หลวงพ่อบ้านแหลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงพ่อบ้านแหลม
ชื่อเต็มหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร
ชื่อสามัญหลวงพ่อบ้านแหลม
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางอุ้มบาตร ศิลปะอยุธยา
ความกว้าง- เมตร
ความสูง2 เมตร 80 เซนติเมตร
วัสดุสำริด ปิดทอง
สถานที่ประดิษฐานพระอุโบสถ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร สมุทรสงคราม
ความสำคัญพระพุทธรูปสำคัญ ของจังหวัดสมุทรสงคราม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงคราม

ประวัติ[แก้]

ตามตำนานเล่ากัน หลวงพ่อบ้านแหลม มีความสัมพันธ์กับตำนานหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่มีเพิ่มเติมจำนวนพระพุทธรูปจาก 3 องค์ เป็น 5 องค์ กล่าวคือ มีเรื่องเล่ากันมาว่า มีพระพุทธรูป 5 องค์ ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลางก็ได้แยกย้ายกันไปประดิษฐานอยู่ตามจังหวัดต่างๆ รวม 5 จังหวัด

หลวงพ่อบ้านแหลม มีตำนานอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวว่า ชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากอยู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2307 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวประมง วันหนึ่งได้มีชาวประมงไปลากอวนหาปลาที่ปากแม่น้ำแม่กลอง และอวนได้ติดพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์องค์หนึ่งเป็น พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง จึงอาราธนาพระพุทธรูปยืนมาประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองแม่กลอง ส่วนพระพุทธรูปนั่งได้มอบให้ญาติพี่น้องนำไปประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี

วัดศรีจำปา นี้ต่อมาได้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชั้นวรวิหาร และได้รับพระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร บาตรแก้วสีน้ำเงินที่เห็นอยู่ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมเธอกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ได้ถวายไว้เนื่องจากบาตรเดิมอาจจมหายอยู่ในน้ำก่อนที่ชาวประมงจะได้จากทะเลปากอ่าวแม่กลอง

* ข้อมูลเพิ่มเติม แผนที่การเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง วัดบ้านแหลม เก็บถาวร 2013-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

วัตถุมงคลของหลวงพ่อบ้านแหลม ซึ่งมีพุทธคุณโดดเด่นทั้งทางด้านเมตตาค้าขาย และแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์แก่คนแม่กลองเป็นอย่างยิ่ง.