อะคริสต์มาสแครอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะคริสต์มาสแครอล  
Brown book cover bearing the words "A Christmas Carol by Charles Dickens" in gold.
ปกรุ่นแรก (1843)
ผู้ประพันธ์ชาลส์ ดิกคินส์
ชื่อเรื่องต้นฉบับA Christmas Carol. In Prose. Being a Ghost Story of Christmas.
ผู้วาดภาพประกอบจอห์น ลีช
ประเทศอังกฤษ
พิมพ์19 ธันวาคม ค.ศ.1843
สำนักพิมพ์Chapman & Hall
ข้อความอะคริสต์มาสแครอล ที่ วิกิซอร์ซ
หน้าปกนวนิยายฉบับพิมพ์ครั้งแรก หน้าปกนวนิยายฉบับพิมพ์ครั้งแรก
หน้าปกนวนิยายฉบับพิมพ์ครั้งแรก

อะ คริสต์มาส แครอล (อังกฤษ: A Christmas Carol) นวนิยายของชาลส์ ดิกคินส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1843 [1]

อะ คริสต์มาส แครอล เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชายชื่อ เอเบเนเซอร์ สครูจ (Ebenezer Scrooge) นายธนาคารผู้เลือดเย็นและละโมบ ที่ได้รับการมาเยือนจากวิญญาณของเพื่อนเก่า ที่มาเตือนให้ระวังภูตแห่งเทศกาลคริสต์มาส จำนวน 3 ตน ที่จะมาเยือนตัวเขา คือ "ภูตแห่งคริสต์มาสในอดีต" (Ghost of Christmas Past) เป็นภาพชีวิตของสครูจในอดีตเมื่อเริ่มทำงานใหม่ๆ ยังยากจนอยู่แต่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีความเอื้ออารีต่อผู้คน, "ภูตแห่งคริสต์มาสในปัจจุบัน" (Ghost of Christmas Present) เป็นภาพชีวิตในปัจจุบันของสครูจ ที่เบียดเบียนผู้คนอย่างเลือดเย็น จนเป็นที่หวาดเกรงและเกลียดชังจากคนรอบข้าง และ "ภูตแห่งคริสต์มาสในอนาคต" (Ghost of Christmas Yet to Come) เป็นภาพของสครูจที่นอนตายอย่างเดียวดาย และถูกหัวขโมยเข้ามารุมทึ้งทรัพย์สมบัติ และหลุมฝังศพ

นวนิยายจบลงเมื่อสครูจตื่นขึ้นมาในเช้าวันคริสต์มาส สำนึกตัวได้ว่าชีวิตของเขานั้นขาดความรักและความเห็นอกเห็นใจต่อคนรอบข้าง เขาใช้เวลาที่เหลืออยู่ในวันนั้นไปกับการแบ่งปันให้กับผู้ยากไร้ และกลับไปอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข

ดิคคินส์เริ่มแต่งนวนิยายเรื่องนี้ในเดือนตุลาคม [2] ใช้เวลาในการเขียน 6 สัปดาห์ และตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาส ปี 1843 ในช่วงนั้นอยู่ในช่วงต้นสมัยวิกตอเรีย ที่เริ่มมีการฟื้นฟูเทศกาลคริสต์มาสแบบดั้งเดิม มีการริเริ่มธรรมเนียมต้นคริสต์มาส การส่งของขวัญและบัตรอวยพร [3] นวนิยายได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และถูกนำมาดัดแปลงเป็นละคร ละครเวที และภาพยนตร์หลายครั้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. http://charlesdickenspage.com/carol.html
  2. Slater, Michael (2007), Charles Dickens, Oxford: Oxford University Press, ISBN 978-0-19-192352-8
  3. Standiford, Les (2004), The Man Who Invented Christmas: How Charles Dickens's A Christmas Carol Rescued His Career and Revived Our Holiday Spirits, New York: Crown, ISBN 978-0-307-40578-4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]