อวัจนภาษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายจราจรเป็น
อวัจนภาษาที่ใช้เป็นสากล

อวัจนภาษา (อังกฤษ: nonverbal communication, NVC) หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ การพูด การอ่านตามตัวหนังสือ และการเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค ตัวอย่างเช่น ป้ายจราจร ภาษามือ สัญรูปอารมณ์ เป็นต้น

จุดประสงค์ในการใช้อวัจนภาษา[แก้]

  1. เพื่อประกอบการสนทนาให้มีอรรถรสยิ่งขึ้น เช่นการทุบกำปั้นลงบนฝ่ามือ แสดงถึงความสำคัญ หนักแน่น
  2. เป็นสัญลักษณ์สากลให้ง่ายต่อการเข้าใจ เช่นการใช้นิ้วชี้วางบนริมฝีปาก แสดงถึงความเงียบ
  3. ใช้ประกอบท่าทาง เป็นมารยาท หรือแสดงความเคารพ เช่นการไหว้ การแตะขอบแก้วเพื่อแสดงความขอบคุณ
  4. ใช้สำหรับผู้พิการ เช่นภาษามือ
  5. ใช้แทนการสื่อสารในยามที่วัจนภาษาใช้ไม่สะดวก เช่น การสื่อสารของทหารที่ต้องเงียบเสียง

ประเภทของอวัจนภาษา[แก้]

  1. สัญลักษณ์ การใช้สัญลักษณ์ (ที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ) ในการสื่อสาร เช่น ป้ายจราจร สัญรูปอารมณ์
  2. อาการภาษา การใช้ท่าทางในการสื่อสาร เช่น การยิ้ม ยักคิ้ว ภาษามือ
  3. ปริภาษา การใช้เสียง (ที่ไม่ใช่คำพูด) ในการสื่อสาร เช่น ไซเรน แตรรถ

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]