หาดหัวหิน

พิกัด: 7°34′26″N 99°17′23″E / 7.573797°N 99.289635°E / 7.573797; 99.289635
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หาดหัวหิน

หาดหัวหิน เป็นชายหาดตามธรรมชาติของอำเภอหัวหิน มีความยาวราว 20 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

ชายหาดอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งแรกของเมืองไทย ด้วยน้ำทะเลใส ทรายสะอาด บรรยากาศดี จึงเป็นที่ใฝ่ฝันและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมานาน ทุกยุคทุกสมัย โดยเป็นที่มาของ นวนิยายแและละครหลากเรือง เช่น ปริศนา รวมทั้งยังมีพระราชวังไกลกังวล สำหรับแปรพระราชฐานในฤดูร้อน โดยจุดสังเกตพิเศษ ชาดหาดจะมีเขื่อนหินซีเมนต์ซึ่งถุกก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 [1] ก่อนการเริ่มก่อสร้างพระราชวัง ในรัชกาลที่ 5 และไม่มีถนนเลียบหาดเนื่องจาก ชายหาดในสมัยโบราณจำเป็นจำต้องให้มีบ้านพักของขุนนางและพระญาติ เพื่อมิให้มีผู้บุกรุกทางชาดหาดและทะเล จึงทำให้ที่ดินในปัจจุบันสามารถมีหาดติดส่วนของที่ดินได้ แต่มิใช้ หาดจะเป็นสถานที่ส่วนตัวยังถูกดูแลโดยส่วนเทศบาล โดยยังมีโรงแรมซึ่งเดิมเป็นของเชื้อพระวงศ์คือ วังจักรพงศ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ ปัจจุบันเป็นโรงแรมฮิลตัน หัวหิน และโรงแรมรถไฟ ซึ่งเป็นโรงแรมดั้งเดิมของหัวหิน และยังมีบ้านพักตากอากาศส่วนตัว เช่น บ้านประเสริฐ บ้านสายนัดดา บ้านกิติก้อง บ้านรวมสุข บ้านกินนอน บ้านล่ำซำ บ้านสามสุข บ้านฮุนซุยโห อาคารบ้านพักเล่านี้ได้รับการดูแลและบูรณะขึ้นใหม่ จึงยังสวยงามน่าชม นักท่องเที่ยวยืนชมได้จากชายหาดเท่านั้น

สถานที่ตั้ง[แก้]

หาดหัวหิน อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอหัวหิน และมีความยาวพาดผ่านตลอดอำเภอ ในความยาวราว 20 กิโลเมตร

ทางลงชายหาดเทศบาลหัวหิน[แก้]

ทางลงชายหาดมีอยู่ประปราย ตามรายถนนเล็ก แต่ที่เป็นที่นิยม บริเวณทางลงชายหาดห่างจากเทศบาลหัวหินไปเพียง 2.5 กิโลเมตร ก็จะพบหาดทรายขาวสะอาดโดยประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวไปจรดเข้าตะเกียบ โดยการจัดบำรุงของเทศบาลหัวหิน จึงไม่มีกิจกรรมทางน้ำ ยกเว้นกีฬาทางน้ำบางประเภทเช่น สกีไดร์ และเรือใบ โดยจะมีการจัดแข่งขันกันปีละครั้ง

ทางลงหาดมีสองจุด คือ ปลายถนนดำเนินเกษม บริเวณโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท และวิลลา หัวหิน (โรงแรมรถไฟเดิม) ซึ่งเป็นจุดหลักที่มีนักท่องนิยมกันมาก ส่วนอีกจุดคือบริเวณศาลเจ้าแม่ทับทิม-ศาลเจ้าพ่อสายน้ำเขียว ถนนนเรศดำริ ซึ่งสามารถนำรถไปจอดได้ที่หน้าลานศาลเจ้าแม่ทับทิม

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

7°34′26″N 99°17′23″E / 7.573797°N 99.289635°E / 7.573797; 99.289635