อนันต์ ลิมปคุปตถาวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนันต์ ลิมปคุปตถาวร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต 4 อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

อนันต์ ลิมปคุปตถาวร เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายลิมฮะ และนางโซ้ยม่วย แซ่ลิ้ม สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สมรสกับนางน้ำทิพย์ ลิมปคุปตถาวร

งานการเมือง[แก้]

อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิ 3 สมัย, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (เลือกตั้ง พ.ศ. 2547) จากนั้นในช่วงหลังการเลือกตั้งใหญ่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2550 นายอนันต์ได้ชิงลาออกจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และลงสมัครอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้นายอนันต์พ่ายให้กับนายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชัยภูมิ (ชุดปี พ.ศ. 2543) [1]

หลังจากนั้นนายอนันต์จึงขึ้นมาเล่นการเมืองระดับชาติโดยเข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[2] แต่เนื่องจากพรรคเพื่อไทย เกิดปัญหาผู้สมัครไม่ลงตัวระหว่างนางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ กับนางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ จึงหันมาดึงนายอนันต์ไปลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย[3] และได้รับการเลือกตั้งในที่สุด ด้วยคะแนน 46,026 คะแนน เอาชนะนายพุฒิพงศ์ สงวนวงศ์ชัย พี่ชายนายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย สมาชิกบ้านเลขที่ 111 จากพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ 33,166 คะแนน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

อนันต์ ลิมปคุปตถาวร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปผลเลือกตั้ง “นายก อบจ.” ชัยภูมิ-อดีต ส.ว.พลิกชนะแชมป์เก่าขาดลอย[ลิงก์เสีย]
  2. จับตาภท.ส่งสัญญาณแตกหัก ปชป.นับถอยหลังเลือกตั้งจริงหรือ[ลิงก์เสีย]
  3. เขต3ชัยภูมิ4ผู้สมัคร4พรรคแข่งเดือด[ลิงก์เสีย]
  4. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]