ตำบลห้วยบง (อำเภอด่านขุนทด)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลห้วยบง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Huai Bong
ตำบลห้วยบงตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ตำบลห้วยบง
ตำบลห้วยบง
ที่ตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตำบลห้วยบงตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตำบลห้วยบง
ตำบลห้วยบง
ตำบลห้วยบง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ตำบลห้วยบงตั้งอยู่ในประเทศไทย
ตำบลห้วยบง
ตำบลห้วยบง
ตำบลห้วยบง (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°06′46″N 101°30′22″E / 15.112891°N 101.506049°E / 15.112891; 101.506049
ประเทศไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอด่านขุนทด
พื้นที่
 • ทั้งหมด200.97 ตร.กม. (77.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด10,551 คน
 • ความหนาแน่น53 คน/ตร.กม. (140 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30210
รหัสภูมิศาสตร์300805
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอด่านขุนทด
การปกครอง
 • นายกนายเจริญ บัวหลวงงาม
รหัส อปท.06300805
ที่อยู่ที่ทำการ219 หมู่ที่ 15 ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210
โทรศัพท์0 4400 2234
โทรสาร0 4400 2234
เว็บไซต์www.hauybongkorat.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลห้วยบง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย ทั้งพื้นที่ของตำบลบริหารโดย องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ตำบลห้วยบงตั้งขึ้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2526 โดยแยกออกจากตำบลหินดาด[2]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

การจัดตั้งเป็นอำเภอ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2532 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เคยมีการพยายามขอจัดตั้งกิ่งอำเภอห้วยบง โดยตำบลห้วยบง ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด และตำบลวังโรงใหญ่ ตำบลกฤษณา ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว แต่ไม่ถูกดำเนินการต่อ เนื่องจากเกณฑ์การจัดตั้งอำเภอในขณะนั้น ต้องเป็นตำบลจากพื้นที่อำเภอเดียวกัน[3]

เมื่อปี พ.ศ. 2563 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงการจัดตั้งอำเภอใหม่ของจังหวัดนครราชสีมาขึ้นใหม่ 4 อำเภอ ซึ่งอำเภอห้วยบงเป็นหนึ่งในอำเภอที่ถูกเสนอจัดตั้งเป็นอำเภอแห่งใหม่ เนื่องจากตำบลห้วยบง ห่างจากตัวอำเภอด่านขุนทด เกือบ 40 กม. จึงความยากลำบากในการบริการประชาชน รวมถึงความห่างไกลของพี่น้องประชาชนที่ต้องเดินทางไปรับบริการที่อำเภอ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการของการเสนอ[4][5]

หมู่บ้าน[แก้]

หมู่บ้านเริ่มแรกที่แยกจัดตั้งตำบลห้วยบง มีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน[2] คือ

  • หมูที่ 1 บ้านห้วยบง ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 18 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 2 บ้านหนองกราดน้อย ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 12 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 3 บ้านป่ารังงาม ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 8 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 4 บ้านศิลาร่วมสามัคคี ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 16 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 5 บ้านน้อยพัฒนา ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 19 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 6 บ้านซับพลู ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 10 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 7 บ้านซับยาง ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 17 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 8 บ้านหนองใหญ่ ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 15 ตำบลหินดาด
  • หมูที่ 9 บ้านหินเพิง ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด

ปัจจุบันตำบลห้วยบงแบ่งการปกครองออกเป็น 25 หมู่บ้าน

ข้อมูลหมู่บ้านในตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (ข้อมูลปี พ.ศ. 2564)[1]
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ห่างจาก
ตัวตำบล (กม.)
หลังคาเรือน ประชากร
ชาย หญิง รวม
-
ทั้งตำบล
- 4,055 5,354 5,197 10,551
1
ห้วยบง
0 326 354 372 726
2
หนองกราดน้อย
7.4 252 458 407 865
3
ป่ารังงาม
8.9 183 296 282 578
4
ศิลาร่วมสามัคคี
12 186 267 254 521
5
น้อยพัฒนา
3.5 200 238 233 471
6
ซับพลู
9.2 287 396 390 786
7
ซับยาง
16 175 250 240 490
8
หนองใหญ่
11 235 284 292 576
9
หินเพิง
19 90 111 126 237
10
ภูผาทอง
13 125 169 174 343
11
วังผาแดง
9.2 124 150 144 294
12
เสาร์ห้า
5 114 175 164 339
13
ไทยสงบ
12 147 215 204 419
14
ซับพลูน้อย
8 188 239 238 477
14
ทรัพย์สมบูรณ์
0 399 242 234 476
16
ซับไทร
15 117 155 152 307
17
ถ้ำเต่า
3.5 89 161 166 327
18
วังไทรงาม
22 83 135 128 263
19
โนนสะอาด
14 90 128 133 261
20
โปร่งใหญ่
4.2 169 241 211 452
21
ซับน้ำเย็น
14 52 93 76 169
22
มอสุวรรณ
7.1 109 151 132 283
23
ซับสนุ่น
10 146 206 195 401
24
ห้วยโปร่ง
8.9 112 148 154 302
25
ซับเจริญ
12 57 92 96 188

ประชากร[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัด 17 แห่ง เส้นทางคมนาคมหลัก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (ถนนชัยบาดาล–ด่านขุนทด) ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นหมู่ที่ 15 หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย

ตำบลห้วยบง มีประชากรทั้งหมด 10,551 คน แบ่งเป็น ชาย 5,354 คน หญิง 5,197 คน ข้อมูล ณ สิ้นปี 2564

ประชากรตำบลห้วยบง
แบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2536 8,178—    
2537 8,358+2.2%
2538 8,576+2.6%
2539 8,733+1.8%
2540 8,950+2.5%
2541 9,137+2.1%
2542 9,307+1.9%
2543 9,357+0.5%
2544 9,450+1.0%
2545 9,550+1.1%
ปีประชากร±%
2546 9,575+0.3%
2547 9,711+1.4%
2548 9,792+0.8%
2549 9,807+0.2%
2550 9,817+0.1%
2551 9,881+0.7%
2552 9,933+0.5%
2553 9,972+0.4%
2554 9,939−0.3%
2555 10,032+0.9%
ปีประชากร±%
2556 10,120+0.9%
2557 10,169+0.5%
2558 10,231+0.6%
2559 10,302+0.7%
2560 10,419+1.1%
2561 10,470+0.5%
2562 10,496+0.2%
2563 10,521+0.2%
2564 10,551+0.3%
อ้างอิง: [6] กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ทางหลวง[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

ด้านการศึกษา[แก้]

สถานบันอุดมศึกษา
สถานบันวิจัย
โรงเรียน

ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา 9 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่

สถานศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลด่านขุนทด

สถานศึกษา/ระดับการศึกษา จำนวนครู จำนวนนักเรียน
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
-
-
โรงเรียนบ้านหินเพิง 7 49
โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ 19 186
โรงเรียนบ้านห้วยบง 19 272
โรงเรียนบ้านซับพลู 16 138
โรงเรียนบ้านซับยาง 9 93
โรงเรียนบ้านป่ารังงาม 6 67
โรงเรียนบ้านศิลาร่วมสามัคคี 18 176
โรงเรียนบ้านหนองกราดน้อย 10 87
โรงเรียนบ้านน้อยพัฒนา 13 140
สังกัด อบจ. นครราชสีมา
-
-
โรงเรียนมัธยมหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ - -
รวม 117 1,208
  • ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564

ด้านการศาสนา[แก้]

วัด
ศาลเจ้า
  • ศาลเจ้าพ่อเขาผาแดง
  • ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ (แบบจีน) ตลาดห้วยบง

ด้านความปลอดภัย[แก้]

  • สถานีตำรวจภูธรหินดาด
  • ป้อมตำรวจห้วยบง
  • ป้อมตำรวจหนองใหญ่

ด้านการสาธารณสุข[แก้]

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบง
  • สถานีอนามัยซับพลู
  • สถานีอนามัยหนองใหญ่

ด้านทัพยากรธรรมชาติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] ข้อมูลประชากร ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (ธันวาคม 2564) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก: [2] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโชคชัย อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. 141 ง เล่มที่ 100 หน้า 3100-3106 .เมื่อ 30 สิงหาคม 2526
  3. ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก: [3] กระทู้ถามที่ 126 ร. เรื่อง ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอห้วยบง จังหวัดนครราชสีมา. 148 เล่มที่ 106 หน้า 6473-6474 .เมื่อ 7 กันยายน 2532
  4. "เปิดโฉม 4 อำเภอใหม่โคราช! ผู้ว่าฯ ดันตั้งเพิ่มเป็น 36 อำเภอ เตรียมชงเข้างบฯ ปี 2565". MGR Online.
  5. "โคราชชง'4อำเภอ'ใหม่ ดัน'ปกครองพิเศษ'". มติชน Online.
  6. "จำนวนประชากร แบ่งรายปี กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย".
  7. "สวบ. นำนักวิจัยลงพื้นที่ โครงการจัดตั้ง สทป.ศูนย์นครราชสีมา (สำเนาที่เก็บถาวร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  8. "สำนักวิจัยฯ ลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ชาวบ้าน ณ สทป.ศูนย์นครราชสีมา (สำเนาที่เก็บถาวร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-17. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  9. "สวบ. ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาพื้นที่ศูนย์นครราชสีมา (สำเนาที่เก็บถาวร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-22. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.