องค์การปลดปล่อยสหปัตตานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การปลดปล่อยสหปัตตานี
Pertubuhan Pembebasan Bersatu Patani
ڤرتوبوهن ڤمبيبسن برساتو ڤتنا

มีส่วนร่วมในความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ปฏิบัติการค.ศ. 1968 (1968) – ปัจจุบัน
แนวคิดลัทธิแบ่งแยกดินแดน
ลัทธิอิสลาม
ชาตินิยม
ผู้นำกาบิร อับดุลเราะห์มาน
ดร. ฮารง มูเล็ง
หะยีฮาดี บินรอซาลี
พื้นที่ปฏิบัติการภาคใต้
ปรปักษ์ ไทย
การสู้รบและสงครามความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2511 – 2532
ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2532 – 2548
ธงขององค์กรกู้เอกราชสหปาตานี พ.ศ 2548 – ปัจจุบัน

องค์การปลดปล่อยสหปัตตานี หรือ พูโล (อังกฤษ: Patani United Liberation Organization หรือ PULO) ก่อตั้งเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2511 โดยตวนกูบีรอ กอตอนีลอ[1] หรือ อดุลย์ ณ วังคราม บัณฑิตจากอินเดีย ได้รวมเพื่อน ๆ จัดตั้งองค์กรนี้ที่ซาอุดิอาระเบีย การดำเนินงานในระยะแรกเน้นการปลุกระดมมวลชนโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ผู้นำศาสนาและผู้นำท้องถิ่น

พูโลจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2519 ผู้นำกองกำลังที่สำคัญมีหลายคน เช่น หะยียูโซะ ปากีสถาน และหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ มีการส่งเยาวชนไปฝึกวิชาทหารและการก่อวินาศกรรมที่ลิเบียและซีเรีย องค์กรเริ่มมีปัญหาจากการปราบปรามของรัฐและนโยบายใต้ร่มเย็นในช่วงหลัง จน พ.ศ. 2525 จนนำไปสู่การแตกแยกภายในองค์กร

การแยกตัวเป็นพูโลเก่าและพูโลใหม่[แก้]

พ.ศ. 2528 ดร.ฮารง อเมริกา หรือ ฮารง มูเล็ง บังคับให้ตนกูบีรอกอตอนีลาออก หะยีสะมะแอ ท่าน้ำที่อยู่ฝ่านตนกูบีรอไม่พอใจจึงเริ่มมีการแข็งข้อ พ.ศ. 2531 ดร.ฮารงถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง ผลของความขัดแย้งนี้ทำให้หะยีสะมะแอแยกไปจัดตั้งกลุ่มอาบูยาบาลเมื่อ พ.ศ. 2532

พูโลใหม่[แก้]

ไฟล์:Logo pulo.gif
ตราพูโลจากเว็บไซต์พูโล เริ่มใช้ปี 2548 มีดาวห้าดวง

ดร.ฮารงและหะยีฮาดี บินรอซาลี ได้ปรับองค์กรใหม่เปลี่ยนชื่อและสัญลักษณ์ขององค์กร จน พ.ศ. 2536 หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ กับหะยีสะมะแอขัดแย้งกัน หะยีดาโอ๊ะหนุน ดร.ฮารงให้แยกมาจัดตั้งพูโลใหม่เมื่อ พ.ศ. 2538 จน พ.ศ. 2541 พูโลใหม่ประสบปัญหาเมื่อสมาชิกระดับแกนนำหลายคนถูกจับกุมรวมทั้งหะยีดาโอ๊ะ บางส่วนทยอยออกมอบตัว ปัจจุบันการต่อสู้ด้วยอาวุธของพูโลใหม่เหลือไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดนราธิวาสและยะลา กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำของคณะกรรมการที่มี่จำนวนประมาณ 20 คน มีหะยีฮาดี บินรอซาลี เป็นผู้นำ และไม่มีผู้ใดปรากฏในสื่อมวลชน นอกจากลุกมาน บินลีมา ที่มีฐานเคลื่อนไหวในสวีเดน มีเว็บไซต์เป็นของตนเองคือ pulo.org จากนั้นใด้มีการเปลียนแปลงชื่อเว็บไซต์เป็น www.puloinfo.net

พูโลเก่า[แก้]

กลุ่มของตนกูบีรอได้รับการเรียกขานว่าพูโลเก่าซึ่งแม้กลุ่มของดร.ฮารงจะแยกออกไปแล้ว แต่กลุ่มนี้ก็ยังมีความขัดแย้งภายในอยู่ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายทหาร

พูโลผสม[แก้]

ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 พูโลเก่าและใหม่ได้ประชุมและลงมติให้ทั้งสองกลุ่มรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง โดยมีนายกัสตูรี มะห์โกตา ในสวีเดนเป็นโฆษก

อ้างอิง[แก้]

  1. Liow, Joseph Chinyong (2004). "The Security Situation in Southern Thailand: Toward an Understanding of Domestic and International Dimensions". Studies in Conflict & Terrorism. 27 (6): 531–548. doi:10.1080/10576100490513701.
  • สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี; ดอน ปาทาน. สันติภาพในเปลวเพลิง. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุกส์. ธันวาคม 2547. ISBN 9749697480.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]