อนุสรณ์ ติปยานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรณ์ ติปยานนท์
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2507
กรุงเทพมหานคร
อาชีพนักเขียน นักแปล
สัญชาติไทย

อนุสรณ์ ติปยานนท์ เป็นนักเขียน นักแปล โดยเขามีผลงานรวมเรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ถึง 2 สมัย ได้แก่ รวมเรื่องสั้น เคหวัตถุ (พ.ศ. 2551) และนิมิตต์วิกาล (พ.ศ. 2554)

การศึกษา[แก้]

อนุสรณ์เคยเข้าศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2526 พร้อมกับที่เข้าเรียนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปด้วย และในที่สุด ก็ตัดสินใจที่จะไม่ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ยังศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงาน[แก้]

เมืองเย็น เป็นผลงานเขียนเล่มแรกของเขา ส่วนผลงานซึ่งสร้างชื่อให้กับเขาส่วนใหญ่เป็นงานเขียนรวมเรื่องสั้นทั้งสิ้น

เขาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายฉบับว่า เริ่มต้นจับปากกาด้วยการเป็นนักแปล แต่แล้ววันหนึ่ง เมื่อเพื่อนสนิทของเขาจากไปในเหตุการณ์ 11 กันยายน อนุสรณ์ก็ผันความสนใจที่อยากเขียนหนังสือเล่มเล็กๆ สักเล่มหนึ่งเพื่อรำลึกและอุทิศถึงเพื่อน แต่พอเขียนจริงมันกลับเพิ่มจำนวนยาวขึ้น

สมญานาม หรือคำจำกัดความที่นักอ่านในประเทศนี้มักมีต่อเขา คือ “มูราคามิเมืองไทย” นั้นเกิดขึ้นมาจากบทสัมภาษณ์ในนิตยสาร GM ฉบับที่ 364 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ผลงานของอนุสรณ์มีทั้งหมด ดังนี้