อาณานิคมสิงคโปร์

พิกัด: 1°22′N 103°48′E / 1.367°N 103.800°E / 1.367; 103.800
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณานิคมสิงคโปร์
(1946–1959)
รัฐสิงคโปร์
(1959–1963)

1946–1963
คำขวัญDieu et mon droit  (ฝรั่งเศส)
(1946–1959)
Majulah Singapura  (มลายู)
(1959–1963)
สถานะคราวน์โคโลนี
เมืองหลวงนครสิงคโปร์
ภาษาราชการ
และภาษาประจำชาติ
อังกฤษ
ภาษาทั่วไป
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• 1946–1952
จอร์จที่ 6
• 1952–1963
เอลิซาเบธที่ 2
ผู้ว่าราชการ 
• 1946–1952
เซอร์ แฟรงคลิน กิมสัน
• 1952–1955
เซอร์ จอห์น เฟียร์นส์ นิโคลล์
• 1955–1957
เซอร์ รอเบิร์ต แบล็ก
• 1957–1959
เซอร์ วิลเลียม กูด
มุขมนตรี 
• 1955–1956
เดวิด มาร์แชลล์
• 1956–1959
Lim Yew Hock
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดิบริติช
1 เมษายน 1946
15 กรกฎาคม 1946
23 พฤศจิกายน 1955
1 ตุลาคม 1958
• สิทธิปกครองตนเองในจักรวรรดิบริติช
1959
• เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซีย
16 กันยายน 1963
สกุลเงิน
เขตเวลาUTC+07:30
ขับรถด้านซ้ายมือ
ก่อนหน้า
ถัดไป
British Military Administration (Malaya)
สเตรตส์เซตเทิลเมนต์
โชนัน
รัฐสิงคโปร์ (มาเลเซีย)
คราวน์โคโลนีแห่งบอร์เนียวเหนือ
หมู่เกาะโคโคส (คีลิง)
เกาะคริสต์มาส
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสิงคโปร์
ออสเตรเลีย
มาเลเซีย

สิงคโปร์เคยเป็นอาณานิคมอังกฤษเป็นเวลา 144 ปี ยกเว้นในช่วงที่จักรวรรดิญี่ปุ่นครอบครองใน ค.ศ. 1942 ถึง 1945 ในช่วงสงครามแปซิฟิก

เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1945 ณ ช่วงสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง สิงคโปร์จึงถูกคืนให้กับอังกฤษ ภายหลังได้ยุบสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ใน ค.ศ. 1946 และกลายเป็นคราวน์โคโลนีร่วมกับหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) กับเกาะคริสต์มาส[2]

คราวน์โคโลนีได้รับการบริหารจากสหราชอาณาจักรจนกระทั่งร์ได้รับสิทธิปกครองตนเองภายในบางส่วนใน ค.ศ. 1955.[3] จากนั้นจึงได้รับสิทธิปกครองตนเองอย่างเต็มตัวในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1959 ทำให้กลายเป็น รัฐสิงคโปร์

สิงคโปร์ได้รวมดินแดนกับสหพันธรัฐมาลายา ซาราวัก และบอร์เนียวเหนือ กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 จึงทำให้การปกครองสิงคโปร์ของสหราชอาณาจักร สิ้นสุดลงเป็นการถาวรในวันดังกล่าว จากนั้นในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 สิงคโปร์ถูกแยกออกจากมาเลเซีย กลายเป็นรัฐเอกราช เนื่องจากความแตกต่างทางการเมือง เศรษฐกิจ และชาติพันธุ์

หมายเหตุ[แก้]

  1. ส่วนใหญ่ร้องเฉพาะบทแรก[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Berry, Ciara (15 January 2016). "National Anthem". The Royal Family. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  2. Colony of Singapore. Government Gazette. (1946, April 1). The Singapore Colony Order in Council, 1946 (G.N. 2, pp. 2–3). Singapore: [s.n.]. Call no.: RCLOS 959.57 SGG; White paper on Malaya (1946, January 26). The Straits Times, p. 2. Retrieved from NewspaperSG; Tan, K. Y. L. (Ed.). (1999). The Singapore legal system (pp. 232–233). Singapore: Singapore University Press. Call no.: RSING 349.5957 SIN.
  3. "Singapore : History | The Commonwealth". thecommonwealth.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2019. สืบค้นเมื่อ 6 May 2019.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Bose, Romen, "THE END OF THE WAR: The Liberation of Singapore and the aftermath of the Second World War", Marshall Cavendish, Singapore, 2005

1°22′N 103°48′E / 1.367°N 103.800°E / 1.367; 103.800