หอยเบี้ยแก้ตัวเล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอยเบี้ยแก้ตัวเล็ก
หอยเบี้ยแก้ตัวเล็กที่มีชีวิต กำลังกินอาหาร
เปลือกหอยแก้ตัวเล็กทั้งด้านบนและด้านล่าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
ไม่ได้จัดลำดับ: clade Caenogastropoda

clade Hypsogastropoda
clade Littorinimorpha

วงศ์ใหญ่: Cypraeoidea
วงศ์: Cypraeidae
สกุล: Monetaria
สปีชีส์: M.  caputserpentis
ชื่อทวินาม
Monetaria caputserpentis
Linnaeus, 1758
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีเหลือง)
ชื่อพ้อง
  • Cypraea mauritiana Linnaeus, 1758
  • Cypraea reticulum Gmelin, 1791
  • Cypraea bandata Perry, 1811
  • Cypraea albella Lamarck, 1822
  • Cypraea caputanguis Philippi, 1849
  • Cypraea caputanguis var. sophia Brazier, 1897
  • Cypraea caputserpentis Linnaeus, 1758
  • Cypraea caputserpentis var. caputcolubri Kenyon, 1898
  • Cypraea caputserpentis var. candidata Sullioti, 1924
  • Cypraea caputserpentis var. argentata Dautzenberg & Bouge, 1933
  • Erosaria caputserpentis (Linnaeus, 1758)
  • Erosaria (Ravitrona) caputserpentis kenyonae Schilder & Schilder, 1938
  • Erosaria (Ravitrona) caputserpentis mikado Schilder & Schilder, 1938
  • Erosaria (Ravitrona) caputserpentis var. albosignata Coen, 1949

หอยเบี้ยแก้ตัวเล็ก หรือ หอยเบี้ยหัวงู (อังกฤษ: Serpent's-head cowry) เป็นหอยทะเลเปลือกเดียวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monetaria caputserpentis อยู่ในวงศ์ Cypraeidae

มีเปลือกหนา เปลือกเป็นรูปครึ่งทรงกลมด้านล่างแบนด้านหลังโค้งนูน ด้านข้างแผ่ออกเป็นฐาน มีช่องเปิดปากอยู่ทางด้านข้างเป็นร่องยาว มีฟันที่ขอบทั้งสองข้างไม่มีฝาปิด พื้นผิวด้านบนมีสีน้ำตาลแต้มด้วยจุดขาวเล็ก ๆ กระจัดกระจาย พบได้ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก เช่น ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลฟิลิปปิน จนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบตามบริเวณที่มีปะการังในเขตน้ำตื้นไปจนถึงบริเวณที่เป็นร่องน้ำและน้ำค่อนข้างลึกได้ถึง 200 เมตร กินสาหร่ายและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร[1]

เป็นหอยที่คนโบราณใช้เป็นของขลังทางไสยศาสตร์เหมือนหอยเบี้ยจั่น (M. moneta) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน โดยนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่าช่วยป้องกันคุณไสยต่าง ๆ ได้

และปัจจุบันยังใช้เป็นของสะสมของผู้ที่นิยมสะสมเปลือกหอยด้วย โดยปกติแล้วเป็นเปลือกหอยที่มีราคาไม่แพง แต่ในตัวที่สวย เช่น มีสีดำสนิทแผ่ออกไปอย่างมากและมีแต้มสีแดงสดหรือมีสีเขียวระยิบระยับที่ปากขอบ จะมีราคาที่แพงมาก[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รู้ไว้ได้ประโยชน์ : หอยเบี้ยแก้เล็ก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-18. สืบค้นเมื่อ 2011-10-10.
  2. จอม ปัทมคันธิน, ดวลหอย คอลัมน์ Aqua Pets หน้า 84-91 นิตยสาร Aqurium Biz ฉบับที่ 9 ปีที่ 1: มีนาคม 2011