อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อย่ายึดข้า)
“Noli me Tangere” (อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้)
โดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก)

อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้[1] หรือเดิมใช้ว่า อย่าแตะต้องเรา[2] (ละติน: Noli me tangere; อังกฤษ: Do not cling to me[3] หรือ Do not touch me หรือ Touch me not) เป็นถ้อยคำที่พระเยซูกล่าวกับมารีย์ชาวมักดาลา เมื่อทรงพบนางหลังจากที่ทรงฟื้นขึ้นจากความตายตามที่บันทึกใน ยอห์น 20:17 ประโยคนี้เป็นที่นิยมในเพลงสวดเกรกอเรียน (Gregorian chant) ในยุคกลาง และเป็นหัวข้อที่นิยมกันในงานจิตรกรรมที่เกี่ยวกับการคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection)

ประโยคเดิม “Μή μου ἅπτου” ในพระวรสารนักบุญยอห์นซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า “จะหยุดยั้งเรานั้นหาได้ไม่” หรือ “จงอย่าหยุดยั้งเรา”[4] มากกว่าที่จะแปลว่า “อย่าแตะต้องเรา” (Don't touch me) เช่นที่เคยแปลกันในบางฉบับ

การใช้อย่างอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับ 1971 (ฉบับเรียงพิมพ์ 1998) ยอห์น 20:17

    "พระเยซูตรัสกับเธอว่า อย่าหน่วงเหนึ่ยวเราไว้ เพราะเรายังมิได้ขึ้นไปหาพระบิดาของเรา แต่จงไปหาพวกพี่น้องของเรา และบอกเขาว่า เราจะขึ้นไปหาพระบิดาของเราและพระบิดาของท่านทั้งหลาย ไปหาพระเจ้าของเราและพระเจ้าของท่านทั้งหลาย"

  2. พระคริสตธรรมใหม่ ยอห์น บทที่ 20 ข้อที่ 17

    "พระเยซูตรัสกับเธอว่า อย่าแตะต้องเรา เพราะเรายังมิได้ขึ้นไปหาพระบิดาของเรา แต่จงไปหาพวกพี่น้องของเรา และบอกเขาว่า เราจะขึ้นไปหาพระบิดาของเราและพระบิดาของท่านทั้งหลาย และไปหาพระเจ้าของเราและพระเจ้าของท่านทั้งหลาย""

  3. New Testament, John, Chapter 20, Paragraph 17:

    "Jesus said to her, Do not cling to me, for I have not yet ascended to the Father; but go to my brothers and say to them, 'I am ascending to my Father and your Father, to my God and your God."

  4. See, for instance, "Touch Me Not" by Gary F. Zeolla or Greek Verbs. In fact the form of the verb used is not the aorist imperative, which would indicate momentary or point action, but the present, which indicates an action in progress (Lesson Five - Greek Verbs). When, later in the same chapter, Jesus invites Thomas to touch his side, the aorist imperative is used to indicate the proposed momentary action (John 20:27). See also The Elements of New Testament Greek by Jeremy Duff: 7.2.2. The difference between the Present and Aorist Imperatives.

ดูเพิ่ม[แก้]

สมุดภาพ[แก้]