อวตาร (ภาพยนตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อวตาร
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับเจมส์ แคเมรอน
เขียนบทเจมส์ แคเมรอน
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพเมาโร ฟิโอเร
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบเจมส์ ฮอร์เนอร์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์[2]
วันฉาย10 ธันวาคม ค.ศ. 2009 (2009-12-10)(ลอนดอน)
17 ธันวาคม ค.ศ. 2009 (2009-12-17)(ไทย)
18 ธันวาคม ค.ศ. 2009 (2009-12-18)(สหรัฐ)
ความยาว162 นาที[3]
ประเทศ
  • สหรัฐ[2]
  • สหราชอาณาจักร[2]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
มากกว่า 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ฉายใหม่)[5]
ทำเงิน2.923 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
ต่อจากนี้อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ (2022)

อวตาร (/อะวะตาน/[a]; อังกฤษ: Avatar) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ จินตนิมิต บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2009[7][8] กำกับ, เขียนบท, อำนวยการสร้างและร่วมตัดต่อโดย เจมส์ แคเมรอน แสดงนำโดย แซม เวิร์ธธิงตัน และโซอี ซัลดานา เป็นตัวละครหลัก ร่วมด้วย สตีเฟน แลง, จิโอวานนี ริบิซี, มิเชลล์ ราดรีเกซ[9] และซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ เป็นบทบาทสมทบ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในแฟรนไชส์ อวตาร ของแคเมรอน ภาพยนตร์มีฉากหลังเป็นช่วงกลางศตวรรษที่ 22 เมื่อมนุษย์กำลังล่าอาณานิคมดาวแพนดอรา ดาวบริวารที่อุดมสมบูรณ์และสามารถอาศัยอยู่ได้ของดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ในระบบดาวแอลฟาคนครึ่งม้า เพื่อทำการขุดแร่ อันออบเทเนียม (Unobtainium)[10][11] แร่ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิห้อง[12] การขยายตัวของอาณานิคมเหมืองแร่คุกคามการดำรงชีพของ นาวี (Na'vi) เผ่าพันธุ์คล้ายมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนดาวแพนดอราอย่างต่อเนื่อง ชื่อเรื่องของภาพยนตร์ยังอ้างถึง การนำร่างกายของนาวี ที่ดัดแปลงพันธุกรรมแล้วถูกควบคุมจากสมองของมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลซึ่งใช้ในการโต้ตอบกับชาวพื้นเมืองของแพนดอรา[13]

การพัฒนาของ อวตาร เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 เมื่อแคเมรอนเขียนโครงร่าง 80 หน้า[14][15] การถ่ายทำควรจะเกิดขึ้นหลังจากถ่ายทำภาพยนตร์ ไททานิค ของแคเมรอนเมื่อปี ค.ศ. 1997 เสร็จและวางแผนที่จะฉายในปี ค.ศ. 1999[16] แต่แคเมรอนกล่าวว่ายังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของเขาต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ได้[17] งานเกี่ยวกับภาษาของชาวนาวีของภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2005 และแคเมรอนเริ่มพัฒนาบทและจักรวาลสมมติของภาพยนตร์เมื่อต้นปี ค.ศ. 2006[18][19] อวตาร ถูกตั้งงบประมาณอย่างทางการไว้ที่ 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] การประมาณการจากสื่ออื่น ประมาณการไว้ระหว่าง 280–310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และที่ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการประชาสัมพันธ์[20][21][22] ภาพยนตร์ใช้เทคนิคการถ่ายทำแบบจับการเคลื่อนไหวเกือบทั้งเรื่อง ภาพยนตร์ฉายในรูปแบบปกติ, สามมิติ (ในรูปแบบ RealD 3D, Dolby 3D, XpanD 3D และ ไอแมกซ์สามมิติ) และสี่มิติในโรงภาพยนตร์บางแห่งในเกาหลีใต้[23] การถ่ายทำภาพยนตร์สามมิติได้รับการขนานนามว่าเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของภาพยนตร์[24]

อวตาร ฉายครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2009 และที่สหรัฐเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก โดยนักวิจารณ์ชื่นชมเทคนิคพิเศษที่ก้าวล้ำ[25][26][27] ระหว่างฉายอยู่นั้น ภาพยนตร์ได้ทำลายสถิติในบ็อกซ์ออฟฟิศมากมายและกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดทั่วโลก เช่นเดียวกับในสหรัฐและแคนาดา[28] แซง ไททานิค (ค.ศ. 1997) ของแคเมรอนซึ่งครองสถิติมาเป็นเวลาสิบสองปี[29] อวตาร เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเกือบสิบปี ก่อนจะถูกแซงโดย อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก เมื่อปี ค.ศ. 2019 และในช่วงการฉายใหม่ในประเทศจีน อวตาร กลับมาครองตำแหน่งเดิมอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021[30] อวตาร เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[31] และเป็นภาพยนตร์ที่ขายดีที่สุดในสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 2010 อวตาร ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[32]และชนะเลิศในสาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, สาขากำกับภาพยอดเยี่ยม และสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม รวมถึงชนะเลิศในรางวัลอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

หลังจากภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ แคเมรอนเซ็นสัญญากับทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ เพื่อสร้างภาคต่ออีกสี่เรื่อง โดย อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นและทำลายสถิติจากการฉายมากมาย โดยทำรายได้ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในอันดับที่ 1 ของปี 2022 เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับที่ 3 และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ถึงหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐไวเป็นอันดับ 6 ตลอดกาลด้วยเวลาเพียง 14 วัน แทนที่ภาพยนตร์ภาคแรกที่ใช้เวลา 19 วัน เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 เป็นอันดับ 4 (ตามหลัง สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม, ท็อปกัน: มาเวอริค และ จูราสสิค เวิลด์ ทวงคืนอาณาจักร) เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นอันดับที่ 6 ของโลก เป็นเรื่องที่สองที่ทำเงินถึงภายในเวลาไม่ถึง 40 วัน และ อวตาร 3 ได้ถ่ายทำเสร็จแล้ว มีกำหนดฉายในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2022 และ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ตามลำดับ ภาคต่อที่เหลือมีกำหนดฉายในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2026 และ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2028[33][34][35] นักแสดงหลายคนกลับมารับบทเดิม ได้แก่ เวิร์ธธิงตัน, ซัลดานา, แลง, ริบิชี และวีเวอร์[36][37]

โครงเรื่อง[แก้]

ในปี ค.ศ. 2154 มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไปจนหมดสิ้น นำไปสู่วิกฤตพลังงานที่รุนแรง หน่วยงานบริหารการพัฒนาทรัพยากร (Resources Development Administration) หรือ RDA ได้สร้างเหมืองแร่บนดาวแพนดอรา ดาวบริวารที่อาศัยอยู่ได้ที่มีป่าไม้หนาแน่น โคจรรอบดาวโพลีพลีมัส ดาวแก๊สยักษ์สมมติในระบบดาวแอลฟาคนครึ่งม้า เพื่อขุดแร่ที่มีค่าชื่อว่า อันออบเทเนียม[11] บรรยากาศของดาวแพนดอรานั้นเป็นพิษต่อมนุษย์ มีเผ่าพันธุ์ที่คล้ายมนุษย์อาศัยอยู่ เรียกว่า ชาวนาวี มีลักษณะสูง 10 ฟุต (3 เมตร) และมีผิวเป็นสีฟ้า[38] อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติและเคารพบูชาพระแม่เอวา

เพื่อสำรวจบรรยากาศของดาวแพนดอรา นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ร่างกายของนาวีมาตัดต่อพันธุกรรมร่วมกับมนุษย์ จนสามารถควบคุมร่างกายของนาวีได้โดยการใช้พันธุกรรมที่ตรงกับมนุษย์ เรียกว่า "อวตาร" เจค ซัลลี อดีตนาวิกโยธินซึ่งเป็นโรคอัมพาตขา มาควบคุมร่างกายของนาวีแทนพี่ชายฝาแฝดของเขาที่เสียชีวิต ดร. เกรซ ออกัสติน หัวหน้าโครงการอวตาร ไม่เห็นด้วยกับการที่ซัลลีมาแทนพี่ชายของเขา แต่ก็ยอมมอบหมายให้เขาเป็นผู้คุ้มกัน ขณะที่กำลังพาอวตารของเกรซและดร. นอร์ม สเปลแมน เพื่อนนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง อวตารของเจคถูกโจมตีโดย ธานาเทอร์ เจคหนีเข้าไปในป่าและได้รับการช่วยเหลือจาก เนย์ทีรี เจ้าหญิงแห่งเผ่านาวี เธอได้พาเจคไปที่ชุมชนของชาวนาวี โมแอต แม่ของเนย์ทีรี ผู้นำจิตวิญญาณของนาวี สั่งให้ลูกสาวของเธอสอนวิถีชีวิตของชาวนาวีให้แก่เจค

พันเอก ไมลส์ ควอริทช์ หัวหน้ากองกำลังรักษาความปลอดภัยส่วนตัวของ RDA ได้สัญญากับเจคว่าจะช่วยรักษาขาของเขา ถ้าหากเขารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาวนาวีและสถานที่ชุมนุมที่เรียกว่า โฮมทรี[39] ซึ่งตั้งอยู่เหนือพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่อันออบเทเนียมที่มากที่สุด เมื่อเกรซรู้เรื่องนี้ เธอจึงย้ายตัวเอง เจค และนอร์มไปยังด่านหน้า ตลอดสามเดือนที่ผ่านมา เจคและเนย์ทีรี ต่างตกหลุมรักกัน ขณะที่เจคก็เริ่มมีความเห็นอกเห็นใจกับชาวพื้นเมืองแพนดอรา หลังจากเจคได้รับการยอมรับให้เข้าสู่เผ่านาวีแล้ว เขากับเนย์ทีรี ต่างเลือกที่จะเป็นคู่รักต่อกัน หลังจากนั้นไม่นาน เจคเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความจงรักภักดีของเขา เมื่อเขาพยายามปิดการใช้งานของรถปราบดิน ที่ขู่จะทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวนาวี เมื่อควอริทช์แสดงวิดีโอหลักฐานที่เจคกำลังทำลายรถปราบดินแก่ ปาร์คเกอร์ เซลฟริดจ์ ผู้ดูแลของ RDA หัวหน้าของเขาที่มองด้วยความหวาดกลัวและได้รับการกระตุ้นจากควอริทช์[40] และเมื่อเจคยอมรับว่าชาวนาวีจะไม่ย้ายออกจากโฮมทรี เซลฟริดจ์จึงสั่งให้ทำลายโฮมทรีทิ้งเสีย

ถึงแม้ว่าเกรซจะโต้แย้งว่าการทำลายโฮมทรีอาจทำความเสียหายแก่โครงข่ายประสาทชีวภาพของดาวแพนดอรา เซลฟริดจ์ให้เวลาเจคกับเกรซหนึ่งชั่วโมงเพื่อโน้มน้าวชาวนาวีให้อพยพออกจากโฮมทรีก่อนที่จะเริ่มการโจมตี เจคสารภาพกับชาวนาวีว่าเขาเป็นสายลับ ทำให้เขากับเกรซถูกจับตัวไว้ คนของควอริทช์ได้ทำการทำลายโฮมทรี ทำให้พ่อของเนย์ทีรี เอย์ตูคาน (หัวหน้าเผ่า) และชาวนาวีหลายคนต้องเสียชีวิต โมแอตปล่อยเจคกับเกรซเป็นอิสระ แต่พวกเขาถูกบังคบให้ถอดออกจากร่างอวตารและถูกขังโดยกองกำลังของควอริทช์ นักบิน ทรูดี ชาร์คอน ไม่พอใจความโหดเหี้ยมของควอริทช์ จึงได้ปล่อยเจค, เกรซ และนอร์ม และขับเครื่องบินไปส่งทั้งสามคนที่ด่านหน้าของเกรซ แต่ระหว่างหลบหนีนั้นเกรซถูกยิงโดยควอริทช์

เจคเชื่อมต่อกับโทรุก สัตว์นักล่าคล้ายมังกรซึ่งเป็นที่เกรงกลัวและเคารพของชาวนาวี เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจของชาวนาวีอีกครั้ง เจคพบชาวนาวีที่ลี้ภัยมาอยู่ที่ต้นไม้แห่งวิญญาณ และขอร้องให้โมแอตช่วยรักษาเกรซ ชาวนาวีพยายามช่วยเหลือโดยการย้ายเกรซจากร่างมนุษย์ไปยังร่างอวตารผ่านต้นไม้แห่งวิญญาณ แต่เธอเสียชีวิตก่อนที่กระบวนการจะเสร็จสมบูรณ์ เจครวมเผ่านาวีให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จากการสนับสนุนของ ทซูเทย์ หัวหน้าเผ่าคนใหม่ และบอกให้พวกเขารวบรวมเผ่าอื่น ๆ เพื่อมาร่วมต่อสู้ RDA ควอริทช์วางแผนโจมตีล่วงหน้าต่อต้นไม้แห่งวิญญาณ เชื่อว่าการทำลายล้างของมันจะทำลายล้างชาวพื้นเมือง ในวันก่อนสู้รบ เจคได้ขอร้องต่อเอวา ผ่านการเชื่อมต่อประสาทกับต้นไม้แห่งวิญญาณ เพื่อให้ช่วยเหลือชาวนาวี ในขณะที่ปาร์คเกอร์ได้ถ่ายโอนความทรงจำและดีเอ็นเอผสมให้กับควอริทช์ และเกิดแตกคอกันหลังปาร์คเกอร์พยายามห้ามไม่ให้ควอริทช์นำกองทัพและอาวุธไปถล่มชาวนาวี จนโดนควอริทช์ข่มขู่และต้องยอมยินยอมให้ควอริทช์ไปโดยไม่สามารถควบคุมอะไรได้

ในระหว่างสงครามนั้น ชาวนาวีได้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงทซูเทย์และทรูดี แต่แล้วสัตว์ป่าในแพนดอราได้เข้ารวมสงครามและเข้ามาช่วยเหลือชาวนาวีอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งเนย์ทีรีตีความว่าเอวาได้ตอบรับคำขอของเจค เจคได้ทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดก่อนจะถึงต้นไม้แห่งวิญญาณ ควอริทช์สวมชุดกลเสริมการเคลื่อนไหว (Amplified Mobility Platform) หรือ AMP หนีออกจากเครื่องบินลำดังกล่าวและพยายามทำลายเครื่องเชื่อมโยงอวตารที่มีร่างมนุษย์ของเจค เพื่อให้สัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นพิษของแพนดอรา ควอริทช์เตรียมที่จะสังหารร่างอวตารของเจค แต่เนย์ทีรีได้เข้ามาขัดขวางควอริทช์และช่วยชีวิตเจคจากการขาดอากาศหายใจ และเมื่อเธอได้เห็นร่างมนุษย์ของเจคครั้งแรก เธอก็ละทิ้งอคติเกี่ยวกับมนุษย์และยอมรับเจคเป็นสามี

หลังจากนั้น RDA ทุกคนถูกชาวนาวียกทัพโจมตี เซลฟริดจ์ยอมแพ้แต่โดยดี เจค, ดร.นอร์ม และมนุษย์บางคนได้รับเลือกให้อยู่ต่อ ส่วนมนุษย์ที่เหลือถูกขับไล่ออกจากดาวแพนดอราและส่งกลับไปยังโลก โดยเซลฟริดจ์ได้เตือนเจคว่ามนุษย์จะไม่รามือจากดาวดวงนี้ง่าย ๆ ก่อนจะขึ้นยานอวกาศกลับโลก เจคได้ย้ายตัวตนจากร่างมนุษย์ไปร่างอวตารผ่านต้นไม้แห่งวิญญาณ อวตารเป็นนาวีอย่างสมบูรณ์

นักแสดง[แก้]

แซม เวิร์ธธิงตัน (ซ้าย; ภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 2013) ผู้แสดงเป็น เจค ซัลลี และ โซอี ซัลดานา (ขวา; ภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 2013) ผู้แสดงเป็น เนย์ทีรี เป็นนักแสดงนำในภาพยนตร์

ชาวมนุษย์[แก้]

  • แซม เวิร์ธธิงตัน รับบทเป็น สิบโท เจค ซัลลี (Corporal Jake Sully), อดีตนาวิกโยธินพิการ กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอวตารแทนพี่ชายฝาแฝดของเขาที่เสียชีวิต ภูมิหลังทางทหารของเขาช่วยนักรบชาวนาวีเชื่อมสัมพันธ์กับเขา แคเมรอนคัดเลือกนักแสดงชาวออสเตรเลียหลังจากการค้นหาทั่วโลกเพื่อหานักแสดงอายุน้อยที่ดูมีอนาคตและเลือกนักแสดงที่ไม่เป็นที่รู้จักเพื่อลดทุนสร้าง[41] เวิร์ธธิงตัน ซึ่งในเวลานั้นอาศัยอยู่รถของเขา[42] ผ่านการออดิชันสองครั้งช่วงเริ่มต้นการพัฒนา[43]และเขาได้เซ็นสัญญาสำหรับภาคต่อถ้ามีการสร้าง[44] แคเมรอนรู้สึกว่าเพราะเวิร์ธธิงตันยังไม่เคยเล่นภาพยนตร์ใหญ่ ๆ มาก่อน ทำให้เขาสามารถทำให้ตัวละคร "มีลักษณะเป็นคนจริง ๆ" แคเมรอนยังพูดว่าเขา "มีลักษณะเป็นผู้ชายที่คุณต้องการดื่มเบียร์ด้วยและในที่สุดเขาก็กลายเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงโลก"[45]
    • แซม เวิร์ธธิงตัน ยังรับบทเป็น ดร. ทอม "ทอมมี" ซัลลี (Dr. Tom "Tommy" Sully), พี่ชายฝาแฝดนักวิทยาศาสตร์ที่เสียชีวิตแล้วของเขา
  • สตีเฟน แลง รับบทเป็น พันเอก ไมลส์ ควอริทช์ (Colonel Miles Quaritch), หัวหน้ารักษาความปลอดภัยของเหมืองแร่ เขาไม่มีความใส่ใจอย่างลึกซึ้งต่อผู้อยู่อาศัยของดาวแพนดอรา นอกจากปาร์คเกอร์ ผู้เป็นหัวหน้าผู้สั่งการงานยึดครองแพนดอรา โดยเห็นได้ชัดจากการกระทำและการพูดของเขา เขาเพิกเฉยต่อชีวิตใด ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์ แลงไม่ผ่านการคัดเลือกบทบาทในภาพยนตร์ เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก (1986) ของแคเมรอน แต่แคเมรอนจำเขาได้ แคเมรอนจึงไปหาเขาเพื่อให้เขาแสดงใน อวตาร[46] ไมเคิล บีห์น ผู้ที่เคยร่วมงานกับแคเมรอนใน เอเลี่ยน 2 ฝูงมฤตยูนอกโลก, ฅนเหล็ก 2029 (1984) และ ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 (1991) ได้รับการพิจารณาสำหรับบทบาทอยู่ช่วงหนึ่ง เขาได้อ่านบทและดูภาพบางส่วนที่เป็นสามมิติร่วมกับแคเมรอน[47] แต่สุดท้ายแล้วเขาไม่ได้รับคัดเลือกให้แสดง
  • จิโอวานนี ริบิซี รับบทเป็น ปาร์คเกอร์ เซลฟริดจ์ (Parker Selfridge), ผู้บริหารดูแลการทำเหมืองแร่ขององค์กร RDA[48] ในขณะที่เขาเป็นคนแรกที่เต็มใจจะทำลายอารยธรรมนาวีเพื่อรักษาผลลัพธ์ทางการเงินของบริษัท เขาก็ยังลังเลที่จะอนุญาตการโจมตีต่อชาวนาวีที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของเขามัวหมอง แต่หลังจากการตายโดยคนของ RDA และควอริทช์ มือขวาคนสนิทและผู้ใต้บังคับบัญชาโน้มน้าวให้เขารู้ว่ามันจำเป็นและการโจมตีจะมีมนุษยธรรม เขาจึงตัดสินใจอนุญาตการโจมตีและทำให้ต้นไม้แห่งวิญญาณล้ม ขณะที่ภาพการโจมตีนั้นเผยแพร่มายังฐาน เซลฟริดจ์รู้สึกไม่สบายใจต่อความรุนแรงและหวาดกลัวในตัวควอริทช์ และพยายามจะยับยั้งควอริทช์เท่าที่จะทำได้
  • ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ รับบทเป็น ดร. เกรซ ออกัสติน (Dr. Grace Augustine), นักชีววิทยาอวกาศและหัวหน้าโครงการอวตาร เธอยังเป็นผู้ชื้แนะของเจคและผู้สนับสนุนสันติไมตรีต่อชาวนาวี ด้วยการสร้างโรงเรียนเพื่อภาษาอังกฤษให้แก่พวกเขา[49]
    • ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ ยังรับบทเป็นร่างนาวีอวตารของ ดร. เกรซ ออกัสติน
  • มิเชลล์ ราดรีเกซ รับบทเป็น ทรูดี ชาร์คอน (Trudy Chacón), นักบินที่ได้รับมอบหมายให้มาช่วยเหลือในโครงการอวตาร เป็นผู้เห็นอกเห็นใจต่อชาวนาวี แคเมรอนต้องการที่จะทำงานร่วมกับราดรีเกซตั้งแต่เห็นเธอในภาพยนตร์ เกิรล์ไฟท์ (2011)[46]
  • โจเอล เดวิด มัวร์ รับบทเป็น ดร. นอร์ม สเปลแมน (Dr. Norm Spellman), นักมานุษยวิทยาต่างดาว[50] ผู้ศึกษาพืชและชีวิตสัตว์เป็นส่วนหนึ่งโครงการอวตาร[51] เขาเดินทางมาถึงดาวแพนดอราในช่วงเวลาเดียวกับซัลลีและเป็นคนควบคุมร่างอวตาร แม้ว่าเขาจะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำการติดต่อทางการทูตกับชาวนาวี แต่ปรากฏว่าเจคมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกว่าที่จะได้รับความเคารพของชาวพื้นเมือง
  • ไดลีป เรา รับบทเป็น ดร. แมกซ์ พาเทล (Dr. Max Patel), นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานในโครงการอวตารและช่วยเหลือการก่อกบฏของเจคต่อ RDA[52]
  • แมตต์ เจอรัลด์ รับบทเป็น จ่าสิบโท ไลล์ เวนฟลีท (Corporal Lyle Wainfleet), ทหารรับจ้างผู้ทำงานให้กับ RDA ในฐานะมือขวาคนสนิทของควอริทช์

ชาวนาวี[แก้]

โซอี ซัลดานา แสดงเป็นตัวละครนาวี เนย์ทีรี ผ่านการจับการเคลื่อนไหว โดยในด้านภาพถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เรียกว่า "โมชั่นแคปเจอร์" (motion-capture)
  • โซอี ซัลดานา รับบทเป็น เนย์ทีรี (Neytiri te Tskaha Mo'at'ite), ลูกสาวของหัวหน้าเผ่าโอมาติกายา (เผ่านาวีที่เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่องภายในป่า) เธอหลงเสน่ห์ของเจคเพราะความกล้าหาญของเขา แม้ว่าเธอจะหงุดหงิดในความไร้เดียงสาและโง่เขลาของเขาก็ตาม ภายหลังเธอก็กลายเป็นคนรักและภรรยาของเจค[53] ตัวละครถูกสร้างโดยการจับการเคลื่อนไหวของนักแสดงและในด้านภาพถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่นเดียวกับตัวละครชาวนาวีทุกคน[54] ซัลดานายังได้เซ็นสัญญาสำหรับภาคต่อในอนาคต[55]
  • ซีซีเอช พาวเดอร์ รับบทเป็น โมแอต (Mo'at), ผู้นำจิตวิญญาณของเผ่าโอมาติกายา แม่ของเนย์ทีรี และภรรยาของหัวหน้าเผ่า เอย์ตูคาน[56]
  • เวส สตูดี รับบทเป็น เอย์ตูคาน (Eytukan te Tskaha Kamun'itan), หัวหน้าเผ่าโอมาติกายา พ่อของเนย์ทีรีและสามีของโมแอต
  • ลาซ อลอนโซ รับบทเป็น ทซูเทย์ (Tsu'tey), นักรบที่เก่งกาจของเผ่าโอมาติกายา เขาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่า ในตอนแรกนั้น เขาเป็นคู่หมั้นของเนย์ทีรี

งานสร้าง[แก้]

จุดกำเนิด[แก้]

ผู้กำกับ, เขียนบท และอำนวยการสร้าง เจมส์ แคเมรอน ที่ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009

เมื่อปี ค.ศ. 1994[15] ผู้กำกับ เจมส์ แคเมรอน เขียนโครงร่างของ อวตาร จำนวน 80 หน้า โดยได้รับแรงบัลดาลใจจาก หนังสือบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ทุกเล่ม ที่เขาเคยอ่านในวัยเด็กและนวนิยายผจญภัยโดย เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์ส และ เอช. ไรเดอร์ แฮกเกริด[14] เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1996 หลังแคเมรอนถ่ายทำ ไททานิค เสร็จ เขาประกาศว่าจะถ่ายทำ อวตาร โดยจะใช้ประโยชน์จากนักแสดงที่มาจากการสังเคราะห์หรือใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์[17] โครงการจะมีมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีนักแสดงอย่างน้อยหกคนในบทบาทนักแสดงนำ ที่ดูเหมือนจะมีจริง แต่ไม่มีอยู่จริงในโลกทางกายภาพ[57] ดิจิตอล โดเมน บริษัทสร้างเทคนิคพิเศษซึ่งแคเมรอนเป็นหุ้นส่วนได้เข้าร่วมโครงการนี้ งานสร้างควรจะเริ่มต้นช่วงกลางปี ค.ศ. 1997 และกำหนดฉาย ค.ศ. 1999[16] อย่างไรก็ตามแคเมรอนรู้สึกว่าเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับเรื่องราวและวิสัยทัศน์ที่เขาตั้งใจจะเล่า เขาตัดสินใจที่จะให้ความสนใจกับการทำสารคดีและปรับแต่งเทคโนโลยีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มีการเปิดเผยใน บูมเบิร์กบีสนิสวีก ว่า ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ได้ให้เงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่แคเมรอนให้ถ่ายทำวิดีโอสั้นเป็นหลักฐานแนวคิดของ อวตาร ซึ่งเขาได้ฉายให้ผู้บริหารของฟอกซ์ดูเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005[58]

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 แคเมรอนเปิดเผยว่า Project 880 คือ "เวอร์ชันก่อนที่จะเป็น อวตาร" ภาพยนตร์ที่เขาพยายามจะสร้างเมื่อหลายปีก่อน[59] อ้างถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการสร้างตัวละครที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เช่น กอลลัม, คิงคอง และ เดวี โจนส์[14] แคเมรอนเลือก อวตาร เหนือโครงการ อลิตา แบทเทิล แองเจิ้ล ของเขา หลังจากทดสอบกล้องเป็นเวลาห้าวันเมื่อปีก่อน[60]

จากบทสัมภาษณ์ของนักแสดงชาวอินเดีย โควินทา เปิดเผยว่า เจมส์ แคเมรอน ได้ติดต่อเขาเพื่อยื่นข้อเสนอให้เขาสวมบทบาทเป็น เจค ซัลลี ซึ่งเขาปฏิเสธโดยไม่เห็นด้วยกับการใช้สีทาร่างกายเช่นเดียวกับแผนการถ่ายทำที่มีระยะเวลายาวนาน[61] เขาอ้างว่าชื่อของภาพยนตร์เรื่องนี้แนะนำโดยเขาให้กับแคเมรอนหลังจากมั่นใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะประสบความสำเร็จมาก สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้หลายคนล้อเลียนเขาในสื่อสังคม[62][63] ในการให้สัมภาษณ์ของเขาในภายหลังเรียกปฏิกิริยาของผู้ใช้สื่อสังคมว่าเป็น 'พฤติกรรมที่มีอคติ'[64][65]

การพัฒนา[แก้]

แคเมรอนเริ่มเขียนบทและพัฒนาวัฒนธรรมของนาวี สิ่งมีชีวิตนอกโลกในภาพยนตร์ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ค.ศ. 2006 โดยภาษานาวีนั้นถูกสร้างโดน ดร. พอล ฟรอมเมอร์ นักภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย[14] โดยภาษานาวีนั้นมีพจนานุกรมคำศัพท์ประมาณ 1000 คำ เพิ่มโดยแคเมรอนอีก 30 คำ หน่วยเสียงของลิ้นประกอบด้วย พยัญชนะเสียงกักเส้นเสียงลมออก (เช่น "kx" ใน "skxawng") พบในภาษาอัมฮาริคในเอธิโอเปีย, และคำที่ขึ้นต้นด้วย "ng" คาดว่าแคเมรอนนำมาจากภาษามาวรีของนิวซีแลนด์[19] นักแสดงหญิง ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ และนักออกแบบฉาก ได้พบกับ จอดี เอส. ฮอล์ต ศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยาของพืชที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ริเวอร์ไซด์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการที่นักพฤกษศาสตร์ใช้ในการศึกษาและเก็บตัวอย่างพืชและหารือเกี่ยวกับวิธีการอธิบายการสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตของแพนดอราที่ปรากฏในภาพยนตร์[66]

แคเมรอนทำงานร่วมกับนักออกแบบจำนวนหนึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2005–2007 รวมถึงนักวาดภาพแฟนตาซีที่มีชื่อเสียงอย่าง เวย์น บาร์โลว์ และศิลปินแนวคิดที่มีชื่อเสียง จอร์ดู เชลล์ เพื่อออกแบบรูปร่างของ นาวี ด้วยภาพวาดและประติมากรรมทางกายภาพ เมื่อแคเมรอนรู้สึกว่าการเรนเดอร์แบบ 3 มิติไม่ตรงกับวิสัยทัศน์ของเขา[67] โดยทำงานด้วยกันในห้องครัวที่บ้านของแคเมรอนที่ มาลิบู[68] เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 แคเมรอนประกาศว่าเขาจะถ่ายทำ อวตาร เพื่อให้ฉายในช่วงกลางปี ค.ศ. 2008 โดยวางแผนเริ่มต้นการถ่ายทำร่วมกับนักแสดงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007[69] ต่อมาในเดือนสิงหาคม บริษัทสร้างเทคนิคพิเศษ เวตา ดิจิตอล ได้เซ็นสัญญาในการช่วยแคเมรอนผลิต อวตาร[70] สแตน วินสตัน ผู้เคยร่วมงานกับแคเมรอนในอดีต เข้ามาช่วยเหลือในการออกแบบภาพยนตร์ อวตาร[71] การออกแบบงานสร้างของภาพยนตร์ใช้เวลาหลายปี ภาพยนตร์เรื่องนี้มีนักออกแบบการผลิตที่แตกต่างกันสองคนและแผนกศิลปะสองแห่งแยกกัน โดยที่หนึ่งในนั้นมุ่งเน้นไปที่พืชและสัตว์ของแพนดอราและอีกที่หนึ่งมุ่งเน้นในการสร้างเครื่องจักรมนุษย์และปัจจัยมนุษย์[72] เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 แคเมรอนประกาศว่าเขาจะใช้ระบบกล้องเสมือนจริงของเขาถ่ายทำแบบสามมิติ โดยระบบจะใช้กล้องความละเอียดสูงสองตัวในตัวกล้องเดียวเพื่อสร้างการรับรู้เชิงลึก[73]

ขณะที่การเตรียมการยังดำเนินการอยู่ ฟอกซ์ยังคงลังเลที่อนุมัติการสร้าง อวตาร เพราะเคยมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดกับค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปและความล่าช้าของ ไททานิค ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ของแคเมรอน ถึงแม้ว่าแคเมรอนจะเขียนบทใหม่เพื่อให้ตัวละครหลาย ๆ ตัวมารวมกัน และเสนอลดค่าตัวของเขาในกรณีที่ภาพยนตร์ล้มเหลว[58] แคเมรอนติดตั้งไฟจราจรโดยเปิดสัญญาณไฟสีเหลืองที่ด้านนอกห้องของ จอน แลนเดา เพื่อแสดงถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของภาพยนตร์เรื่องนี้[58] กลางปี ค.ศ. 2006 ฟอกซ์บอกแคเมรอนว่า "พูดตรง ๆ ว่าพวกเขาไม่อนุมัติภาพยนตร์เรื่องนี้," ดังนั้นเขาจึงเริ่มเสนอขายภาพยนตร์นี้ให้กับสตูดิโออื่นและเข้าหา วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ โดยแสดงหลักฐานแนวคิดของเขาให้กับ ดิก คุก ประธานบริษัทดู[58] อย่างไรก็ตาม, เมื่อดิสนีย์พยายามจะซื้อภาพยนตร์นี้ ฟอกซ์ใช้สิทธิที่จะปฏิเสธก่อน[58] เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 ในที่สุดฟอกซ์ก็อนุมัติการสร้าง อวตาร หลังอินจิเนียสมีเดียตกลงที่จะสนับสนุนภาพยนตร์นี้ ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินของฟอกซ์ลดลงเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากทุนสร้างอย่างเป็นทางการ 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[58] มีผู้บริหารคนหนึ่งของฟอกซ์ที่ไม่เชื่อแล้วก็ส่ายหัวบอกกับแคเมรอนและแลนเดาว่า "ผมไม่รู้ว่าเราบ้ากว่าหรือเปล่าที่ปล่อยให้คุณทำสิ่งนี้ หรือคุณบ้ากว่าเพราะคิดว่าคุณ สามารถ ทำได้ ..."[74]

เสียงจากแหล่งข้อมูลภายนอก
เอฟ. เอ็กซ์. ฟีนีย์สัมภาษณ์เจมส์ แคเมรอนเกี่ยวกับการเขียนอวตาร
สัมภาษณ์[75]

เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 แคเมรอนอธิบาย อวตาร ว่า "เรื่องราวในอนาคตตั้งอยู่บนดาวเคราะห์ 200 ปีต่อจากนี้ ... การผจญภัยในป่าที่ล้าสมัยพร้อมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม [ที่] มุ่งสู่การเล่าเรื่องในระดับเทพนิยาย"[76] เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ในงานแถลงข่าวได้อธิบายภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น "การเดินทางของการไถ่บาปและการปฏิวัติที่สะเทือนอารมณ์" และยังบอกอีกว่า "อดีตนาวิกโยธินที่บาดเจ็บได้รับการผลักดันอย่างไม่เต็มใจไปสู่ความพยายามที่จะสร้างและใช้ประโยชน์จากดาวเคราะห์แปลกใหม่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งในที่สุดก็ข้ามไปยังเผ่าพันธุ์ชนพื้นเมืองในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด" เรื่องราวจะเป็นของโลกทั้งใบที่เต็มไปด้วยระบบนิเวศของพืชและสิ่งมีชีวิตแบบเพ้อฝันและคนพื้นเมืองที่มีวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย[55]

มีการประมาณการว่าต้นทุนของภาพยนตร์อยู่ที่ประมาณ 280–310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการสร้างภาพยนตร์, ประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการตลาด และประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ในเครดิตภาษีที่จะช่วยลดผลกระทบทางการเงินต่อสตูดิโอและผู้ออกทุนสร้าง[20][21][22] โฆษกของสตูดิโอกล่าวว่าทุนสร้างนั้น "237 ล้านดอลลาร์สหรัฐบวกกับอีก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการโปรโมต, จบข่าว"[4]

แก่นเรื่องและแรงบันดาลใจ[แก้]

A gray mountain in the middle of a forest.
ภูเขาลอยฟ้า "ฮัลเลลูยาห์" (Hallelujah Mountains) บนดาวแพนดอรา ได้รับอิทธิพลมาจากเขาหวงซาน (ในภาพ) ของประเทศจีน[77]
อุทยานแห่งชาติอู่หลิงยฺเหวียน เมืองจางเจียเจี้ย

เจมส์ แคเมรอนกล่าวว่า ฉากดาวแพนดอรานั้น ได้รับอิทธิพลมาจากทิวทัศน์ของของเทือกเขาสูงในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะเขาหวงซาน ทางตอนใต้ของมณฑลอันฮุย [78] และอุทยานแห่งชาติอู่หลิงยฺเหวียน เมืองจางเจียเจี้ย มณฑลหูหนาน

ภาพยนตร์ถ่ายทำนักแสดงด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "โมชั่นแคปเจอร์" (motion-capture) โดยใช้กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษติดตั้งที่ศีรษะของนักแสดง เพื่อถ่ายภาพความเคลื่อนไหวของดวงตา ลักษณะสีหน้า และการแสดงอารมณ์ มีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นจึงนำไปประมวลผลเป็นแอนิเมชันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [79] ภาพทั้งหมดจะไปปรากฏที่กล้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ เรียกว่า "virtual camera" มีลักษณะเป็นจอคอมพิวเตอร์มือถือ ใช้งานโดยแคเมรอน เพื่อจำลองภาพที่จะเกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้อย่างอิสระรอบทิศทาง ขณะนักแสดงกำลังแสดงบทบาทตัวละคร

งานเทคนิคคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัท Weta Digital ที่เมืองเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ โดยใช้พนักงานกว่า 900 คน [80] ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ฮิวเลตต์-แพคการ์ด 4,000 เครื่อง จำนวน 35,000 ซีพียู [81] ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของยานพาหนะต่างๆ ในเรื่อง และฉากการต่อสู้ รับผิดชอบโดยอินดัสเตรียลไลต์แอนด์แมจิก (ILM) บริษัทย่อยของลูคัสฟิล์ม [82]

รางวัล[แก้]

Avatar won the 82nd Academy Awards for Best Art Direction, Best Cinematography, and Best Visual Effects, and was nominated for a total of nine, including Best Picture and Best Director.[83] Avatar also won the 67th Golden Globe Awards for Best Motion Picture – Drama and Best Director, and was nominated for two others.[84] At the 36th Saturn Awards, Avatar won all ten awards it was nominated for: Best Science Fiction Film, Best Actor, Best Actress, Best Supporting Actor, Best Supporting Actress, Best Director, Best Writing, Best Music, Best Production Design and Best Special Effects.

นิวยอร์กฟิล์มคริติกส์ออนไลน์ มอบรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้แก่ อวตาร[85] ภาพยนตร์ได้รับรางวัลคริติกส์ชอยส์อะวอดส์ของสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์แพร่ภาพกระจายเสียง ในสาขาภาพยนตร์โลดโผนยอดเยี่ยมและสาขาทางเทคนิคอีกหลายสาขาจากทั้งหมด 9 สาขาที่เข้าชิงรางวัล[86] ภาพยนตร์คว้ารางวัลจากสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์เซนต์หลุยส์ 2 รางวัล ในสาขาเทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยมและสาขาภาพยนตร์ที่มีความเป็นต้นฉบับ ความแปลกใหม่ หรือความสร้างสรรค์มากที่สุด[87] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังชนะรางวัลสถาบันศิลปะภาพยนตร์และโทรทัศน์บริติช (แบฟตา) ในสาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมและสาขาเทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีก 6 สาขาซึ่งรวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม[88] นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล การเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล และการยกย่องอื่น ๆ อีกมากมาย

ภาคต่อ[แก้]

Avatar success led to two sequels; this number was subsequently expanded to four.[34] Avatar: The Way of Water (2022) grossed over $2.3 billion, becoming the highest-grossing film of 2022,[89] and received a similarly positive critical and audience response.[90] It will be followed by Avatar 3 (2025). Fourth and fifth Avatar films, titled Avatar 4 and Avatar 5, respectively, are scheduled to be released in 2029 and 2031.[34][91]

หมายเหตุ[แก้]

  1. คำภาษาอังกฤษ "avatar" (อ่าน "แอวาทาร์" /ˈævəˌtɑr/) มาจากคำในภาษาสันสกฤต "อวตาร" (อักษรเทวนาครี: अवतार, อ่าน อะวะตาระ) ซึ่งในภาษาไทยมีคำใช้อยู่แล้ว คือ "อวตาร" (อ่าน อะวะตาน) ดังนั้น คำและชื่อภาพยนตร์ "อวตาร" ไม่อ่านว่า "อะวะทาร์" เพราะมิใช่คำทับศัพท์ (ดู ดิกเชินแนรีดอตคอม)

อ้างอิง[แก้]

  1. LaFraniere, Sharon (January 29, 2010). "China's Zeal for 'Avatar' Crowds Out 'Confucius'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 18, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Avatar (2009)". AFI Catalog of Feature Films. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
  3. "AVATAR [2D]". British Board of Film Classification. December 8, 2009. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 Patten, D. (December 3, 2009). "'Avatar's' True Cost – and Consequences". The Wrap. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2009. สืบค้นเมื่อ December 12, 2009.
  5. James Wigney (August 15, 2010). "Avatar director slams bandwagon jumpers". Herald Sun. Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2011. สืบค้นเมื่อ August 16, 2010.
  6. "Avatar". Box Office Mojo. IMDb. สืบค้นเมื่อ April 30, 2021.
  7. French, Philip (March 14, 2010). "Avatar was the year's real milestone, never mind the results". The Observer. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2010. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  8. Johnston, Rich (December 11, 2009). "Review: AVATAR – The Most Expensive American Film Ever ... And Possibly The Most Anti-American One Too". Bleeding Cool. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  9. Lefroy, Emily (June 30, 2022). "Kate Winslet stuns as fierce 'warrior' in first-look 'Avatar 2' photo".
  10. Choi, Charles Q. (December 28, 2009). "Moons like Avatar's Pandora could be found". MSNBC. สืบค้นเมื่อ February 27, 2010.
  11. 11.0 11.1 Horwitz, Jane (December 24, 2009). "Family Filmgoer". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ January 9, 2010.
  12. This property of Unobtanium is stated in movie guides, rather than in the film. Wilhelm, Maria; Dirk Mathison (November 2009). James Cameron's Avatar: A Confidential Report on the Biological and Social History of Pandora. HarperCollins. p. 4. ISBN 978-0-06-189675-0.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Time
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Jeff Jensen (January 10, 2007). "Great Expectations". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2007. สืบค้นเมื่อ January 28, 2007.
  15. 15.0 15.1 Alexander Marquardt (January 14, 2010). "Did Avatar Borrow from Soviet Sci-Fi Novels?". ABC News. สืบค้นเมื่อ March 8, 2012.
  16. 16.0 16.1 "Synthetic actors to star in Avatar". St. Petersburg Times. August 12, 1996. สืบค้นเมื่อ February 1, 2010.[ลิงก์เสีย]
  17. 17.0 17.1 Judy Hevrdejs; Mike Conklin (August 9, 1996). "Channel 2 has Monday morning team in place". Chicago Tribune.
  18. "Crafting an Alien Language, Hollywood-Style: Professor's Work to Hit the Big Screen in Upcoming Blockbuster Avatar". USC Marshall. University of Southern California Marshall School of Business. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2011. สืบค้นเมื่อ May 31, 2011.
  19. 19.0 19.1 "Avatar Language". Nine to Noon. December 15, 2009.
  20. 20.0 20.1 Barnes, Brooks (December 20, 2009). "'Avatar' Is No. 1 but Without a Record". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2011. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  21. 21.0 21.1 Fritz, Ben (December 20, 2009). "Could 'Avatar' hit $1 billion?". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2009. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
  22. 22.0 22.1 Keegan, R. (December 3, 2009). "How Much Did Avatar Really Cost?". Vanity Fair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 4-D
  24. "James Cameron's 'Avatar' Film to Feature Vocals From Singer Lisbeth Scott" (Press release). Los Angeles: PRNewswire. October 29, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2009. สืบค้นเมื่อ December 6, 2009 – โดยทาง Newsblaze.
  25. D'Alessandro, Anthony (December 19, 2009). "'Avatar' takes $27 million in its first day". Variety. สืบค้นเมื่อ January 11, 2010.
  26. Douglas, Edward (December 21, 2009). "Avatar Soars Despite Heavy Snowstorms". ComingSoon.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2009. สืบค้นเมื่อ December 21, 2009.
  27. Reporting by Dean Goodman; editing by Anthony Boadle (December 20, 2009). ""Avatar" leads box office, despite blizzard". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2010. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแคนาดาและสหรัฐ#ไม่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแคนาดาและสหรัฐ#ปรับตามอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว
  29. "All Time Worldwide Box Office Grosses". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2010. สืบค้นเมื่อ January 27, 2010.
  30. Tartaglione, Nancy (March 13, 2021). "'Avatar' Overtakes 'Avengers: Endgame' As All-Time Highest-Grossing Film Worldwide; Rises To $2.8B Amid China Reissue – Update". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ March 13, 2021.
  31. "'Avatar' Wins Box Office, Nears Domestic Record". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2010. สืบค้นเมื่อ February 2, 2010.
  32. "List of Academy Award nominations". CNN. February 2, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2010. สืบค้นเมื่อ February 2, 2010.
  33. Galuppo, Mia (2019-05-07). "Three New 'Star Wars' Films Get Release Dates in Disney Schedule Reset". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07.
  34. 34.0 34.1 34.2 Harris, Hunter (January 2, 2023). "An Exhaustive Timeline of All the Avatar Sequel Announcements". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2023. สืบค้นเมื่อ April 2, 2023.
  35. McClintock, Pamela; Couch, Aaron (June 13, 2023). "Avatar 3 Pushed a Year to 2025, Two Star Wars Movies Head for 2026 and Avengers Films Delayed". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2023. สืบค้นเมื่อ June 14, 2023.
  36. Anthony D'Alessandro (August 7, 2017). "Matt Gerald Returning To James Cameron's 'Avatar' World; Boards Crackle's 'The Oath'". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
  37. "Avatar 2 Filming Starts This Week!". SuperHeroHype. September 25, 2017. สืบค้นเมื่อ September 25, 2017.
  38. Rottenberg, Josh. "James Cameron Talks Avatar: Brave Blue World," Entertainment Weekly No. 1081 (December 18, 2009): 48.
  39. Cameron, James. "Avatar" (PDF). Avatar Screenings. Fox and its Related Entities. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ February 9, 2010.
  40. Cameron, James. "Avatar" (PDF). Avatar Screenings. Fox and its Related Entities. pp. 8 and 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ February 9, 2010.
  41. Conan O'Brien (December 18, 2009). "The Tonight Show with Conan O'Brien". The Tonight Show with Conan O'Brien. ฤดูกาล 1. ตอน 128. NBC. I was cheap
  42. Kevin Williamson. "Paraplegic role helps Worthington find his feet". lfpress.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2010. สืบค้นเมื่อ January 1, 2010.
  43. Jeff Jensen (January 10, 2007). "Great Expectations (page 2)". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ January 17, 2010.
  44. "This week's cover: James Cameron reveals plans for an 'Avatar' sequel". Entertainment Weekly. January 14, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2010. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.
  45. John Horn. "Faces to watch 2009: film, TV, music and Web". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2008. สืบค้นเมื่อ December 28, 2008.
  46. 46.0 46.1 Anne Thompson (August 2, 2007). "Lang, Rodriguez armed for 'Avatar'". Variety. สืบค้นเมื่อ August 3, 2007.
  47. Barnes, Jessica (March 26, 2007). "Michael Biehn Talks 'Avatar' – Cameron Not Using Cameras?". Cinematical. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2010.
  48. Leslie Simmons (September 21, 2007). "'Avatar' has new player with Ribisi". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2007. สืบค้นเมื่อ September 21, 2007.
  49. Clint Morris (August 2, 2007). "Sigouney Weaver talks Avatar". Moviehole.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2007. สืบค้นเมื่อ August 2, 2007.
  50. Cameron, James (2007). "Avatar" (PDF). Avatar Screenings. Fox and its Related Entities. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 25, 2010. สืบค้นเมื่อ May 6, 2010. Archived version May 6, 2010
  51. Lux, Rachel (December 14, 2009). "Close-Up: Joel David Moore". Alternative Press. Alternative Press Magazine, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2010. สืบค้นเมื่อ May 6, 2010. Archived version May 6, 2010
  52. Lewis Bazley (May 25, 2009). "Drag Me to Hell Review". inthenews.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2009. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
  53. Brennan, David (February 11, 2007). "Avatar Scriptment: Summary, Review, and Analysis". James Cameron's Movies & Creations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2009. สืบค้นเมื่อ April 29, 2010.
  54. Thompson, Anne (January 9, 2007). ""Titanic" director sets sci-fi epic for '09". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2010. สืบค้นเมื่อ December 26, 2009.
  55. 55.0 55.1 20th Century Fox (January 9, 2007). "Cameron's Avatar Starts Filming in April". ComingSoon.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2008. สืบค้นเมื่อ October 10, 2009.
  56. "Pounder Talks Avatar". April 30, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2009.
  57. ""Avatar": James Cameron's New SciFi Thriller -The Official Trailer (VIDEO)". The Daily Galaxy --Great Discoveries Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2017. สืบค้นเมื่อ October 14, 2017.
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 58.4 58.5 Grover, R; Lowry, T.; White, M. (January 21, 2010). "King of the World (Again)". Bloomberg BusinessWeek. Bloomberg. pp. 1–4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2010. สืบค้นเมื่อ January 26, 2010.
  59. Harry Knowles (February 28, 2006). "Harry talks to James Cameron, Cracks PROJECT 880, the BATTLE ANGEL trilogy & Cameron's live shoot on Mars!!!". Ain't It Cool News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2006. สืบค้นเมื่อ October 18, 2006.
  60. John Horn (January 8, 2007). "Director Cameron to shoot again". Los Angeles Times.
  61. [1] Govinda Reveals He Suggested Avatar Title To Director James Cameron’s Film
  62. [2] Govinda says he turned down Avatar by James Cameron. So Internet made the best jokes and memes
  63. [3] Govinda's Rather Tall Avatar Claim Has Been Turned Into Rude But ROFL Memes On Twitter
  64. [4] Govinda: I am fine with people wondering how someone like Govinda could refuse a James Cameron film
  65. [5]
  66. Kozlowski, Lori (January 2, 2010). "'Avatar' team brought in UC Riverside professor to dig in the dirt of Pandora". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2010. สืบค้นเมื่อ January 3, 2010.
  67. "Avatar Concept Designer Reveals the Secrets of the Na'vi". io9. สืบค้นเมื่อ April 20, 2010.
  68. Kendricks, Neil (March 7, 2010). "Cameron, the Science Geek Who Became a Movie Titan for the Ages". U-T San Diego. สืบค้นเมื่อ April 20, 2010.
  69. Crabtree, Sheigh (July 7, 2006). "Cameron comes back with CG extravaganza". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2006. สืบค้นเมื่อ October 18, 2006.
  70. Smith, Lynn (August 4, 2006). "Special-Effects Giant Signs on for 'Avatar'". Los Angeles Times.
  71. Duncan, Jody; James Cameron (October 2006). The Winston Effect. Titan Books. ISBN 1-84576-150-2.
  72. "Avatar Started As A Four-Month, Late-Night Jam Session At James Cameron's House". December 10, 2009.
  73. Waters, Jen (September 28, 2006). "Technology adds more in-depth feeling to the movie experience". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ December 22, 2006.
  74. Duncan, Jody; Lisa Fitzpatrick (2010). The Making of Avatar. United States: Abrams Books. p. 52. ISBN 978-0-8109-9706-6.
  75. "Written By homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2010. สืบค้นเมื่อ November 20, 2010.
  76. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ king
  77. "James Cameron en Chine pour faire la publicité de son film Avatar". peopledaily (ภาษาฝรั่งเศส). December 24, 2009. สืบค้นเมื่อ April 27, 2022.
  78. "Stunning Avatar". Global Times. 24 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 24 January 2010.
  79. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-02-15.
  80. Philip Wakefield (December 19, 2009). "Close encounters of the 3D kind". The Listener. สืบค้นเมื่อ February 4, 2010.
  81. Jim Ericson (December 21, 2009). "Processing AVATAR". SourceMedia. Information Management magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-25. สืบค้นเมื่อ February 2, 2010.
  82. by Daniel Terdiman (December 19, 2009). "ILM steps in to help finish 'Avatar' visual effects". CNet.
  83. "The 82nd Academy Award Winners and Nominees". NPR. March 7, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2021. สืบค้นเมื่อ April 13, 2023.
  84. "Golden Globe Winners List 2010". Moviefone. January 17, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2010. สืบค้นเมื่อ January 17, 2010.
  85. Davis, Don (December 14, 2009). "N.Y. Online Critics like 'Avatar'". Variety. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2015. สืบค้นเมื่อ December 15, 2009.
  86. Child, Ben (December 15, 2009). "Tarantino's Inglourious Basterds dominates Critics' Choice awards". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ December 15, 2009.
  87. Robinson, Anna (December 21, 2009). "St. Louis Film Critics Awards 2009". altfg.com. Alt Film Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2009. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
  88. "Film Awards Winners". British Academy of Film and Television Arts. January 21, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2010. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
  89. "Top 2022 Movies at the Worldwide Box Office". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2023. สืบค้นเมื่อ April 2, 2023.
  90. "Avatar: The Way of Water". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ April 2, 2023.
  91. McClintock, Pamela; Couch, Aaron (June 13, 2023). "Avatar 3 Pushed a Year to 2025, Two Star Wars Movies Head for 2026 and Avengers Films Delayed". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2023. สืบค้นเมื่อ June 14, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]