อัลเลน อาร์. ชินด์เลอร์ จูเนียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลเลน อาร์. ชินด์เลอร์ จูเนียร์

อัลเลน อาร์. ชินด์เลอร์ จูเนียร์ (อังกฤษ: Allen R. Schindler, Jr.; 13 ธันวาคม ค.ศ. 1969 — 27 ตุลาคม ค.ศ. 1992) จ่าตรีพลวิทยุ สังกัดนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ที่ถูกฆาตกรรมจากการเป็นเกย์ ถูกฆ่าในห้องน้ำสาธารณะที่ซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ โดยลูกเรือลำเดียวกัน ชื่อ เทอร์รี เอ็ม. เฮลวีย์ โดยสมรู้ร่วมคิดกับ ชาร์ล วินส์ ซึ่งเหตุการณ์นี้หนังสือ เอสไควร์ เรียกว่า "การฆาตกรรมที่ป่าเถื่อน"[1][2]

ภูมิหลัง[แก้]

ชินด์เลอร์เกิดในครอบครัวกะลาสี[2] ที่ชิคาโกไฮส์ รัฐอิลลินอย ได้เข้าเป็นพลวิทยุบนเรือยูเอสเอสเบลโลวูด ในซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ

จากข้อมูลของเพื่อนของเขา ชินด์เลอร์มักบ่นเสมอจากการถูกรังควานจากพวกต่อต้านเกย์จากสายบังคับบัญชา ในเดือนมีนาคมและเมษายน ค.ศ. 1992 โดยกล่าวถึงเหตุการณ์อย่างเช่น ถูกกักขังในล็อกเกอร์ของเขา และมักมีความเห็นจากลูกเรือด้วยกัน เช่น "มีเกย์อยู่บนเรือและเขาสมควรตาย"[3] ชินด์เลอร์จึงเริ่มหาหนทางที่จะออกจากกองทัพ แต่ผู้บังคับบัญชายืนยันให้เขาอยู่จนกว่าจะเสร็จภารกิจ และถึงแม้ว่าเขาจะรู้ว่าเขาจะอยู่ด้วยความไม่ปลอดภัย เขาก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งอย่างดี

ขณะที่เดินทางจากแซนดีเอโกไปยังซาเซโบะ เรือได้หยุดจอดระยะสั้น ๆ ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ฮาวาย ระหว่างทางไปถึงจุดหมายปลายทางสู่ญี่ปุ่น เขาได้รับการประกาศพิเรนว่า "2-Q-T-2-B-S-T-R-8” (too cute to be straight) หรือ น่ารักเกินไปที่จะเป็นชายแท้" ตามสายซึ่งส่งไปถึงกองเรือแปซิฟิก "เมื่อเขาปรากฏตัวที่เสาอากาศเพื่อรับข้อความนิรนาม เขาก็ร้องขอให้ปิดมันซะ และมันก็เปิดออกไปท่ามกลางคนฟังร่วม 200-300 คน"[1] ชินด์เลอร์ถูกกักบริเวณออกไปและไม่สามารถออกจากเรือได้จนกว่าอีกหลายเดือนที่เรือจะถึงซาเซโบะ 4 วันก่อนที่เขาจะถูกฆาตกรรม

ฆาตกรรม[แก้]

พลอากาศ เทอร์รี เอ็ม. เฮลวีย์ ที่อยู่ในหน่วยอากาศของเรือกระทืบชินด์เลอร์จนเสียชีวิตในห้องน้ำ ในสวนสาธารณะที่ซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ เขาเสียชีวิตบนพื้นห้องน้ำจนตรวจการณ์ฝั่งและพยานแบกร่างของชินด์เลอร์ไปที่สะพานอัลบูเกอร์ ชินด์เลอร์มีสภาพ "บาดแผลสาหัส 4 ที่ที่ศีรษะ หน้าอก และท้อง"[2] หัวของเขาแหลกละเอียด ซี่โครงหัก และองคชาตถูกตัด และมี "รอยเท้าที่หน้าผากและหน้าอก"[2] ถูกทำลายแทบทุกส่วนของร่างกาย[4] จนแทบจำสภาพไม่ได้[5] มีเพียงหลักฐานที่ทำให้จำได้คือรอยสักที่แขน[6]

รายละเอียดเปิดเผย[แก้]

กองทัพเรือไม่เต็มใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฆาตกรรม ทั้งกับสื่อและญาติผู้ตาย โดยเฉพาะกับแม่ของเขา โดโรธี แฮจดีส์[7]

กองทัพเรือปฏิเสธว่า ได้รับการเสียงบ่นของการคุกคามและปฏิเสธที่จะพูดสู่สาธารณะ จนกว่าจะได้รับรายงานจากทางตำรวจญี่ปุ่น[3]

ทีมแพทย์จากฐานซาเซโบะ ประกาศการเสียชีวิตของเขา โดยเปรียบเทียบสภาพบาดเจ็บของเหยื่อ เหมือนประสบกับม้าดุร้ายรุมกระทืบ และพูดว่า "แย่กว่าถูกม้ากระทืบ เหมือนกับถูกรถความเร็วสูงชนหรือประสบอุบัติเหตุทางเครื่องบินความเร็วต่ำ"[2]

ทางครอบครัว แม่และพี่สาวของเขาสามารถระบุตัวเขาได้เพียงจากรอยสักที่แขนเขาเท่านั้น[2]

การสอบสวนและผล[แก้]

ในระหว่างการสอบสวน เฮลวีย์ ปฏิเสธที่เขาฆ่าชินด์เลอร์ เพราะเขาเป็นเกย์ โดยกล่าวว่า "ผมไม่ได้ทำร้ายเขาเพราะเขาเป็นโฮโมเซ็กชวล" แต่หลักฐานที่นำเสนอโดย ผู้สืบสวน เคนนอน เอฟ. ไพรเวต จากคำซักถามในวันหลังจากที่เขาฆาตกรรม เขาพูดว่า "เขาเกลียดโฮโมเซ็กชวล" เขาขยะแขยงมัน ไพรเวตพูดเช่นนั้น ในการฆาตกรรมชินด์เลอร์ ไพรเวตได้อ้างคำพูดของเฮลวีย์ พูดว่า "ผมไม่เสียใจ ผมจะทำอีก เขาสมควรได้รับ"[1]

ศาลตัดสินลดโทษหลังจากสารภาพผิด ลดโทษจากประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต[1]

หลังการสอบสวน เฮวลีย์พิสูจน์ว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมและกัปตันที่เก็บเรื่องเงียบที่ลดขั้นและย้ายไปอยู่ที่ฟลอริดา เฮลวีย์จำคุกอยู่ที่เรือนจำทหารใน United States Disciplinary Barracks ที่ฟอร์ตลีเวนเวิร์ท ในรัฐแคนซัส และผู้สมรู้ร่วมคิด ชาร์ล วินส์ จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อลดจำนวนข้อหาความผิดลงเหลือ 3 ข้อหา รวมถึงไม่รายงานอาชญากรรม เขาถูกจำคุก 78 วัน และถูกปลดออกจากกองทัพเรือ

การอ้างถึง[แก้]

เหตุการณ์การฆาตกรรมของชินด์เลอร์ ถูกเอ่ยถึงถึงในตอนของรายการ 20/20 และมีการทำเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ในปี ค.ศ. 1997 เรื่อง Any Mother's Son และประธานาธิบดี บิล คลินตัน พูดถึงตอนให้ผ่าน "ห้ามถาม ห้ามบอก"[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Jameson, Sam (1994-05-28), "U.S. Sailor Sentenced to Life Imprisonment in Murder", Los Angeles Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-12, สืบค้นเมื่อ 2008-03-21
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Brown, Chip (December 1993), "The Accidental Martyr", Esquire, สืบค้นเมื่อ 2008-03-21
  3. 3.0 3.1 "Uniform Discrimination: The "Don't Ask, Don't Tell" Policy of the U.S. Military, section V. Discharges of Gay And lesbian Servicemembers", Human Rights Watch, January 2003, สืบค้นเมื่อ 2008-03-21
  4. "'Don't Ask, Don't Tell' – intolerable or intolerant?", Gay & Lesbian Times, Editorial, no. 1013, 2007-05-24, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11, สืบค้นเมื่อ 2008-03-21
  5. Belkin, Dr. Aaron (2005-05-01), "Abandoning 'Don't Ask, Don't Tell' Will Decrease Anti-Gay Violence", Naval Institute: Proceedings Monthly, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-17, สืบค้นเมื่อ 2008-03-21
  6. Green, Jesse (12 September 1993), "What the Navy Taught Allen Schindler's Mother", New York Times, สืบค้นเมื่อ 29 March 2010
  7. Joyner, Will (1997-08-11), "Slain Sailor's Mother As a Profile in Courage", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 2008-03-21
  8. "Any Mother's Son - About the Movie". Lifetime Television. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.