อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก
Strasbourg Patent Convention
ชื่อเต็ม
อังกฤษ: Convention on the Unification of Certain Points of Substantive Law on Patents for Invention
-
ไทย: อนุสัญญาว่าด้วยการทำกฎหมายสารบัญญัติบางส่วนซึ่งว่าด้วยสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ให้เป็นเอกรูป
วันลงนาม27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963
ที่ลงนามสตราสบวร์ก, ประเทศฝรั่งเศส
ผู้ลงนามประเทศสมาชิกของสภาแห่งยุโรป
ภาคีประเทศสมาชิกของสภาแห่งยุโรป

อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก (อังกฤษ: Strasbourg Convention หรือ Strasbourg Patent Convention) คือสนธิสัญญาพหุภาคีที่ลงนามโดยประเทศสมาชิกของสภาแห่งยุโรปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ที่เมืองสตราสบวร์กในประเทศฝรั่งเศส อนุสัญญามีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1980 ที่มีผลสำคัญในการสร้างมาตรฐานของกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตรของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป

อนุสัญญาวางรากฐานของสิ่งต้องการ (criteria) สำหรับการลงทะเบียนสิทธิบัตร เช่น การตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเหตุผลในการปฏิเสธสิ่งประดิษฐ์จากการลงทะเบียนเป็นสิทธิบัตร วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาก็เพื่อการสร้างความสอดคล้องกันของกฎหมายสารบัญญัติ (Substantive law) เกี่ยวกับสิทธิบัตร แต่ไม่ได้กล่าวถึงกฎหมายวิธีพิจารณาความ (Substantive law) การประชุมครั้งนี้แตกต่างจากอนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรป (EPC) เป็นอันมาก ตรงที่อนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรปวางระบบอิสระในการมอบสิทธิบัตรของยุโรป

อนุสัญญาฉบับนี้มีผลโดยตรงต่ออนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรปตรงที่มีผลต่อกฎหมายสิทธิบัตรโดยทั่วไปของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ต่อสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty หรือ PCT) ต่อสนธิสัญญากฎหมายสิทธิบัตร (Patent Law Treaty หรือ (PLT)) และต่อความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้านการค้า (TRIPS) ขององค์กรการค้าโลก

ประเทศผู้รับรอง[แก้]

ประเทศที่ยอมรับหรือให้สัตยาบันมีด้วยกันสิบสามประเทศ: เบลเยียม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลิกเตนสไตน์, ลักเซมเบิร์ก, มาซิโดเนีย, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]