อัตราเร็วเหนือเสียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัตราเร็วเหนือเสียง เป็นการจำกัดความของความเร็วซึ่งมีค่ามากกว่าอัตราเร็วเสียง (1 มัค) ในอากาศแห้งที่อุณหภูมิ 20 °C ค่าเริ่มเปลี่ยนที่ต้องการสำหรับวัตถุที่เดินทางที่อัตราเร็วเสียงอยู่ที่ประมาณ 343 เมตร/วินาที (หรือ 1,236 กิโลเมตร/ชั่วโมง) อัตราเร็วที่สูงกว่า 5 เท่าของอัตราเร็วเสียงมักเรียกว่า ไฮเปอร์โซนิก อัตราเร็วของอากาศบางบริเวณโดยรอบวัตถุ (อย่างเช่นปลายของใบพัดเฮลิคอปเตอร์) ที่ถึงอัตราเร็วเสียงจะถูกเรียกว่า ทรานโซนิก (อยู่ที่อัตราเร็วระหว่าง 0.8-1.2 มัค)[1]

เสียงเคลื่อนที่ด้วยการสั่น (คลื่นความดัน) ในตัวกลางยืดหยุ่น ในตัวกลางสถานะแก๊ส เสียงจะเดินทางตามยาวที่ความเร็วระดับต่างกัน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุลและอุณหภูมิของแก๊ส (โดยที่ความดันมีผลเล็กน้อย) เนื่องจากอุณหภูมิและส่วนประกอบของอากาศมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามระดับความสูง เลขมัคสำหรับอากาศยานจึงสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้โดยที่อัตราเร็วอากาศไม่เปลี่ยนแปลง ในน้ำที่อุณหภูมิห้อง พิจารณาได้ว่าอัตราเร็วเหนือเสียงคืออัตราเร็วที่มีค่าสูงกว่า 1,440 เมตร/วินาที ในของแข็ง คลื่นเสียงสามารถเดินทางตามยาวหรือทแยง และมีอัตราเร็วสูงกว่าการเคลื่อนที่ในน้ำเสียอีก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 254. ISBN 9780850451634.