หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

(พรหม จิรปุญฺโญ)
ชื่ออื่นหลวงปู่พรหม, หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2431 (81 ปี)
มรณภาพ13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดประสิทธิธรรม จังหวัดอุดรธานี
อุปสมบทพ.ศ. 2469
พรรษา43
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประสิทธิธรรม

หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ (พ.ศ. 2431 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512) พระเกจิอาจารย์แห่งเมืองอุดรธานี และเป็นพระคณาจารย์ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในชั่วชีวิตของท่าน จริงอยู่เคยมีชีวิตแบบฆราวาสธรรม แต่พอปลงกับชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เลยปลงได้และเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ และอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิต

ประวัติ[แก้]

หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ณ บ้านตาล ตำบล โคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายจันทร์ สุภาพงษ์ และมารดาชื่อ นางวันดี สุภาพงษ์ บิดา – มารดา ของหลวงปู่ท่านเป็นชาวนาชาวไร่มาตั้งแต่ดั้งเดิมสมัยแต่บรรพบุรุษตระกูลนั้นนับถือ ศาสนาพุทธเป็นชีวิตจิตใจมาหลายชั่วอายุคนแล้วหลวงปู่พรหมท่านเป็นบุตรหัวปี ท่านมีน้อง ๆ ที่สืบสายใยสายเลือดอีก 3 คน ท่านเป็นลูกคนโต ต่อมาท่านได้ครองเรือนเมื่อมีอายุได้ 20 ปี หลวงปู่พรหม ได้แต่งงานครั้งแรกกับศรีภรรยาชื่อ พิมพา ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ด้วยกันที่บ้านดงเย็นกับศรีภรรยา และอยู่กินกันจนมีลูก 1 คน เป็นลูกชาย พอคลอดออกมา ภรรยาและลูกชายได้เสียชีวิตพร้อมกัน หลวงปู่พรหม ท่านก็รู้ว่าความสุขของท่านได้หายไปแล้ว แต่ในตอนนั้นท่านก็ยังอยากใช้ชีวิตแบบฆราวาสอีก ก็มีภรรยาคนที่ 2 กับ นางกำแพง อยู่ด้วยกันนานถึง 5 ปี แต่คราวนี้ไม่มีลูก ต่อมาหลวงปู่ท่านก็ได้รบแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่ในหมู่บ้านนั้น ท่านเป็นคนนำหมู่เลี้ยงโค กระบือ ในสมัยนั้น ในกาลต่อมา พระอาจารย์สาร ได้มาที่หมู่บ้านดงเย็น และได้สั่งสอนอบรมคนในหมู่บ้านนั้น จนหลวงปู่ท่านก็มีใจที่จะบวช และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2469 ขณะมีอายุได้ 37 ปี ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูประสาทคุณานุกิจเป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า “ จิรปุญโญ” ต่อมาท่านได้ก็แสวงหาหนทางดับทุกข์ และ ได้ออกเดินธุดงค์กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ธุดงค์มาบ้านดงเย็นแล้วเมตตาแสดงธรรมโปรดท่านและชาวบ้าน ที่สุดทำให้ท่านคิดอยากจะบวช ก่อนบวชท่านได้สละทรัพย์สินสิ่งของให้คนยากจนอยู่นานหลายวันจึงหมด ที่ดินและบ้านอีกสองหลังก็รื้อไปทำเป็นกุฏิถวายวัด ส่วนภรรยาท่านก็ให้บวชเป็นชีก่อนท่านหนึ่งปี เมื่ออุปสมบทแล้วได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติและเดินธุดงค์เท้าเปล่ากับพระอาจารย์สารเป็นเวลา ๓ ปี จากนั้นจึงลาพระอาจารย์เดินธุดงค์ไปทั่วภาคอีสานและในประเทศลาวพร้อมหลานชาย ๑ คน และเมื่อจะธุดงค์ไปภาคเหนือเพื่อแสวงหาหลวงปู่มั่นก็ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับหลวงปู่ชอบพระสหธรรมิกของท่านซึ่งทั้งสององค์ถือว่าเป็นเพชรน้ำเอก เมื่อได้พบหลวงปู่มั่นแล้วท่านได้รับฟังโอวาทและประพฤติปฏิบัติธรรมกับองค์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่งก็ได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่ขาว อนาลโยไปทั่วภาคเหนือ ในกาลต่อมา ท่านได้มาอยู่ที่ วัดป่าสุทธาวาส และศึกษาพระธรรมกับหลวงปู่มั่น จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 รวมสิริอายุได้ 81 ปี 44 พรรษา

อ้างอิง[แก้]