบอล 3 - อาร์บีไอ 3 ยังมีทีมลีกสำคัญอยู่ทุกทีมจากฤดูกาล 1990 ตลอดจนทีมหลังฤดูกาล 1983-1989 โดยฤดูกาลปกตินั้นมีความโดดเด่นในอาร์บีไอ 3 ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกทีมใดทีมหนึ่งเพื่อแข่งขันกับทีมอื่น ๆ ได้ทุกทีม ส่วนทีมออลสตาร์และทีมหลังฤดูกาลสามารถเลือกในโหมดฤดูกาลนี้ได้เช่นกัน พาสเวิร์ดที่ได้รับหลังจากจบแต่ละเกมจะช่วยต่อรายการต่าง ๆ ของผู้เล่นให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อทีมทั้งหมดถูกปราบ ผู้เล่นจะได้พบกับทีมตัวละครออลสตาร์จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยนักเบสบอลที่มีสถิติการทำโฮมรันและเอวีอีอันน่าทึ่ง รวมถึงคนขว้างลูกที่ไม่สามารถตีได้
  • อาร์บีไอเบสบอล 4 - อาร์บีไอเบสบอล 4 เป็นเกมภาคต่อที่ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1992 ในระบบเซก้าเมกาไดร์ฟ
  • โปรยะคิวเวิลด์สเตเดียม '91 - ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1991 ที่ประเทศญี่ปุ่นเฉพาะสำหรับระบบเทอร์โบกราฟิก-16 (พีซีเอนจิน) โดยไม่มีการเปิดตัวในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด
  • อาร์บีไอเบสบอล '93
  • อาร์บีไอเบสบอล '94
  • ซูเปอร์อาร์บีไอเบสบอล
  • อาร์บีไอ '95

ผู้ครองสถิติโลก[แก้]

เทรวิส รูห์แลนด์ จากแมดิสัน รัฐวิสคอนซิน ปัจจุบันเป็นผู้ครองสถิติโลกในอาร์บีไอเบสบอล 3 และอาร์บีไอเบสบอล 2 (ได้รับการรับรองโดยทวินกาแล็กซี) ด้วยการชนะ 60 เที่ยวและ 50 เที่ยวตามลำดับ[2]

ส่วนคูเลียว ฟรันโก เป็นผู้ครองสถิติมาอย่างยาวนานในฐานะผู้เล่นคนสุดท้ายที่เล่นตั้งแต่อาร์บีไอภาคแรกจนถึงช่วงการแข่งขันเมเจอร์ลีกใน ค.ศ. 2008

การตอบรับ[แก้]

เกมชุดนี้ทำยอดจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น 2,050,000 ชุด[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 略称はいずれも商標登録されている。
    • 「ファミリースタジアム」…1986年8月1日出願(番号:商標出願昭61-80899)・1988年12月19日登録(番号:第2102621号)ほか
    • 「ファミスタ」…1986年12月11日出願(番号:商標出願昭61-130974)・1988年10月26日登録(番号:第2087625号)ほか
  2. R.B.I. Baseball 3. Twin Galaxies. Retrieved on August 8, 2010.
  3. GEIMIN.NET/国内歴代ミリオン出荷タイトル一覧 เก็บถาวร 2019-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน、GEIMIN.NET、2013年2月28日閲覧。

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]