ออกตาฮีดรอน (อัลบั้ม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออกตาฮีดรอน
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด23 มิถุนายน ค.ศ. 2009
บันทึกเสียงสิงหาคม ค.ศ. 2008 ที่ 99 ซัทตันสตรีทในบรุกลิน, นิวยอร์ก[1]
แนวเพลงโพรเกรสซีฟร็อก, เอ็กเพอริเมนทอลร็อก
ความยาว50:03
ค่ายเพลงวอร์เนอร์บราเธอร์เรคคอร์ด
เมอร์คิวรี่
โปรดิวเซอร์โอมาร์ โรดริเกซ-โลเปซ
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี
ลำดับอัลบั้มของเดอะมาร์ส โวลตา
The Bedlam in Goliath
(2008)The Bedlam in Goliath2008
ออกตาฮีดรอน
(2009)
ซิงเกิลจากออกตาฮีดรอน
  1. "Cotopaxi"
    จำหน่าย: 15 มิถุนายน ค.ศ. 2009
  2. "Since We've Been Wrong"
    จำหน่าย: 26 มิถุนายน ค.ศ. 2009

ออกตาฮีดรอน (อังกฤษ: Octahedron) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดยาวฉบับเต็มลำดับที่ห้าในแนวโพรเกรสซีฟร็อกสัญชาติอเมริกัน ของวงเดอะมาร์ส โวลตา และได้รับการเปิดตัวในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2009[2][3] อัลบั้มชุดดังกล่าวนี้จัดจำหน่ายโดยวอร์เนอร์บราเธอร์เรคคอร์ด ในอเมริกาเหนือ และเมอร์คิวรี่เรคคอร์ด สำหรับการจำหน่ายทั่วโลก โดยเปิดตัวครั้งแรกติดอยู่ในอันดับที่ 12 บนตารางบิลบอร์ด 200 อัลบั้ม ด้วยยอดจำหน่าย 29,980 ชุดในสัปดาห์แรกของการเปิดตัว[4]

โดยส่วนของการเปิดตัวนี้ เซดริก บิกเลอร์-ซาวาลาซึ่งเป็นนักร้องนำได้กล่าวถึงวงดนตรีนี้ว่า "อยากจะทำการบันทึกผลงานในแบบตรงข้ามกับที่เคยทำมาทั้งหมด ตลอดที่ผ่านมา เราได้รับการเรียกร้องจากผู้คนให้เราสร้างผลงานในแนวป็อปบ้าง และบัดนี้เราก็ได้มีผลงานดังกล่าวออกมาแล้ว"[5]

การพัฒนา[แก้]

โอมาร์ โรดริเกซ-โลเปซได้ร่วมการผลิตออกตาฮีดรอนในช่วงเดียวกันกับการผลิตผลงานชุด เดอะเบดแลม อินโกไลอาห์ (The Bedlam in Goliath) ซึ่งโดยปกติแล้ว โรดริเกซมักจะทำงานในสองหรือสามโครงการไปพร้อมๆกัน และเบดแลมยังอาจถือเป็นเสมือนกับฝันร้ายในการสร้างการบันทึก โรดริเกซไม่สามารถสานต่อโครงการทั้งสองรวมทั้งทุ่มเทความสนใจให้กับเบดแลมได้อีกต่อไป[6]

โรดริเกซได้พิจารณาถึงอัลบั้มถัดไปในช่วงต้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 โดยยังไม่ได้มีการตั้งชื่อ ซึ่งเดือนดังกล่าวเป็นช่วงเดียวกันกับผลงานชุด เดอะเบดแลม อินโกไลอาห์ได้มีการเปิดตัว[7][8] โดยอ้างว่า "ผมได้พิจารณาให้มันเป็นอัลบั้มอคูสติกของพวกเรา" เซดริก บิกเลอร์-ซาวาลายังได้พูดด้วยว่าอัลบั้มชุดนี้เป็นการเล่นแบบ "อคูสติก" และ "เมลโล" และยังได้ระบุไว้ว่า "เรารู้ว่าผู้คนสามารถที่จะเป็นไปตามแนวที่พวกเขาได้คาดคิดไว้ ดังนั้นเมื่อพวกเขาได้ยินถึงอัลบัมชุดใหม่ พวกเขาก็จะบอกว่า 'นี่มันไม่ใช่อัลบั้มแนวอคูสติก มันมีดนตรีระบบไฟฟ้าเล่นตลอดทั้งชุด' แต่มันก็คือเวอร์ชันใหม่ของพวกเรา ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่พวกเราได้ทำไป -- เป็นการฉลองด้วยการฉีกแนว นั่นคือเวอร์ชันของพวกเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราได้พิจารณาถึงอคูสติกอัลบั้ม"[9]

ได้มีการบันทึกเสียงสำหรับอัลบั้มชุดนี้โดยใช้เวลาสามสัปดาห์ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 ในบรุกลิน, นครนิวยอร์ก ก่อนที่จะทำการบันทึก โอมาร์ โรดริเกซ-โลเปซ ได้ขอร้องให้ เอเดรียน เทอราซัส-กอนซาเลซซึ่งเป็นนักเป่าแซ็กโซโฟน และพอล ฮีโนโจส์ซึ่งเป็นกีต้าร์จังหวะและผู้จัดทำเสียงได้แยกออกจากวง โดยเว็บทางการของเดอะมาร์ส โวลต้า ได้กล่าวว่า "ทั้งสองยินยอมออกจากวงด้วยดี"[10] สำหรับการออกไปของพวกเขา มาร์เซล โรดริเกซ-โลเปซซึ่งเป็นผู้เล่นดนตรีเคาะจังหวะ กล่าวว่า "มันเหมือนกับเราได้วงดนตรีใหม่ทั้งหมด จากการที่สมาชิกสองรายได้หายไป เราจึงได้เล่นในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม"[11]

โรดริเกซกล่าวถึงความเชื่อของเขาว่า ออกตาฮีดรอน จะเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายตามแนวของเขาที่เรียกว่า "gun-in-your-face mentality" ซึ่งเขาจะให้นักดนตรีในส่วนต่างๆได้รับรู้ว่าไม่มีเพลงใดพวกเขาทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมไปกว่านี้อีกแล้ว[6]

ธีม[แก้]

เช่นเดียวกับอัลบั้มชุดที่สามของสตูดโอที่มีชื่อว่า แอมพิวเทคเจอร์ ที่อัลบั้มไม่ได้บรรยายรวมเรื่องเพียงครั้งเดียว เซดริก บิกเลอร์-ซาวาลา ผู้เป็นนักร้องได้ระบุถึงอัลบั้มดังกล่าวว่าไม่ได้เป็นคอนเซ็ปต์ของอัลบั้มอย่างแท้จริง "ฉันคิดว่ามันเป็นไปได้ แต่ก็ไม่เคยเขียนครอบคลุมถึงสิ่งที่เจาะจงโดยรอบ หากแต่เพียงเขียนบทเพลงขึ้นมาอย่างเร่งด่วน

แทร็คลิสท์[แก้]

ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Since We've Been Wrong"7:22
2."Teflon"5:06
3."Halo of Nembutals"5:32
4."With Twilight as My Guide"7:54
5."Cotopaxi"3:40
6."Desperate Graves"4:58
7."Copernicus"7:24
8."Luciforms"8:22
iTunes พรี-ออร์เดอร์ โบนัสแทร็ค
ลำดับชื่อเพลงยาว
9."Cotopaxi" (แสดงสด)3:26

อันดับความนิยมบนตาราง[แก้]

ชาร์ต (ค.ศ. 2009) อันดับ
สูงสุด
บิลบอร์ด 200[4] 12
นอร์เวเจียน อัลบั้มชาร์ต[12] 20
ฟินนิช อัลบั้มชาร์ต[13] 27
สวีดิช อัลบั้มชาร์ต 51
UK อัลบั้มชาร์ต[14] 64

อ้างอิง[แก้]

  1. Page 7 of the album's booklet
  2. "The Mars Volta to release new album, Octahedron in June, side-project album in May: Cryptomnesia News @ onethirtybpm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.
  3. "Octahedron news @ pitchfork.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-17. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.
  4. 4.0 4.1 July 2009 archives @ keelyskorner.com
  5. Blood-Royale, Frederick. Artist 'n' Artist: Frederick Blood-Royale meets The Mars Volta เก็บถาวร 2012-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน drownedinsound.com. 2009-06-08. Retrieved on 2009-07-02.
  6. 6.0 6.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 2010-10-22.
  7. New Mars Volta album in July: News @ abc.net.au
  8. New Mars Volta album in June: News @ stereokill.net
  9. Mars Volta on New Album: "It's Mellow": News @ spin.com
  10. The Mars Volta Biography เก็บถาวร 2010-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน themarsvolta.com. 2009. Retrieved on 2009-07-02.
  11. Lentz, Andrew.All In The Mars Volta Familia drummagazine.com. September 2009. Retrieved on 2010-02-06.
  12. VG Lista lista.vg.no. 2009-07. Retrieved on 2009-07-07. (Norwegian)
  13. Suomen virallinen lista (Finnish)
  14. Top 100 Albums Chart :: Chart Week Ending Date 04/07/09 theofficialcharts.com. 2009. Retrieved on 2009-07-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]