อัลลีโลพาธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Casuarina equisetifolia กดการงอกพืชที่อยู่ใต้ร่มเงาได้

อัลลีโลพาธี (อังกฤษ: Allelopathy) เป็นปรากฏการณ์ที่พืชชนิดหนึ่งปล่อยสารพิษออกไปทำอันตรายกับพืชข้างเคียง ซึ่งอาจถึงตายได้ พืชที่สร้างสารพิษมาเรียกว่าพืชผู้ปลดปล่อยสารพิษ (Donor plant) ผลกระทบของอัลลีโลพาธีมี 2 ระดับคือ

  • ระดับปฐมภูมิ เกิดจากเศษซากพืชที่มีสารพิษถูกย่อยสลายหรือถูกน้ำฝนชะ แล้วมีผลต่อการเจริญของพืชอีกชนิดที่อยู่ในดินนั้น รวมทั้งสารพิษที่จุลินทรีย์สร้างระหว่างการย่อยสลายเศษซากพืชด้วย
  • ระดับทุติยภูมิ เกิดจากการที่พืชสร้างและปลดปล่อยสารพิษออกมาขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่รุนแรงเท่ากับสารพิษจากเศษซากพืช ผลกระทบที่เห็นชัดเจน เช่น การปล่อยสารพิษจากต้น Juglans nigra และต้นเบญจมาศ

อ้างอิง[แก้]

  • ดวงพร สุวรรณกุล. ชีววิทยาวัชพืช: พื้นฐานการจัดการวัชพืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2543.