หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงพ่อเชียงแสน
(วัดธรรมาธิปไตย)
ชื่อเต็มหลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)
ชื่อสามัญหลวงพ่อเชียงแสน วัดธรรมาฯ, หลวงพ่อเชียงแสน
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย-เชียงแสนชั้นครู
(เชียงแสนแปลง หรือแบบท่านมหาสวน) [1]
ความกว้าง89 ซม.
ความสูง143 ซม. (ตลอดถึงพระรัศมี) [2]
วัสดุสำริด
สถานที่ประดิษฐานอาคารอุโบสถธรรมสภา ชั้นสอง วัดธรรมาธิปไตย
ความสำคัญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ศิลปะเชียงแสน-สุโขทัยองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์
(ที่อัญเชิญมาจากวัดราชบูรณะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2)
หมายเหตุอาคารธรรมสภาชั้นสองจะเปิดในงานสำคัญของวัดเท่านั้น ผู้ประสงค์เข้าชมต้องติดต่อเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุผู้ดูแลในวัด
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย) เป็นพระประธานในอุโบสถธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ขนาดหน้าตักกว้าง 38 นิ้ว สูง 67 นิ้ว) มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย เนื้อโลหะสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ สกุลช่างสุโขทัย-เชียงแสน สร้างในช่วงรอยต่อการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย มีอายุกว่า 800 ปี พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2488

หลวงพ่อเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย-เชียงแสนองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์[3]

ความสำคัญ[แก้]

เป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ศิลปะสุโขทัย-เชียงแสนองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่นำมาจากวัดราชบูรณะราชวรวิหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ศิลปะ[แก้]

ดุเพิ่มได้ที่ หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์

ประวัติ[แก้]

พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ (ในสมัยนั้น) นำหลวงพ่อเชียงแสนมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2485 ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ และนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานอาคารอุโบสถธรรมสภา ที่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปโบราณสำคัญ 1 ใน 4 องค์ และเป็นพระพุทธรูปยุคสุโขทัย-เชียงแสนองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน โดยหลวงพ่อเชียงแสนนั้น ได้มีการจารึกที่ฐานพระระบุว่าสร้างใน พ.ศ. 2491 ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรืออาจเป็นกุศโลบายในการป้องกันพระจากการโจรกรรมก็เป็นได้

ดูประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย) เพิ่มได้ที่ ประวัติพระพุทธสุโขทัยไตรโลกเชษฐ์ ฯ เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เขียน ยิ้มศิริ และมานิต วัลลิโภดม. (2500). พุทธานุสรณ์. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ, เล่ม 104, ตอน 235, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530, หน้า 10
  3. เทวประภาส มากคล้าย. (2551). สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]