อัลฟาโรเมโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลฟาโรมีโอ)
The Alfa Romeo Automobiles S.p.A.
ประเภทบริษัทลูก
อุตสาหกรรมยานยนต์
ก่อนหน้าSocietà Anonima Italiana Darracq (SAID)
ก่อตั้ง (1910-06-10) 10 มิถุนายน ค.ศ. 1910 (113 ปี)
มิลาน, แคว้นลอมบาร์เดีย, อิตาลี
ผู้ก่อตั้งAlexandre Darracq/Ugo Stella
Nicola Romeo
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
Jean-Philippe Imparato (ประธานกรรมการบริหาร)
ผลิตภัณฑ์รถยนต์
ตราสินค้าQuadrifoglio
บริษัทแม่Stellantis
เว็บไซต์AlfaRomeo.com

หรือออกเสียงว่า อัลฟาโรมิโอ (Alfa Romeo) ในนามบริษัท Alfa Romeo Automobiles S.p.A. บางครั้งก็นิยมเรียกชื่อย่อโดยทั่วไปกันว่า "อัลฟาฯ" เป็นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอิตาลี แห่งเมืองมิลาน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1910 สร้างชื่อเสียงมาจากการผลิตรถสปอร์ตสมรรถนะสูงในการแข่งขันของกีฬาขับแข่งยานยนต์อาชีพสมรรถนะสูง หรือ มอเตอร์สปอร์ต ทัวร์นาเมนต์(Motor Sports Tournament) เช่น ฟอมูล่าวัน (Formula-1) หรือ กังปรีย์ (Grandprix) โดย อัลฟาฯ เป็นหนึ่งแบรนด์รถยนต์ในเครือกลุ่มบริษัท Stellantis อยู่ในปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

1908 Darracq 8/10 HP โดย Darracq Italiana แบรนด์ดั้งเดิมของ Alfa Romeo
A.L.F.A 24 hp ทำตัวถังโดย Castagna ในรูปแบบทรงรถ torpedo เป็นรถคันแรกในนามของ Anonima Lombarda Fabbrica Automobili (A.L.F.A) ในปี ค.ศ. 1910
8C 2900B Touring Spider (1937)

แต่เดิมบริษัทเริ่มก่อตั้งในนามของ Società Anonima Italiana Darracq (SAID) เมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยผู้ผลิตรถยนต์ชาวฝรั่งเศส Alexandre Darracq และผู้ลงทุนชาวอิตาลีส่วนนึง จากนั้นปลายปี ค.ศ. 1909 ยอดขายรถของบริษัทได้มีจำนวนลดลง จึงได้แยกตัวออกมาตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ที่มีชื่อว่า A.L.F.A หรือชื่อเต็มว่า Anonima Lombarda Fabbrica Automobili และยังคงเป็นหุ้นส่วนอยู่กับบริษัทเก่า Darracq จากนั้นได้ผลิตรถคันแรกออกมาคือรถ A.L.F.A 24 HP ในปี ค.ศ. 1910 ซึ่งออกแบบโดย Giuseppe Merosi หัวหน้าวิศวกรของบริษัท A.L.F.A มีจุดประสงค์เพื่อไว้ใช้ลงสนามแข่งในรายการ Targa Florio 1911

จากนั้นในปี ค.ศ. 1915 บริษัทได้อยู่ภายใต้การปกครองของผู้บริหารและวิศวกรคนใหม่ Nicola Romeo ผู้ที่เปลี่ยนแปลงบริษัทให้หันมาผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารอิตาลีและพันธมิตรในช่วงสงครามโลก ต่อมาเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Alfa Romeo และได้เปิดตัวรถรุ่น Torpedo 20-30 HP ซึ่งรถรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ได้ใช้ชื่อของ Alfa Romeo อย่างเป็นทางการ โดยพัฒนามาจากรถรุ่นที่แรกที่ผลิตในปี 1910 ซึ่งในช่วงนี้บริษัทมีกระแสตอบรับที่ดีมาก

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1928 Nicola Romeo ตัดสินใจลาออกจาก Alfa Romeo เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาทางการเงินจนไปต่อไม่ไหว จึงขายบริษัทให้กับรัฐบาลอิตาลี จากนั้นก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้น และหันมาผลิตรถสำหรับเศรษฐีด้วยรถรุ่น Alfa Romeo 8C 2900 Type 35 ซึ่งทำให้ Alfa Romeo ประสบความสำเร็จที่สุดในยุคนั้น

Henry Ford ผู้ก่อตั้ง Ford ได้เคยพูดคุยกับ Ugo Gobbato วิศวกรของ Alfa Romeo เมื่อปี ค.ศ. 1939 ไว้ว่า "เมื่อผมเห็น Alfa Romeo ขับผ่านไป ผมจะเปิดหมวก" ซึ่งหากสวมหมวกอยู่การเปิดหมวก หรือเอามือแตะหมวกเป็นธรรมเนียมของชาวตะวันตกเพื่อแสดงความเคารพและให้เกียรติ

ปี ค.ศ. 1952 Alfa Romeo ได้ทำการทดลองผลิตรถขับเคลื่อนล้อหน้ารุ่นแรกในโปรเจกต์ “Project 13-61” ได้ถูกเรียกว่า Tipo 103 ซึ่งรูปแบบนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับรถรุ่นยอดนิยม Alfa Romeo Giulia 105 แต่ก็มีอันต้องปิดโปรเจกต์ เนื่องจากสภาวะปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนสงครามอิตาลี

จากนั้นในปี ค.ศ. 1954 เริ่มหันกลับมาผลิตรถเล็กและเครื่องยนต์ Twin Cam ซึ่งล้ำสมัยมากในยุคนั้น หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1986 ก็เริ่มใช้เครื่องยนต์แบบ Twin Spark ที่เป็นเอกลักษณ์จากการใช้หัวเทียนแบบสองหัวต่อหนึ่งสูบ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 นั้น Alfa Romeo ได้ผลิตรถในนามของบริษัท Finmeccanica ซึ่งเป็นเจ้าของโดยรัฐบาลอิตาลี ต่อมาได้ขายบริษัทต่อให้กับบริษัท Fiat Group ในปี ค.ศ. 1986 จากนั้น Fiat Group ได้สร้างกลุ่มบริษัทใหม่ขึ้นมา Alfa Lancia Industriale S.p.A เพื่อที่รถ Alfa Romeo และ Lancia ได้ทำการพัฒนาร่วมกัน และได้รวบรวมความเป็น Alfa Romeo ให้เป็นรถที่มีทั้งสไตล์ที่ดูโฉบเฉี่ยว และความเป็นรถสปอร์ตที่ทันสมัย ตามสโลแกนในปีนั้น "Cuore Sportivo" (Sporting Heart)

จากนั้นในปี ค.ศ. 2007 บริษัท Fiat Group S.p.A. (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น FCA Italy S.p.A.) ได้ก่อตั้งบริษัทใหม่อีก 4 บริษัท คือ Fiat Automobiles S.p.A., Alfa Romeo Automobiles S.p.A., Lancia Automobiles S.p.A. และ Fiat Light Commercial Vehicles S.p.A. (ปัจจุบันชื่อว่า Fiat Professional S.p.A.)

อัลฟ่า โรมิโอ มีสโลแกนปัจจุบันคือ La Meccanica Delle Emozioni ในภาษาอิตาลี หรือ The Mechanics of Emotions ในภาษาอังกฤษ

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ของ Alfa Romeo ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่องถึง 5 ศตวรรษ ออกแบบโดย Romano Cattaneo ช่างศิลป์ชาวอิตาลี โดยใช้ตราประจำตระกูล Visconti ซึ่งเป็นตระกูลดั้งเดิมของเมืองมิลาน โดยทางขวาเป็นรูปของ Biscione ซึ่งเป็นชื่อของงูพิษตัวใหญ่ในตำนาน (ไม่ใช่มังกร) มีการอ้างอิงว่าตราสัญลักษณ์ที่เห็นนี้มาจากป้ายบนแขนเสื้อของชาวอาหรับที่ถูกบรรพบุรุษของตระกูล Ottone Visconti ปลิดชีวิตในระหว่างสงครามครูเซด หรืออาจจะเป็นชายคนนึงที่ถูกกลืนกินโดยงูยักษ์แต่ได้ถูกช่วยเหลือตามตำนานของ Theoderic the Great ซึ่งปรากฏอยู่ในกวี Virginal ส่วนทางซ้ายมือเป็นรูปกางเขนสีแดงบนพื้นขาวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำเมืองมิลาน

ส่วนตราสัญลักษณ์ Quadrifoglio Verde (ใบโคลเวอร์สี่กลีบ สีเขียว) เกิดจาก Ugo Sivocci นักแข่งรถของทีม ชนะการแข่งขัน 1923 Targa Florio กับรถแข่ง Alfa Romeo RL โดยที่เขาเพ้นท์รูปใบโคลเวอร์ 4 กลีบ เอาไว้ที่หัวของตัวรถ ตามความเชื่อของทางฝั่งตะวันตกที่มีความเชื่อว่า หากใครพบโคลเวอร์ 4 กลีบ จะประสบโชคดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติแล้วใบของต้นโคลเวอร์ทั่วไปจะมีเพียงแค่ 3 กลีบ ซึ่งว่ากันว่า ในต้นโคลเวอร์หนึ่งพันต้นนั้น จะพบใบโคลเวอร์ 4 กลีบได้เพียงใบเดียวเท่านั้น โอกาสพบใบโคลเวอร์ 4 กลีบจึงเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากมาก และยังถือเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งเลยทีเดียว จนต่อจากนั้นเกิดเป็นตราสัญลักษณ์นำโชค และนำมาใช้กับรถแข่งของ Alfa Romeo

กีฬามอเตอร์สปอร์ต[แก้]

Alfa Romeo 8C-35 Scuderia Ferrari (1935)
Alfa Romeo RL Targa Florio 1923

ทางด้านวงการรถแข่ง Alfa Romeo มีชื่อเสียงโดยประสบความสำเร็จในการแข่งขันในมากมายหลายๆด้านในวงการ รวมถึง Grand Prix motor racing, Formula One, Sports car racing และ Rally Racing โดยเริ่มต้นประเดิมสนามในปี ค.ศ. 1911 ในนาม A.L.F.A. หลังจากที่ก่อตั้งบริษัทได้เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น และเริ่มประสบความสำเร็จภายในสองปีต่อจากนั้น ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1929 ได้มีทีมแข่งเฉพาะกิจเป็นของตนเองชื่อว่า Alfa Corse และทีมที่ Enzo Ferrari หลังจากสมัยที่เขาทำงาน และเป็นนักแข่งรถให้กับ Alfa Romeo นั่นคือทีมที่มีชื่อว่า Scuderia Ferrari (ทีมแข่งของรถ Ferrari ในปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกัน โดยในยุคแรกๆทีมของ Ferrari นั้นก่อตั้งเพื่อเป็นทีมแข่งโดยใช้รถ Alfa Romeo โดยเฉพาะ โดยในยุคต่อมาหลังจากที่ Ferrari ทำรถยนต์เป็นของตนเอง Alfa Romeo ก็มีทีมงานสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะอีกหนึ่งทีมโดยใช้ชื่อว่า Auto-Delta ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1961 โดย Alfa Romeo นั้นสามารถคว้าชัย World championship for Grand Prix ในปี ค.ศ. 1925 แชมป์รายการ World Championships 5 สมัย แชมป์ 24 Hours Le Mans 4 สมัย และรายการอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่ง Alfa Romeo ได้สร้างชื่อเสียงที่ดีในวงการมอเตอร์สปอร์ตมาตลอด อาจกล่าวได้ว่าไม่มีการแข่งรถประเภทใดในทวีปยุโรปที่ Alfa Romeo ลงแข่งขันแล้วไม่เคยชนะ

Alfa Romeo 179 Formula One car (1980)

ในปี ค.ศ. 2018 Alfa Romeo เป็นหุ้นส่วนทางเทคนิคกับทีม Sauber เข้าร่วมการแข่งขัน Formula One ฤดูกาล 2018 ในฐานะ Alfa Romeo Sauber F1 Team ต่อมาใน ค.ศ. 2019 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อทีมใหม่เป็น Alfa Romeo Racing



รายการแข่งขันสำคัญที่ได้รับชัยชนะ[แก้]

  • 5 World Championships (1925, 1950, 1951, 1975, 1977)
  • 11 Mille Miglia (1928,1929,1930,1932,1933,1934,1935,1936,1937,1938)
  • 10 Targa Florio (1923,1930,1931,1932,1933,1934,1935,1950,1971,1975)
  • 4 24 Hours of Le Mans (1931, 1932, 1933, 1934)
  • 17 European Touring Car Championships
  • 9 Makes Championship
  • 4 Drivers' Championships
  • 10 Italian F3 Championships
  • 10 European F3 Championships
  • 5 European F3 Cups
  • 8 French F3 Championships
  • 3 German F3 Championships
  • 1 Giro d'Italia (1988)
  • 2 Trans-Am championship (1966, 1970)
  • 1 Deutsche Tourenwagen Meisterschaft (DTM) (1993)
  • 2 British Touring Car Championship (BTCC) (1983, 1994)
  • 5 Spanish Touring Car Championship (1988, 1991, 1994, 1995, 1997)
  • 2 French Touring Car Championship (1983, 1984)
  • 6 Italian Superturismo Championship (1988, 1992, 1998, 1999, 2003, 2004)
  • 7 European Historical Gran Turismo Championships
  • 4 European Classic Touring Car Championships
  • 3 Bathurst Unique Fuel Championships


ประเภทสปอร์ตคาร์ส:[แก้]

Alfa Romeo Tipo 33/2 ระหว่างการแข่งขัน 1000-km race ที่ Nürburgring 1967
Alfa Romeo Tipo 33/2 ระหว่างการแข่งขัน 1000-km race ที่ Nürburgring 1967
Nanni Galli ซ้อมกับ 33/3 ที่ Nürburgring 1971.
Nanni Galli ซ้อมกับ 33/3 ที่ Nürburgring 1971.
Andrea de Adamich กับ Alfa Romeo 33TT12 ใน 1974 Nürburgring
Andrea de Adamich กับ Alfa Romeo 33TT12 ใน 1974 Nürburgring

ประเภททัวร์ริ่งคาร์ส:[แก้]

Kwech/Andrey ใน 1966 Trans-Am Championship GTA
Kwech/Andrey ใน 1966 Trans-Am Championship GTA
Alfa Romeo GTV6 ที่สนาม Hockenheimring ปี 1984
Alfa Romeo GTV6 ที่สนาม Hockenheimring ปี 1984
Alfa Romeo 155 V6 Ti DTM ที่ชนะการแข่งขันในฤดูกาล 1993 ของ Nicola Larini ทีม Alfa Corse ในงาน Goodwood Festival Of Speed 2010
Alfa Romeo 155 V6 Ti DTM ที่ชนะการแข่งขันในฤดูกาล 1993 ของ Nicola Larini ทีม Alfa Corse ในงาน Goodwood Festival Of Speed 2010
Alfa Romeo 155 V6 TI DTM รุ่นปี 1996
Alfa Romeo 155 V6 TI DTM รุ่นปี 1996
James Thompson ขับ Alfa Romeo 156 WTCC ปี 2007
James Thompson ขับ Alfa Romeo 156 WTCC ปี 2007

การปรากฏออกทางสื่อต่างๆ[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • Octopussy - James Bond ในยุคของ Roger Moore ได้ขโมยรถ Alfa Romeo GTV6 และขับหลบหนีรถตำรวจ
  • The Graduate - Dustin Hoffman ซึ่งรับบท Ben Braddock ซิ่งรถ Alfa Romeo Spider "Duetto" ในภาพยนตร์เรื่องนี้
  • The Godfather - Michael Corleone รับบทโดย Al Pacino ขับรถ Alfa Romeo 6C 2500 สีดำ ระหว่างการถูกเนรเทศ ในซิซิลี แคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี
  • S1m0ne - ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2002 Viktor Taransky รับบทโดย Al Pacino ให้ Alfa Romeo 2600 Touring Spider กับลูกสาวเป็นของขวัญในวันเครบรอบวันเกิดอายุ 16 ปีของเธอ
  • Ripley's Game - John Malkovich ในบท Tom Ripley ใช้รถ Alfa Romeo 156 Sportwagon สีแดงในภาพยนตร์เรื่องนี้
  • Quantum of Solace - Alfa Romeo 159 Ti สีดำ 3 คัน ปรากฏในฉากเปิดเรื่องของภาพยนตร์ โดยเป็นฝ่ายไล่ล่ารถ Aston Martin DBS ของ James Bond ที่รับบทโดย Daniel Craig และ Alfa Romeo 156 ซึ่งเป็นรถของตำรวจอิตาลี
  • Angels & Demons - ภาพยนตร์สร้างจากนวนิยายของ Dan Brown โดยมี Alfa Romeo 159 เป็นรถตำรวจอิตาลี
  • Fast & Furious 6 - Alfa Romeo Giulietta Quadrifoglio Verde ถูกใช้เป็นรถคันหนึ่งที่ได้รับบทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ ซึ่งขับโดย Brian O'Conner และ Mia Toretto รับบทโดย Paul Walker และ Jordana Brewster
  • Trance - Alfa Romeo 156 ถูกใช้เป็นรถเด่นในภาพยนตร์ โดยมีชื่อเล่นว่า the red car (รถสีแดง)
  • Welcome to the Punch - James McAvoy นักแสดงนำใช้รถ Alfa Romeo 159 สีดำในภาพยนตร์
  • 6 Underground - ภาพยนตร์ของผู้กำกับ Michael Bay แสดงนำโดย Ryan Reynolds ฉายผ่านทาง Netflix ใช้รถ Alfa Romeo Giulia Quadrifoglio สีเขียวในฉากไล่ล่า ขับโดย Dave Franco ในภาพยนตร์

โทรทัศน์[แก้]

Jeremy Clarkson อดีตพิธีกรชื่อดังจากรายการ Top Gear ทางช่อง BBC 2 ได้กล่าวกับรถ Alfa Romeo เอาไว้ว่า "Nobody can call themselves a true petrolhead until they have owned one" (ไม่มีใครสามารถเรียกตัวเองได้ว่าเป็นคนบ้ารถได้อย่างแท้จริง จนกว่าพวกเขาจะได้เป็นเจ้าของมัน) และในเทปที่ทำการทดสอบ Alfa Romeo 8C Competizione ยังกล่าวเอาไว้อีกว่า "If I can liken the whole global car industry to the human body, Toyota is the brain, Aston Martin is the face, Cadillac is the stomach and Alfa Romeo... is the heart and soul" (ถ้าผมสามารถเปรียบอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกเสมือนกับร่างกายมนุษย์, โตโยต้าคือมันสมอง, แอสตัน มาร์ติน คือใบหน้า, คาดิลแลคคือกระเพาะอาหาร และอัลฟ่า โรมิโอ... คือหัวใจและจิตวิญญาณ) ซึ่งความหมายสอดคล้องกับสโลแกนในตอนนั้นของ อัลฟ่า โรมิโอ "Without Heart We Would Be Mere Machines" แปลความหมายซึ่งเป็นประโยคเปรียบเทียบกับรถยนต์อื่นๆได้ว่า "ถ้าเราไม่มีหัวใจ ก็คงเป็นได้แค่เพียงเครื่องจักรเท่านั้น"

วรรณกรรม[แก้]

นวนิยายของ Dan Brown เรื่อง Angels & Demons ในการตีพิมพ์ครั้งแรกนั้น โดยสวิสการ์ดทั้งหมดใช้รถซีดานยื่ห้อ อัลฟ่า โรมิโอ (ในนวนิยายนั้นเรียกว่า ' Alpha Romeos' ตลอดทั้งเล่ม)

รถยนต์[แก้]

รุ่นปัจจุบัน[แก้]

จูเลีย (Giulia) สเตลวิโอ (Stelvio) โตนาเล (Tonale)
Alfa Romeo Giulia (Type 952)

Giulia ตัวแทนของ 159 เปิดตัวต่อสื่อมวลชน ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2015 วันครบรอบ 105 ปีของการก่อตั้งบริษัท ที่พิพิธภัณฑ์ของ อัลฟา โรมิโอ (Museo Storico Alfa Romeo) ในอเรเซ่ เมืองมิลาน โดยเปิดตัวด้วยรุ่น Quadrifoglio เครื่องยนต์ V6 ทำมุม 90 องศา ที่ใช้พื้นฐานของเครื่องยนต์ V8 F154 ของ Ferrari โดยมีขนาดความจุ 2.9 ลิตร ไบ-เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด 505 แรงม้า จากนั้นรุ่นปกติเปิดตัวตามออกมาภายหลัง

Alfa Romeo Stelvio (Type 949)

Stelvio เปิดตัวครั้งแรกในงาน 2016 Los Angeles Auto Show โดยที่ Stelvio เป็นรถ SUV รุ่นแรกของ Alfa Romeo ถูกตั้งชื่อตามถนนบนเทือกเขาแอลป์ที่อิตาลี ที่ชื่อว่า Stelvio pass โดย Stelvio จัดเป็นรถกลุ่มเดียวกันกับ Porsche Macan, Jaguar F-Pace, Audi Q5, Mercedes-Benz GLC-Class และ BMW X3

Alfa Romeo Tonale

Tonale เป็น Subcompact Crossover SUV (C-segment) ที่เปิดตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 และเป็นรถรุ่นใหม่รุ่นแรกที่แบรนด์เปิดตัวในรอบ 6 ปี และยังเป็นรถรุ่นแรกภายใต้แบรนด์ Stellantis

รุ่นที่ผ่านมา[แก้]

6C Gran Sport (1931)
8C 2300 (1931)
2600 Touring Spider (1961)
GT Junior (1965)
Montreal (1970)
GTV6 (1980)
Spider (1992)
156 (1997)
8C Competizione (2008)
Alfa Romeo Autotutto F12 ambulance
รถยนต์ปกติ รถยนต์เพื่อการแข่งขัน
1910

1910-1920 A.L.F.A 24 HP
1910-1911 A.L.F.A 12 HP
1911-1920 A.L.F.A 15 HP
1913-1922 A.L.F.A 40-60 HP

1911 A.L.F.A 15 HP Corsa
1913 A.L.F.A 40-60 HP Corsa
1914 Grand Prix

1920

1921-1922 20-30 HP
1920-1921 G1
1921-1921 G2
1922-1927 RL
1923-1925 RM
1927-1929 6C 1500
1929-1933 6C 1750

1922 RL Super Sport
1923 RL Targa Florio
1923 P1
1924 P2
1928 6C 1500 MMS
1929 6C 1750 Super Sport

1930

1931-1934 8C 2300
1933-1933 6C 1900
1934-1937 6C 2300
1935-1939 8C 2900
1939-1950 6C 2500

1931 Tipo A
1931 8C 2300 Monza
1932 Tipo B (P3)
1935 Bimotore
1935 8C 35
1935 8C 2900A
1936 12C 36
1937 12C 37
1937 6C 2300B Mille Miglia
1937 8C 2900B Mille Miglia
1938 308
1938 312
1938 316
1938 158
1939 6C 2500 Super Sport Corsa

1940


1948 6C 2500 Competizione

1950

1950-1958 1900
1951-1953 Matta
1954-1962 Giulietta
1958-1962 2000
1959-1964 Dauphine

1951 159
1952 6C 3000 CM

1960

1962-1968 2600
1962-1976 Giulia
1963-1967 Giulia TZ
1963-1977 Giulia Sprint
1963-1966 Giulia Sprint Speciale
1965-1967 Gran Sport Quattroruote
1965-1971 GTA
1966-1993 Spider
1967-1969 33 Stradale
1967-1977 1750/2000 Berlina

1960 Giulietta SZ
1963 Giulia TZ
1965 GTA
1965 Tipo 33
1968 33/2
1969 33/3

1970

1970-1977 Montreal
1972-1983 Alfasud
1972-1984 Alfetta
1974-1987 Alfetta GT/GTV
1976-1989 Alfasud Sprint
1977-1985 Giulietta (nuova)
1979-1986 Alfa 6

1972 33/4
1973 33TT12
1976 33SC12
1979 177
1979 179

1980

1983-1994 33
1984-1987 Arna
1984-1987 90
1985-1992 75
1987-1998 164
1989-1993 SZ/RZ

1982 182
1983 183T
1984 184T
1985 185T

1990

1992-1998 155
1994-2000 145
1994-2000 146
1995-2006 GTV/Spider
1997-2005 156/156 GTA
1998-2007 166

1992 155 GTA
1993 155 V6 TI
1993 GTV Cup
1998 156 D2
2002 156 GTA Super 2000
2003 156 Super 2000

2000

2000-2010 147/147 GTA
2007-2009 8C Competizione
2008-2010 8C Spider
2003-2010 GT
2005-2010 Brera
2005-2011 159
2006-2010 Spider
2008–2018 MiTo
2013–2020 4C

2003 147 GTA Cup

2010

2010–2020 Giulietta
2013–2019 4C Coupé
2015–2020 4C Spider

2015 TCR/WTCR/BTCC Giulietta QV

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]