อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง
กำกับแอนดูรว์ อดัมซัน
เขียนบทผู้เขียน: ซี. เอส. ลูว์อิส
ผู้เขียนบท:
แอน พีค็อd
แอนดูรว์ อดัมสัน
คริสโตเฟอร์ มาคัส
สตีเฟน แม็คฟีลี
อำนวยการสร้างมาร์ค จอห์นสัน
เปอรร์รี มัวร์
ฟิลิป สตอยเออร์
แอนดูรว์ อดัมซัน
นักแสดงนำวิลเลียม โมสลีย์
แอนนา พ็อพเพิลเวลล์
สคานดาร์ เคนส์
จอร์จี เฮนลีย์
ทิลดา สวินตัน
เจมส์ แม็กอะวอย
เลียม นีสัน
กำกับภาพโดนัลด์ เอ็ม แม็คอัลไพน์
ตัดต่อวอลต์ ดิสนีย์ / วอลเดน มีเดีย
ดนตรีประกอบแฮร์รี เกร็กสัน - วิลเลียมส์
ผู้จัดจำหน่ายบัวนา วิสตา
วันฉาย29 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (ไทย)
8 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (UK)
9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (อเมริกาเหนือและยุโรป)
ความยาวภาคปกติ: 135 นาที
ภาคเพิ่มเติม: 150 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา/สหราชอาณาจักร
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน745,013,115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์ แม่มด กับตู้พิศวง (อังกฤษ: The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe) ภาพยนตร์ในชุดของ ตำนานแห่งนาร์เนีย จากหนังสือเรื่อง ตู้พิศวง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาแต่งหน้ายอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78

เนื้อเรื่อง[แก้]

พี่น้องชายหญิงทั้งสี่แห่งตระกูลพรีเวนซีอพยพภัยสงครามจากกรุงลอนดอนไปอยู่ชนบท อาศัยบ้านหลังโตของศาสตราจารย์ชรา นาม ดิกอรี่ เคิร์ก(จิม บอร์ดเบรนด์)และแม่บ้านเจ้าระเบียบชื่อ คุณแม็คเควดี้ พวกเขาอยากเปลี่ยนบรรยากาศที่เงียบเหงาว้าเหว่เพราะจากมารดามาไกลจึงเล่นซ่อนหากัน ลูซี่(จอร์จี เฮนลีย์) น้องสาวคนสุดท้องแอบอยู่ในห้องว่างที่มีตู้เสื้อผ้าหลังใหญ่ตั้งอยู่ เมื่อเปิดประตูตู้ก็พบดินแดนสู่โลกใหม่อันหนาวเหน็บ ไม่ว่าจะมองไปแห่งหนใดล้วนถูกปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน มีเสาไฟตะเกียงโบราณบอกพรมแดน เธอบังเอิญพบฟอนทัมนัส(เจมส์ แม็กเอวอย) สิ่งมีชีวิตครึ่งคนครึ่งแพะผู้ใจดี เธอจึงทราบว่าโลกใบใหม่นี้คือนาร์เนีย เต็มไปด้วยสัตว์ในนิทานปรัมปรา พอกลับสู่โลกมนุษย์ลูซี่รู้สึกดีใจมากครั้นเล่าเรื่องนี้ให้พี่ๆฟังก็ไม่มีใครเชื่อ นอกจากศาสตราจารย์ดิกอรี เคิร์ก

เอ็ดมันด์(สแกนดาร์ คีย์เนส) พี่ชายลูซีย่องตามน้องสาวเข้าไปในตู้เสื้อผ้าอีกครั้ง เขาไม่เพียงสัมผัสอากาศของฤดูหนาวหฤโหดเท่านั้นแต่ยังพบพระราชินีจาดิส(ทิลด้า สวินตั้น) และคนแคระชื่อ ดิกาบาเร สารถีขับเลื่อนเทียมกวางขาว พระองค์หลอกล่อเอ๊ดมันด์ด้วยขนมหวานTurkish Delightราวยาเสพติดให้กลับไปนำพี่น้องทั้งหมดมาที่ปราสาท แล้วจะยกตำแหน่งราชาให้เขาปกครองดินแดนแห่งนี้ หารู้ไม่ว่าแท้ที่จริงพระองค์คือนางแม่มดขาวผู้บันดาลให้นาร์เนียเป็นฤดูหนาวตลอดกาล ปราศจากเทศกาลเฉลิมฉลองคริสต์มาสร่วมศตวรรษ อำนาจของนางจะเสื่อมเมื่อบุตรแห่งอดัม และ ธิดาแห่งอีฟขึ้นครองบัลลังก์ทั้งสี่แห่ง แคร์ พาราเวล จึงหาทางกำจัดทิ้งเสีย

เอ็ดมันด์นำพี่ชาย ปีเตอร์(วิลเลียม มอสลีย์)กับ พี่สาว ซูซาน|(แอนนา ป็อปเปิลเวลล์) มาสู่นาร์เนียตามแผนการ เมื่อเห็นบ้านทัมนัสในถ้ำถูกรื้อค้นทำลายข้าวของ และประกาศจับตัวผู้ทรยศทำให้พี่น้องตระกูลเพเวนซี่หวาดหวั่นว่าจะไปช่วยทัมนัสดีหรือไม่ พอดีนกโรบิ้นนำทางพวกเด็กๆไปกระท่อมตายายบีเว่อร์ ทุกคนจึงรู้แจ้งถึงอาถรรพ์คำสาปนางแม่มดผู้ชั่วร้าย และคำทำนายถึงผู้ที่จะลบล้างเวทมนตร์ พร้อมการปรากฏตัวของอัสลาน สิงโตเจ้าป่า โอรสของมหาจักรพรรดิจากดินแดนโพ้นทะเล เอ็ดมันด์ทนความโหยหิวขนมหวานไม่ไหวจึงหลบไปหานางแม่มดตามลำพังถึงในปราสาท แล้วถูกจับตัวขังคุกร่วมกับฟอนทัมนัส บีเว่อร์แนะนำหนทางเดียวที่จะช่วยเอ็ดมันด์ (ผู้ทรยศหักหลังพี่น้องเพราะความตะกละ-กินไม่รู้จักอิ่ม) ได้คือพวกเด็กๆ ต้องไปขอความช่วยเหลือจากอัสลานซึ่งตั้งค่ายอยู่ใกล้แท่นศิลา

ได้มีการแต่งเติมฉากตื่นเต้นในภาพยนตร์ให้ระทึกใจนอกเหนือนิยายต้นฉบับ เช่น ตอนพี่น้องเพเวนซี่หลบหนีการตามล่าของฝูงหมาป่าข้ามธารน้ำแข็งซึ่งหน้าผาเป็นน้ำตกและกำลังละลาย จิ้งจอกแวร์ลูซึ่งลวงมอกริม สุนัขป่าหัวหน้าตำรวจลับพระราชินีให้หลงทางแล้วตัวเองถูกสาปเป็นหิน สี่พี่น้องฝึกวิชาสู้รบเบื้องต้นก่อนนำทัพอัสลานต่อสู้กับเหล่าอสูรกายราชินีจาดิส การต่อสู้ระหว่างราชาปีเตอร์และราชินีจาดิส

นักแสดง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ตู้พิศวง ซี.เอส. ลูว์อิส เขียน สุมนา บุณยะรัตเวช แปล,สำนักพิมพ์ผีเสื้อ พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไข) สิงหาคม พ.ศ. 2545
  • นิตยสารสตาร์พิคส์ sp.669 ปักษ์หลัง ธันวาคม พ.ศ. 2548
  • ปัญหาที่'นัวเนีย'ในดินแดนแห่ง'นาร์เนีย, สมเกียรติ อ่อนวิมล,ชาวคู่ฯดูหนัง นิตยสารคู่สร้างคู่สม 10 - 20 มกราคม พ.ศ. 2549
  • ซี.เอส. ลูว์อิส เรื่องราวชีวิต และ แรงบันดาลใจของชายผู้สร้างตำนานแห่งนาร์เนีย ไมเคิล ไวต์ เขียน นุชนาฎ เนตรประเสริฐศรี แปล, นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]