หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงอนุสารสุนทร)
หลวงอนุสารสุนทร
เกิดพฤศจิกายน พ.ศ. 2410
เมืองนครลำพูน
เสียชีวิต9 ตุลาคม พ.ศ. 2477 (66 ปี)
เมืองนครเชียงใหม่ นครเชียงใหม่
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสคำเที่ยง บุรี
บุตรกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
ยงค์ ชุติมา

หลวงอนุสารสุนทร หรือชื่อจริงคือ สุ่นฮี้ ชุติมา เป็นคหบดีชาวเชียงใหม่และกรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

สุ่นฮี้ ชุติมา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2410 ที่เมืองลำพูน เป็นบุตรคนที่ 6 ของนายต้อย แซ่ฉัว ชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้ง และนางแว่น แซ่แต้ เมื่อบิดาเสียชีวิตลงในปีพ.ศ. 2428 นายสุ่นฮี้ย้ายจากบ้านดั้งเดิมที่ลำพูนมาอยู่บ้านใหญ่ที่เชียงใหม่ และเข้ารับช่วงดูแลกิจการและทรัพย์สินของครอบครัว นายสุ่นอี้เปิดห้างค้าของเบ็ดเตล็ด ทั้งนาฬิกา ตะเกียง ปืน เป็นต้น

นายสุ่นฮี้ทำการสมรสกับนางสาวคำเที่ยง บุรี เมื่อพ.ศ. 2431 หลังจากนั้นก็ได้ร่วมตั้งห้างย่งไท้เฮง (ร่วมทุนกับหลวงนิกรจีนกิจ) ขึ้นที่ถนนท่าแพ และยังตั้งห้างชัวย่งเส็ง หรือต่อมาคือห้างอนุสารฯเปิดขายสินค้าเบ็ดเตล็ด โดยล่องเรือหางแมงป่องนำสินค้าเกษตรและของป่าไปขายยังกรุงเทพและซื้อเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องจักรต่างๆขึ้นมาขาย ห้างชัวย่งเส็งจึงเป็นที่นิยมของบรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือ มิชชันนารี และข้าราชการในเชียงใหม่เป็นอันมาก นอกจากนี้นายสุ่นฮี้และนางคำเที่ยงยังทำธุรกิจโรงรับจำนำ

ในพ.ศ. 2453 นายสุ่นฮี้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "ขุนอนุสารสุนทร" และในพ.ศ. 2467 ก็ได้เลื่อนเป็น "หลวงอนุสารสุนทร" ที่ตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ หลวงอนุสารสุนทรยังเป็นผู้ริเริ่มกิจการเดินรถโดยสารขึ้นในเชียงใหม่ รับส่งผู้โดยสารระหว่างเชียงใหม่–ลำพูน ในการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นท่านจึงริเริ่มให้มีโรงเรียนขึ้น โดยหลวงอนุสารสุนทรได้ติดต่อหาครูสอนภาษาอังกฤษมาจากเมืองมะละแหม่งชื่อหม่องส่วยต่อ เปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้น ชื่อว่า "โรงเรียนหม่องส่วยต่อ"

บุตร-ธิดา[แก้]

หลวงอนุสารสุนทร และนางคำเที่ยง บุรี มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ:

และมีบุตรธิดากับภรรยาคนรอง 5 คน คือ นายสงัด บรรจงศิลป์,นายเชื้อ ชุติมา,นางสาวกรองทอง ชุติมา,นายวิพัฒน์ ชุติมา และนายชัชวาล ชุติมา

บรรพบุรุษ[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. ต้อย แซ่ฉัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. หลวงอนุสารสุนทร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. ซ้อ แซ่แต้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. แว่น แซ่แต้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. หงส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

  • แจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์. ประวัติหลวงอนุสารสุนทร
  • มุจลินทร์ เพ็ชรรุ่ง (2553). การศึกษาบทบาทของชาวจีน ใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์