หวน มุตตาหารัช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร้อยตำรวจเอกหวน มุตตาหารัช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2446
อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
เสียชีวิต13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 (83 ปี)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสกนกวรรณ มุตตาหารัช

ร้อยตำรวจเอกหวน มุตตาหารัช (8 เมษายน พ.ศ. 2446 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และ อดีตที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

ร้อยตำรวจเอกหวน มุตตาหารัช เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2446 เป็นบุตรของนายช่วย และ นางเพรา มุตตาหารัช [1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร้อยตำรวจเอกหวน มุตตาหารัช เสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 สิริอายุ 83 ปี

การทำงาน[แก้]

พ.ศ. 2476-2482 ดำรงตำแหน่งอักษรเลข ทำหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา หลังจากนั้นมาเป็นปลัดอำเภอเมือง

ต่อมาทางราชการโอนไปเป็นตำรวจ เพราะก่อนนั้นมีหน้าที่จับกุม ไม่ได้สอบสวน หน้าที่สอบสวนเป็นของอำเภอ ซึ่งส่วนใหญ่จบมาทางกฎหมาย เมื่อโอนไปเป็นตำรวจได้ยศ ร.ต.ต. ทำหน้าที่สอบสวน คดีต่างๆ ประจำสถานีตำรวจแหลมทราย สงขลา

จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อ พ.ศ. 2484 ย้ายไปประจำการที่สถานีตำรวจอำเภอเบตง เมื่อถึงสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ร้อยตำรวจเอกหวน จึงเข้าสู่สมรภูมิสงครามมหาเอเชีย บูรพาอย่างเต็มตัว นำกำลังเข้าต่อต้านกองทัพอังกฤษบริเวณชายแดนอำเภอเบตง กระทั่งได้รับสมญาว่าเป็น “วีรบุรุษเบตง” เพราะติดอยู่บนภูเขาหลายวัน จนทางราชการจำหน่ายชื่อสาบสูญ แต่ต่อมาก็กลับมาได้

ต่อมา ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่งรองผู้กำกับ ได้ยศร้อยตำรวจเอกที่ จังหวัดยะลา ต่อมาไม่นานก็ได้รับคำสั่งให้ไปเป็นนายตำรวจประจำรัฐตรังกานู

พ.ศ. 2486 กลับไปเป็นนายอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ต่อมา ย้ายมาเป็นนายอำเภอสะเดา

พ.ศ. 2490 เมื่อถูกย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอระโนด จึงได้ขอลาออกจากราชการในวันที่ 10 ธันวาคม 2490

งานการเมือง[แก้]

ร้อยตำรวจเอกหวน ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกใน พ.ศ. 2491 และได้รับเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ร้อยตำรวจเอกหวน มุตตาหารัช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดสงขลา

อ้างอิง[แก้]