ชา-มย็อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก องค์หญิงจามอง)

ชา-มย็อง (เกาหลี자명; อาร์อาร์Ja-myeong) ตามพงศาวดารสามก๊กแห่งเกาหลี ซัมกุก ซากิ ชา-มย็องโกเป็นชื่อกลองศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรนังนัง ซี่งเป็นที่มาของตัวละครสมมติในละครโทรทัศน์ของประเทศเกาหลีใต้เรื่อง จามอง ยอดหญิงผู้พิทักษ์แผ่นดิน ออกอากาศภาคภาษาไทยทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 พ.ศ. 2552 ตามท้องเรื่องในละคร จามองหรือชา-มย็องเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชอยรี กษัตริย์แห่งอาณาจักรนังนัง และพระอัครมเหสีฮาซู จากตระกูลโม พระราชขนิษฐาในเจ้าหญิงลาฮี (เจ้าหญิงนังนัง) ชา-มย็องมีความหมายว่า ใช้เสียงร้องเพื่อช่วยชีวิตตนเอง

ที่มาของชื่อ[แก้]

ในครั้นแรกประสูติได้เกิดปรากฏการณ์ดาวตกขึ้นจากทิศเหนือและจุดที่ได้ลับขอบฟ้าไปนั้นเป็นบริเวณห้องประสูติของพระมเหสีเอกโมฮาซู ทำให้เกิดการวิตกกังวลว่าองค์หญิงนั้นจักเป็นตัวกาลกินีของอาณาจักรนังนังทั้งยังได้รับการยุ่งยงจากพระมเหสีรองจาชิล จากตระกูลวัง เป็นการบีบคั้นพระเจ้าชอยรีให้ทรงทำการสังหารองค์หญิง โดยการใช้บางสิ่งซึ่งคาดว่าเป็นปิ่นปักผมแทงผ่านอก แต่กลับพลาดไปเสีย ทำให้องค์ทรงรอดชีวิตโดยได้รับความช่วยเหลือจากทงโคบี ซังกุงคนสนินของพระมเหสีเอก ช่วยเหลือให้รอดชีวิตโดยการล่องเรือสำเภาลอยไปกลางทะเลวังแฮ ขณะที่มีพายุโดยได้ล่องเรื่องไปกับอิมพลูหลานชายของทงโคบีในครั้งนั้นองค์หญิงน้อยได้เปล่งเสียงร้องดังสุดเสียง แม้จะล่องเรือลอยไปไกลแล้วแต่ก็ยังคงได้ยินเสียงอยู่เรื่อย ด้วยเหตุนั้นเองทำให้องค์หญิงได้รับชื่อว่า ชา-มย็อง แปลว่าใช้เสียงร้องช่วยชีวิตตนเอง

การเอาชีวิตรอดภายหลังการช่วยชีวิต[แก้]

จากหลักฐานทั้งหมดคาดว่า พระองค์ได้ล่องเรือไปติดในอีกฟากผืนดินของชาดหาดวังแฮ คาดว่าน่าจะได้รับความช่วยเหลือจากหมู่บ้านชาวประมงหรือคนเดินทางเร่ร่อน เช่น คณะกายกรรม เป็นต้น แต่เหตุโน้มเอียงว่าเป็นคณะกายกรรม ภายหลังการได้รับความช่วยเหลือครั้งนี้ อ้างอิงจากภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง ชา-มย็อง ยอดหญิงพิทักษ์แผ่นดิน พระนางมีชื่อว่า คิลซาง แต่มีภายในคณะกายกรรมว่าบุ๊กกู ได้รับการฝึกกระบี่และเพลงดาบจากโฮคก อดีตเสนาบดีของท่านอ๋องยูฮอน ที่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิต้าฮั่นส่งมาปกครองนังนัง ซึ่งพระเจ้าชอยรี ร่วมกับแม่ทัพใหญ่วังเก็ง ร่วมกันต่อสู้เพื่อเอกราชของนังนัง ให้เป็นอิสระจากจักรวรรดิฮั่น ในตอนนั้นได้สำเร็จโทษท่านอ๋องยูฮอนเสีย และได้ทำลายเส้นเอ็นที่ขาของเสนาบดีโฮคก จนกลายเป็นคนพิการ และสักอักษรคำว่า"หมู" บนหน้าผากโฮคก ก่อนจะเนรเทศออกไปจากนังนัง โฮคกได้หนีไปอาศัยยังแคว้นเหลียวตง ซึ่งเป็นดินแดนของจักรวรรดิฮั่น และอยู่ไม่ไกลจากนังนังเท่าไรนัก เพียงแค่ข้ามทะเลป๋อไห่ (บัลแฮ) ไปอีกฝั่งเท่านั้น และโฮคกได้ไปอาศัยอยู่กับเจ้าผู้ครองแคว้นเหลียวตง ซึ่งก็ไม่ใช่อื่นไกล เป็นหลานของอ๋องยูฮอนที่ถูกพระเจ้าชอยรีสังหารในคราวประกาศเอกราชนังนังนั่นเอง ตลอดเวลาโฮคกเฝ้าแต่วางแผนทำลายแคว้นนังนังภายใต้การปกครองของพระเจ้าชอยรีอย่างไม่ลดละ เขาได้พบโดยบังเอิญว่าเด็กหญิงกำพร้า ชื่อบุ๊กกู ในคณะกายกรรมเฮเฮฮาฮา ที่แสดงอยู่ในแถบนั้น แท้จริงแล้วคือองค์หญิงชา-มย็อง พระราชธิดาของพระเจ้าชอยรี แห่งอาณาจักรนังนัง ศัตรูหมายเลขหนึ่งของเขา กับพระมเหสีเอกโมฮาซูนั่นเอง โฮคกได้แสร้งเข้าไปทำความคุ้นเคยกับบุ๊กกู และเฮงแจ พี่ชายที่อยู่ในวัยเยาว์ จนกระทั่งเด็กทั้งสองคำนับโฮคกเป็นอาจารย์ และเขาก็เฝ้าถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ให้เด็กทั้งสองเรื่อยมา จนกระทั่งทั้งสองเติบโตเป็นวัยรุ่น และเวลานั้นองค์หญิงลาฮี รัชทายาทแห่งนังนัง และองค์ชายโฮดงแห่งโกคูรยอ ต่างก็เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีในฐานะทูตที่จักรวรรดิฮั่นพอดี ซึ่งจะต้องเดินทางผ่านดินแดนเหลียวตงอันเป็นดินแดนชายแดนของจักรวรรดิฮั่นเสียก่อน องค์ชายและองค์หญิงทั้งสองต้องแวะคำนับเจ้าผู้ครองดินแดนเหลียวตง ซึ่งเป็นขุนนางของจักรพรรดิฮั่นก่อน ซึ่งในงานเลี้ยงรับรองที่เจ้าผู้ครองแคว้นเหลียวตงจัดขึ้นแก่องค์หญิงลาฮีแห่งนังนังนั่นเอง โฮคกจึงได้วางแผนให้บุ๊กกู กับคณะกายกรรมมาแสดงกายกรรม เพื่อเป็นการต้อนรับคณะขององค์หญิงแห่งนังนัง และให้ฉวยโอกาสระหว่างการแสดงขณะที่องค์หญิงนังนังเผลอ ทำการลอบปลงพระชนม์องค์หญิงลาฮี องค์รัชทายาทแห่งอาณาจักรนังนัง ในงานเลี้ยงฉลองในวังของเจ้าผู้ครองแคว้นเหลียวตง แต่ภายหลังแล้วการลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จจึงทำการหลบหนี

จากการหลบหนีในครั้งนั้นทำให้บุ๊กกู และคณะกายกรรมได้พบองค์ชายโฮดงแห่งอาณาจักรโกคูรยอและองค์ชายได้ตั้งให้บุ๊กกูเป็นองครักษ์ประจำพระองค์ โดยมีบทบาทในเรื่องการช่วยชีวิตองค์ชายจากการลอบปลงพระชนม์จากลูกชายคนโตของซงอ๊กกู หัวหน้าเผ่าพีรูระหว่างการเดินทางไปยัง กรุงกุกแนซอง เมืองหลวงของอาณาจักรโกคูรยอ มีการประกาศสงครามที่เมืองบึนบงเขตชายแดนของนังนังและได้ทำการสังหารแม่ทัพใหญ่แห่งนังนังนำไปสู่ชัยชนะของโกคูรยอ ซึ่งทั้งหมดนี้ที่ทำให้กลายเป็นตำนานรักสามเศร้าระหว่าง องค์หญิงชา-มย็อง องค์หญิงลาฮี และองค์ชายโฮดง

ตำนานรักสามเศร้าแห่งเกาหลีที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นที่โด่งดังที่สุด[แก้]

ตำนานรักสามเศร้าที่ถูกกล่าวขานว่าน่าเศร้าสลดเป็นที่สุดเรื่องหนึ่ง ทั้งเป็นที่พิสูจน์ถึงความรัก ภาระหน้าที่และความเป็นจริง มากทีสุด และโด่งดังยิ่งขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนำมาทำเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์

ภายหลังจากที่ได้เป็นองครักษ์ประจำพระองค์ขององค์ชายโฮดง บุ๊กกูได้รับรู้ความจริงเรื่องชาติกำเนิดและภาระหน้าที่ที่แสนเจ็บปวด นั่นก็คือ ความจริงที่ว่าทรงเป็นองค์หญิงชา-มย็อง แห่งแคว้นนังนังและจำเป็นต้องกำจัดองค์ชายแห่งแคว้นโกคูรยอ จึงได้เสด็จกลับไปยังพระราชวังจินยาง กรุงวังกอมซอง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรนังนัง พร้อมกับได้มอบหมายหน้าที่นี้แต่เนื่องพระองค์ยังทรงมีความผิดติดตัวคือการสังหารแม่ทัพใหญ่ของนังนัง จึงได้ทำการจัดฉากการประหารองค์หญิงชา-มย็องขึ้น และองค์หญิงชา-มย็องได้ตัดสินใจบำเพ็ญเพื่อเป็นธิดาเทพ แห่งอาณาจักรนังนัง และหลีกเลี่ยงการแต่งงานกับแม่ทัพใหญ่วังโฮ

ในขณะที่พระเจ้าแดมูซินกับองค์ชายโฮดงได้ว่าแผนจัดฉากเพื่อที่องค์ชายจะได้ไปเป็นไส้ศึกภายในอาณาจักรนังนัง โดยอาศัยความรักขององค์หญิงรัชทายาทแห่งนังนัง (องค์หญิงลาฮี) เป็นเครื่องมือ แต่ทว่าการยึดครองนังนังครั้งกลับไม่ง่ายนักเพราะว่านังนังได้มีกลองวิเศษที่สามารถส่งเสียงดังขึ้นมาได้เอง ชื่อว่า กลองชา-มย็อง ที่จะส่งเสียงดังเมื่อมีศึกศัตรูเข้ามา แต่ด้วยความรักขององค์หญิงนังนังที่มีให้ต่องค์ชายโฮดง ทำให้ยอมขายชาติ ทำลายกลองชา-มย็องทิ้ง และในครั้งนั้นก็ได้ทรงสังหาร องค์หญิงชา-มย็อง พระราชขนิษฐาที่พระองค์แสนชัง เนื่องจากโฮดงที่พระองค์รัก มีใจให้องค์หญิงชา-มย็อง ด้วยมือของพระองค์เอง แต่ภายหลังโกคูรยอชนะศึก องค์ชายโฮดงได้ผิดสัญญาที่ได้ให้ไว้กับองค์หญิงนังนังที่ว่า "หากนังนังยอมสิโรราบแก่โกคูรยอโดยดีแล้ว ประชาชนนังนังจะไม่ต้องตาย เชื้อพระวงศ์จะกลายเป็นชนชั้นสูง จะไม่มีผู้ใดต้องตายหรือกลายเป็นทาส"และสุดท้ายองค์หญิงลาฮีก็ได้ถูกประชาทัณฑ์จากประชาชนโดยที่องค์ชายโฮดงไม่สามารถช่วยอะไรได้ จากเหตุการณ์ครั้งนี้องค์ชายโฮดงต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักคือ องค์หญิงชา-มย็อง และต้องรู้สึกผิดไปตลอดกาลกับ องค์หญิงลาฮี และยังกลายเป็นบุตรเขยที่สังหารพระบิดาและพระมารดาของพระชายา (องค์หญิงลาฮี)

หลังนังนังล้มสลายไปเวลา 1 ปี องค์หญิงชา-มย็องที่ผู้คิดว่าได้สิ้นพระชนม์ไปนั้นก็ได้กลับกอบกู้นังนังคืนพร้อมแม่ทัพใหญ่วังโฮและนายหญิงโม ภรรยาของแม่ทัพใหญ่วังโฮ พร้อมใจที่เต็มไปความหวงแหน คนึงหา และความแค้น ที่มีต่อองค์ชายโฮดง เช่นเดียวกับองค์ชายที่ยังคงรักและหวงแหนองค์หญิงมิเปลี่ยนแปลงไป แต่ด้วยภาระหน้าที่ทำให้ทั้งสองต้องสู้กัน ที่สุดแล้วก็ต้องสิ้นพระชนม์ด้วยกันทั้งสองพระองค์ นั้นคือ องค์หญิงชา-มย็องถูกองค์ชายโฮดงแทงด้านหลัง ในขณะที่ทั้งสองกอดกันอยู่นั้น และดาบได้แทงทะลุมาถึงองค์ชายโฮดงด้วย ทั้งคู่สิ้นพระชนม์พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน ที่ชายหาดวังแฮ ในอ้อมกอดของกันและกัน