อาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง[1] (อังกฤษ: monothematic delusion) เป็นอาการหลงผิดในเรื่อง ๆ หนึ่ง เปรียบเทียบกับอาการหลงผิดหลายเรื่อง (multi-thematic, polythematic) ซึ่งเป็นอาการทั่วไปในโรคจิตเภท อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นพร้อมกับโรคจิตเภทหรือภาวะสมองเสื่อม (dementia) หรือสามารถเกิดขึ้นโดยไม่ปรากฏอาการทางจิตอื่น ๆ ถ้าพบอาการนี้ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับโรคจิต ก็มักจะเป็นผลของความผิดปกติทางกายรวมทั้งการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือความผิดปกติทางประสาท

ผู้ที่มีอาการเหล่านี้จากสาเหตุความผิดปกติทางกาย มักจะไม่ปรากฏความบกพร่องทางปัญญาและมักจะไม่มีอาการอื่น ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีบางคนที่รู้อีกด้วยว่า ความเชื่อของตัวเองเป็นเรื่องแปลกประหลาด แต่คนอื่นก็ยังไม่สามารถโน้มน้าวให้แก้ความเชื่อผิด ๆ นั้นได้[ต้องการอ้างอิง]

ประเภท[แก้]

อาการต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในประเภทอาการหลงผิดเฉพาะเรื่องรวมทั้ง

  • capgras syndrome เป็นความหลงผิดว่า ญาติสนิทหรือคู่ครองถูกแทนด้วยตัวปลอมที่มีหน้าตารูปร่างเหมือนกัน
  • Fregoli delusion เป็นความหลงผิดว่า บุคคลต่าง ๆ ที่คนไข้เจอความจริงแล้วเป็นบุคคลเดียวกันปลอมตัวมา
  • Intermetamorphosis เป็นความหลงผิดว่า บุคคลต่าง ๆ เปลี่ยนเป็นคนอื่นทั้ง ๆ ที่รูปร่างภายนอกไม่ได้เปลี่ยน
  • Syndrome of subjective doubles เป็นความหลงผิดว่า มีคู่แฝดของตนที่มีการกระทำเป็นอิสระจากตน
  • Cotard delusion เป็นความหลงผิดว่า ตนเองตายแล้วหรือไม่มีอยู่จริง ๆ บางครั้งมาพร้อมกับความเชื่อว่า ตนเองกำลังเน่าเปื่อยอยู่หรือว่ามีอวัยวะอะไรบางอย่างภายในที่หายไป
  • Mirrored-self misidentification เป็นความหลงผิดว่า เงาตนเองในกระจกเป็นคนอื่น
  • Reduplicative paramnesia เป็นความหลงผิดว่า คนที่คุ้นเคย หรือว่าสถานที่ หรือว่าวัตถุ หรือว่าอวัยวะในร่างกายหนึ่ง ๆ ได้เกิดการก๊อบปี้ขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คนไข้อาจจะคิดว่าตัวเองไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลที่รับตนเข้า แต่อยู่ในโรงพยาบาลที่เหมือนกันที่อยู่อีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศ
  • Somatoparaphrenia เป็นความหลงผิดที่ปฏิเสธความเป็นเจ้าของของแขนขาหนึ่ง ๆ หรือของร่างกายทั้งซีก (บ่อยครั้งเกิดกับโรคหลอดเลือดสมอง)

ให้สังเกตว่า อาการหลงผิดเหล่านี้บางครั้งรวมกลุ่มอยู่ใต้ประเภท delusional misidentification syndrome

เหตุเกิด[แก้]

งานวิจัยทางประสาทจิตวิทยาเชิงปริชาน (cognitive neuropsychology) ชี้ว่า มีองค์ประกอบสองอย่างที่เป็นเหตุของอาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง[2] องค์ประกอบแรกก็คือประสบการณ์ที่วิบัติ (anomalous experience) ซึ่งบ่อยครั้งมีเหตุจากความผิดปกติทางประสาท ที่นำไปสู่ความหลงผิด และองค์ประกอบที่สองเป็นความบกพร่องของกระบวนการเกิดความเชื่อ (belief formation cognitive process)

ตัวอย่างขององค์ประกอบแรกก็คือ มีงานวิจัยหลายงานที่ชี้ว่า อาการหลงผิดคะกราส์เป็นผลจากความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ใบหน้า ดังนั้น แม้ว่าคนไข้จะสามารถรู้จำคู่ครอง (หรือญาติสนิทของตน) ได้ แต่เพราะไม่มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่คนปกติจะมี และดังนั้นการเห็นคู่ครองของตนจึงไม่ได้ให้ความรู้สึกเหมือนกับบุคคลที่ตนรู้จัก

แต่ว่า งานวิจัยเหล่านี้ชี้ว่า ความผิดปกติทางประสาทอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเป็นเหตุของความคิดเห็นผิด ๆ แต่จะต้องมีองค์ประกอบที่สอง ซึ่งเป็นความเองเอียง (bias) หรือความผิดปกติของกระบวนการก่อตั้งความเชื่อ ซึ่งจะรักษาและทำให้มั่นคงซึ่งความหลงผิดนั้นไว้ แต่เพราะว่า ในปัจจุบันยังไม่มีแบบจำลองที่ดีว่า กระบวนการสร้างความเชื่อนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้น องค์ประกอบที่สองจึงยังไม่ชัดเจน

มีงานวิจัยบางงานแสดงว่า คนไข้ที่หลงผิดมักจะด่วนสรุปเหตุการณ์[3][4][5] และดังนั้น มักจะถือเอาประสบการณ์ที่ผิดปกติว่าเป็นความจริง และจะทำการตัดสินใจโดยรีบร้อนอาศัยประสบการณ์เหล่านี้ นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยต่าง ๆ[5]ยังพบอีกด้วว่า คนไข้มักตัดสินใจผิดพลาดเพราะความเอนเอียงในการทำให้เหมือน (matching bias) ซึ่งบอกว่า คนไข้มักจะพยายามที่จะยืนยันกฎกติกาของสังคมหรือของตน (โดยไม่สามารถคำนึงถึงความจริง) ความเองเอียงในการตัดสินใจสองอย่างนี้ช่วยอธิบายว่า ผู้หลงผิดสามารถที่จะยึดถือความหลงผิดได้อย่างไร และทำไมจึงไม่สามารถกลับใจได้

นักวิจัยบางพวกเชื่อว่า ความเอนเอียงสองอย่างนี้เพียงพอแล้วที่จะอธิบายอาการหลงผิด แต่บางพวกเชื่อว่า ความเอนเอียงสองอย่างนี้ไม่เพียงพอที่จะอธิบายว่า ทำไมหลักฐานเกี่ยวกับความจริงจึงไม่สามารถโน้มน้าวผู้หลงผิดให้เข้าใจถูกได้ในระยะยาว คือ เชื่อว่า ต้องมีความบกพร่องทางประสาทที่ยังไม่ปรากฏอย่างอื่น ๆ ในระบบความเชื่อของคนไข้ (ซึ่งอาจจะอยู่ในสมองซีกขวา)

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ delusion ว่า "อาการหลงผิด" และของ thematic ว่า "ตามท้องเรื่อง" หรือ "เฉพาะเรื่อง" หรือ "ใจความหลัก"
  2. Davies, M., Coltheart, M., Langdon, R., Breen, N. (2001). "Monothematic delusions: Towards a two-factor account" (PDF). Philosophy, Psychiatry and Psychology. 8: 133–158. doi:10.1353/ppp.2001.0007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Sellen, J., Oaksford, M., Langdon, R., Gray, N. (2005). "Schizotypy and Conditional Reasoning". Schizophrenia Bulletin. 31 (1): 105–116. doi:10.1093/schbul/sbi012.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Dudley RE, John CH, Young AW, Over DE (May 1997). "Normal and abnormal reasoning in people with delusions". Br J Clin Psychol. 36 (Pt 2): 243–58. PMID 9167864.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Stone, T. (2005). "Delusions and Belief Formation" (Powerpoint).[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]