อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพและสารพิษ และว่าด้วยการทำลายอาวุธดังกล่าว
ผู้เกี่ยวข้องในอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
  รัฐที่ไม่ยอมรับที่ปฏิบัติตามอนุสัญญา
วันลงนาม10 เมษายน ค.ศ. 1972
ที่ลงนามลอนดอน, มอสโก และวอชิงตัน ดี.ซี.
วันมีผล26 มีนาคม ค.ศ. 1975
เงื่อนไขให้สัตยาบันโดย 22 รัฐ
ผู้ลงนาม109
ภาคี183[1] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019
(รายชื่อ)
Biological Weapons Convention ที่ วิกิซอร์ซ
อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ[2]

อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ[3] (อังกฤษ: Biological Weapons Convention, BWC) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพและสารพิษ (อังกฤษ: Biological and Toxin Weapons Convention, BTWC) เป็นอนุสัญญาที่ห้ามอาวุธชีวภาพและสารพิษอย่างมีประสิทธิภาพ โดยห้ามไม่ให้มีการพัฒนา การผลิต การได้มา การถ่ายโอน การสะสมและการใช้ อนุสัญญามีชื่อเต็มว่า อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพและสารพิษ และว่าด้วยการทำลายอาวุธดังกล่าว (อังกฤษ: Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on their Destruction)[4]

อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามอาวุธชีวภาพเป็นสนธิสัญญาพหุภาคีเพื่อการลดอาวุธฉบับแรกที่ห้ามการผลิตประเภทของอาวุธทั้งประเภท ความตกลงของอนุสัญญามีสาเหตุมาจากความพยายามอันเป็นเวลายาวนานของประชาคมนานาชาติในการพยายามสร้างเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนพิธีสารเจนีวาของปี ค.ศ. 1925 ที่เป็นพิธีสารว่าด้วยการห้ามการใช้แก๊ส และ แบคทีเรียในการสงคราม

อนุสัญญาเริ่มลงนามกันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1972 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1975 เมื่อรัฐบาลของยี่สิบสองประเทศให้การสัตยาบัน ในปัจจุบันอนุสัญญามีภาคีผู้ตกลง 162 ประเทศ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Status of the Biological Weapons Convention". United Nations Office for Disarmament Affairs. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
  2. United Nations (1972). Biological Weapons Convention.
  3. อาวุธชีวภาพและอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
  4. "Biological Weapons Convention – UNODA". United Nations Office for Disarmament Affairs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-15. สืบค้นเมื่อ 2021-02-15.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]