อนงค์พร พรหมรัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนงค์พร พรหมรัด
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มอนงค์พร พรหมรัด
ชื่อเล่นอ๋อม
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)[1]
จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
ส่วนสูง182 ซม.[1]
น้ำหนัก68 กก.[1]
กระโดดตบ260 ซม.[2]
บล็อก254 ซม.[2]
ข้อมูล
ตำแหน่งบอลเร็ว[1]
สโมสรปัจจุบันไทย ขอนแก่นสตาร์
หมายเลข12 [1]
อาชีพ
ปีทีม
2009-2015
2015-2018
2018-2019
2019-2020
2020-ปัจจุบัน
ไทย เอ.ที.ซี.ซี.
ไทย บางกอกกล๊าส
ไทย ควินท์ แอร์ฟอร์ซ]
ไทย นครราชสีมา เดอะมอลล์
ไทย ขอนแก่นสตาร์
ทีมชาติ
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2557
ไทย ทีมชาติไทย (ชุดยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย)
ไทย ทีมชาติไทย (ชุดกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน)

อนงค์พร พรหมรัด ชื่อเล่น อ๋อม เกิดวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งบอลเร็ว

ทั้งนี้ เธอสามารถพูดได้สองภาษาคือไทยและอังกฤษ[2]

ประวัติ[แก้]

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 อนงค์พร พรหมรัด ได้เป็นตัวแทนวอลเลย์บอลยุวชนหญิงทีมชาติไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2008 ที่จัดขึ้น ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์[3] ส่วนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อนงค์พรได้ทำหน้าที่เป็นนักวอลเลย์บอลให้แก่มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36 [4]

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อนงค์พรได้ทำหน้าที่ร่วมสังกัดสโมสรวอลเลย์บอลอยุธยา เอ.ที.ซี.ซี. ในการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ซึ่งเธอมีส่วนช่วยให้ทีมเป็นฝ่ายชนะทีมสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา ด้วยผลการแข่งที่ 3-1 เซต[5][6]

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 อนงค์พรได้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ในการแข่งขันวอลเลย์บอล ถ้วย ก. รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทีมของเธอเป็นฝ่ายแพ้ทีมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 3 เซต[7]

ในปี พ.ศ. 2556 อนงค์พร พร้อมด้วยโสรยา พรมหล้า และกรรณิการ์ ธิปะโชติ ได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมทีมกับพัชรี แสงเมือง ในการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ที่ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นระยะเวลา 13 วัน โดยได้รับค่าตอบแทนที่ประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 6 หมื่นบาท) ต่อคน[8]

เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 อนงค์พรได้ทำหน้าที่ให้แก่ทีมมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ในการแข่งกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41[9][10] ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม เธอได้เข้าร่วมทีมกับสโมสรวอลเลย์บอลอยุธยา เอ.ที.ซี.ซี. ในการแข่งวอลเลย์บอลไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก 2014 นัดเปิดสนาม ซึ่งทีมของเธอเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมสโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมาที่ 1-3 เซต[11] และในวันที่ 16 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน เธอได้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมสโมสรวอลเลย์บอลอยุธยา เอ.ที.ซี.ซี. ในการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2015 โดยทีมของเธอได้เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส ที่ 3-0 เซต[12] จากนั้น ในเดือนธันวาคม เธอได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของทีมชาติไทย ในการเข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลในกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้น ณ ปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย[13][14]

สโมสร[แก้]

เกียรติประวัติ[แก้]

ทีมสโมสร

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 เกาะติดลูกยางไทย: สาว กรุงเก่า ขอติด 1 ใน 4
  2. 2.0 2.1 2.2 "Profil zawodniczki na stronie FIVB" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-28.
  3. "ตบสาวไทยชุดเล็กทะลุ 4 ทีม ลูกยางยุวชนเอเชีย ที่ฟิลิปปินส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
  4. "มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-01-19.
  5. กรุงเก่าชนะ
  6. กรุงเก่าชนะ - RYT9.com
  7. การไฟฟ้าฯผงาดซิวแชมป์วอลเลย์ถ้วย ก.หลังตบชนะอาร์แบค 3 เซตรวด-"กิ๊ฟ"รับอาเซอร์ไบจันทาบร่วมทีมยกชุดจริง[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 8.2 3 สาวกรุงเก่าเหินฟ้าสู่ฟิลิปปินส์ 2 สัปดาห์ค่าจ้าง 6 หมื่นบาท[ลิงก์เสีย]
  9. อนงค์พร พรหมรัด - กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41[ลิงก์เสีย]
  10. พรพรรณ นำทัพ อาร์แบค ลุย นนทรีเกมส์ วางเป้า ป้องทอง[ลิงก์เสีย]
  11. ทีมนักตบหนุ่มสาวโคราชประเดิมคว้าชัยวอลเลย์บอลซูเปอร์ลีก[ลิงก์เสีย]
  12. "ปลื้มจิตร์" นำทัพ "ลูกยางบีจี" ถล่มอยุธยาขาดลอย[ลิงก์เสีย]
  13. "Sport Classic:เว็บข่าวกีฬาและสุขภาพ » ลูกยางไทยลั่นกวาดหมด 4 ทอง ม.อาเซียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  14. "'ลูกยางไทย' ลั่นกวาด 4 ทอง 'ปัญญาชนอาเซียน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]