องอาจ สาตรพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องอาจ สาตรพันธุ์

เกิด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 (80 ปี)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัล“The York Price” จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล[1]
“สถาปนิกดีเด่น” จากสมาคมสถาปนิกสยาม[1]
ศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
ผลงานสำคัญ
  • ตึกช้าง
  • อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โรงแรมแทมมารินด์วิลเลจ
  • โรงแรมราชมรรคา
  • อาคารโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา (ปัจจุบันรื้อทิ้งไปแล้ว)
  • ไอคอนคอนโดมิเนียม II และ III

องอาจ สาตรพันธุ์ (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487) เป็นสถาปนิกชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นสถาปนิกที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยในประเทศไทย ที่มีความสามารถในการสืบทอดและประยุกต์ใช้ศิลปะแบบดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน และแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เขาได้รับรางวัลมากมายจากหลาย ๆ สถาบันทางด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

งานออกแบบขององอาจในช่วงแรก มักจะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เน้นใช้วัสดุจำพวก คอนกรีต มีรูปแบบโมเดิร์นเต็มตัว ซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลมาจากเลอกอร์บูซีเย เช่น อาคารโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา ที่มีการนำแนวคิดหลักลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการของเลอกอร์บูซีเยมาใช้อย่างชัดเจน[2] ปัจจุบันอาคารแห่งนี้ได้ถูกทุบทิ้งไปแล้ว เขายังออกแบบงานในรูปแบบ สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย หรือที่เรียกว่า Brutalism เช่น อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[3] ด้านงานอออกแบบอาคารสูง เขาเป็นผู้ออกแบบ ตึกช้าง ซึ่งเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในโลก 20 อันดับ[4]

งานในช่วงหลัง องอาจได้เปลี่ยนแนวทางการออกแบบไปสู่งานสถาปัตยกรรมที่เน้นกลิ่นอายของความเป็นท้องถิ่นไทย ไม่ว่าจะเป็น โรงแรมราชมรรคา โรงแรมแทมมารินวิลเลจ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำรูปแบบล้านนามาใช้ในงานออกแบบอย่างเต็มตัว เขายังเป็นกรรมการตัดสินผลงานดีเด่นทางสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม อีกด้วย

ประวัติ[แก้]

องอาจ สาตรพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 4 คน บิดาชื่อนายอัญ สาตรพันธุ์ มารดาชื่อนางลำเจียก สาตรพันธุ์ สมรสกับนางรุจิรัตน์ วิจิตรานนท์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา จากนั้นจึงได้ไปศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ในระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยคอร์เนล และระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเยล[5] ภายหลังจบการศึกษาองอาจได้ทำงานกับบริษัท Glen Paulsen & Associates Architects, Bloomfield Hills, รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จนต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ก่อตั้งสำนักงาน ”องอาจสถาปนิก” ขึ้นที่ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

ผลงาน[แก้]

ด้านสังคม[แก้]

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัล The Baird Prize จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
  • รางวัลสถาปนิกดีเด่น จากสมาคมสถาปนิสยาม และรางวัลส่งเสริมเชียงใหม่งามจากสถาปนิกล้านนา 52
  • พ.ศ. 2503 ได้รับรางวัล “The York Price” จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
  • พ.ศ. 2505 ได้รับรางวัล “The Baird Prize” จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
  • พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัลผลงาน “สถาปัตยกรรมดีเด่น” จาก Henkel Thai Factory
  • ได้รับรางวัลผลงาน “สถาปัตยกรรมดีเด่น” โดยการออกแบบบ้าน ดร.กร - ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม
  • พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัล “สถาปนิกดีเด่น” ในวาระครบรอบ 60 ปี จากสมาคมสถาปนิกสยาม
  • พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัล “ส่งเสริมเชียงใหม่งาม” โดยการออกแบบโรงแรมแทมมารินวิลเลจ จากสถาปนิกล้านนา 45
  • พ.ศ. 2552 ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]