หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจัดการสอนลูกเสือ หนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร

ลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากผลการวิจัยและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยเน้นการปรับปรุงข้อผิดพลาดและอุปสรรคของการใช้หลักสูตรที่เกิดขึ้น[1] หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยเริ่มใช้นำร่องครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 และบังคับใช้ทั่วประเทศในทุกชั้นเรียนปีการศึกษา 2555[2] หลักสูตรฉบับนี้มีการปรับปรุงล่าสุดใน พ.ศ. 2560[3] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยกเลิกหรือปรับหลักสูตรฉบับนี้ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งเป้าหมายจะนำร่องหลักสูตรฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2565[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. สี่มหาศาล, เอกรินทร์. เรื่องน่ารู้สู่การใช้หลักสูตรแกนกลาง '51. อักษรเจริญทัศน์ อจท. p. 1.
  2. "ความเป็นมาของการปรับหลักสูตร" (PDF). สพม. 23. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.[ลิงก์เสีย]
  3. "คำสั่ง สพฐ. 2 ฉบับ ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และการปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551". ครูบ้านนอก.คอม. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  4. ""ณัฏฐพล" จี้ใช้หลักสูตรใหม่ปี 65-เน้นฐานสมรรถนะ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  5. ""ณัฏฐพล" ลุยโละหลักสูตรฐานสมรรถนะ เขย่าใหม่เน้นเด็กคิดวิเคราะห์". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  6. "กระทรวงศึกษาธิการยกเครื่องหลักสูตรขั้นพื้นฐานใหม่ ให้มีความทันสมัย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.

หลักสูตรเชิงพื้นที่(Area base curriculum)

             *อัจฉรา ภาณุรัตน์

....คำว่า SIFF ย่อมาจากSurin International Folklore Festival เริ่มต้นเมื่อ 2549 โดยการระดมทุนจากคณาจารย์และนักศึกษาPh.D.ในหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ซึ่งเป็นหลักสูตรเชิงพื้นที่(Area Base Curriculum) มีเงื่อนไขให้คณาจารย์และนักศึกษาทำดุษฏีนิพนธ์ในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขงโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา(Ethnography Research)

......นักวิจัยมีบทบาทหน้าที่เก็บข้อมูลภาคสนามที่ประเทศเพื่อนบ้านเปรียบประยุกต์ผลการวิจัยกับประเทศไทย ในประเด็นความจริง ความดี และความงามของสิ่งมีชีวิตในอนุภูมิภาคดังกล่าว

......นอกจากนี้ยังร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มเทศกาลคติชนวิทยานานาชาติในนาม"SIFF"ทำให้นักศึกษาและคณาจารย์มีพื้นที่การวิจัยกว้างขึ้นในระดับนานาชาติ อันเป็นประโยชน์ให้สามารถผลิตองค์ความรู้ใหม่ในสามระดับคือ

1. ท้องถิ่นในประเทศไทย

2. ความเป็นพี่น้องกัน ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน และความเป็นชาติพันธุ์และลัทธิศาสนาที่เกี้อกูลกัน ในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง 6 ประเทศ(จีน เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และ

เวียตนาม)....

และ 3.ระดับนานาชาติ โดยการรับเข้าศิลปินแต่ละประเทศเดินทางมานำเสนอเอกลักษณ์และวิถีชีวิต ร่วมสัมมนา พักแรม และแลกเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อมิตรภาพและความเป็นเพื่อนกันทั่วโลกในเดือนมกราคม ของทุกปี (ตั้งแต่ 2549เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน)  ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สามารถบูรณาการองค์กรของรัฐ องค์กรภาคประชาชนหมายถึงมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ(SRRU International Folklore Foundation)เข้ากับการบริหารหน่วยงานในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร้รอยต่อ

อาจเรียกได้ว่าเป็นเพชมหาวิทยาลัย ในเอเชีย

ซึ่งมีคำสำคัญ ได้แก่

การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา,

นิทานพื้นบ้าน / สันทนาการ,

การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้, ความเป็นสากล, การวิจัยแบบสหวิทยาการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำระหว่างประเทศ, ห้องเรียนระดับโลก,

ตัวบ่งชี้การพัฒนาคณะและภาควิชา

และนักวิจัยและพัฒนา

........จึงน่าเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราสามารถนำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ด้วย "Soft Power"

หรือพลังบารมีแห่งคติชนวิทยาเพื่อการแก้ไขและเดินต่อในยุคสังคมแบบโลกของความเปราะบางหรือ BANI(Bristle, Anxious,Nonlinear and Incomprehensible)  เราควรใช้การวิจัย (ทั้งทางวิทยาศาสตร์และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม) ในลุ่มน้ำระหว่างประเทศเพื่อดึงดูดนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เพราะพวกเขาคือลูกค้ารายแรก ลูกค้าถาวร และผู้ผลิตของมหาวิทยาลัย

........อนึ่ง แม่น้ำนานาชาติหรือแม่น้ำระหว่างประเทศเป็นสถานที่สำคัญในทุกจุดยุทธศาสตร์ของแต่ละทวีป หากศึกษาอย่างจริงจังจะพบว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเป็นจุดขยายการโฆษณาชวนเชื่อของลัทธิการปกครองคู่ตรงข้ามตลอดสายของแม่น้ำ อาทิแม่น้ำแม่โขง แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำสินธุ แม่น้ำดานูบเป็นตัน  และมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีความโดดเด่นทางด้านการวิจัยและวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว

......ดังนั้น หลักสูตรเชิงพื้นที่(Area Base)ที่เจาะจงดำเนินการวิจัยในลุ่มแม่น้ำนานาชาติทั้งหลาย จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการแลกเปลี่ยนและความสัมพันธ์ข้ามทวีปเพื่อปรองดองกัน

รักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกันและเพื่อใช้กลไกทางคติชนวิทยาสร้างความเป็นพี่น้องกันทั้งโลกต่อไป.

หนังสืออ้างอิง

Achara Phanurat(2008)Experimental Reseach : 13 years Hibernation,

Surin: Rungtanakiat offset.

SRRU (2006) Regional Development Strategies Curriculum. Surin : SRRU Press.