หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์)

พันโท นายแพทย์ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์ (นิตย์ เปาเวทย์) เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2439 ตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ (คนแรก) เป็นผู้ให้กำเนิดของสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2523 รวมสิริอายุ 84 ปี[1] อดีตอธิบดีกรมการแพทย์คนแรก หนึ่งในนายแพทย์ผู้ร่วมชันสูตรพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 [2] มีการจัดงานเพื่อรำลึกถึงท่านในโอกาสครบ 120 ปีชาตกาล เมื่อ 29 กันยายน 2559 ที่ผ่านมาด้วย [3]

ครอบครัว[แก้]

หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์เป็นุตรของนายบุญและนางยิ้ม สมรสกับนางวงเดือน มีบุตรด้วยกัน 5 คน คือ นายภูลเวชช์ เวชชวิศิษฏ์, นางเกศเมือง เวชชวิศิษฏ์, ปริญญา เวชชวิศิษฏ์, นางนงนิจ ต.สุวรรณ และนายวิชชา เวชชวิศิษฏ์

การศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2451-2456 โรงเรียนตัวอย่างมณฑล พิษณุโลก จำนวน 6 ปี สอบไล่ได้ ม.6
  • พ.ศ. 2457 – 2460 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกแพทยศาสตร์ จำนวน 3.5 ปี สอบไล่ได้ภาค 1 (กำลังเรียนภาค 2 ได้ออกไปศึกษาวิชาแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา)
  • พ.ศ. 2460-2462 Harvard University Cambridge, Mass จำนวน 2 ปี สำเร็จเตรียมแพทย์ (โดยทุนของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์)
  • พ.ศ. 2462 – 2465 Albany Medical College, Union. จำนวน 4 ปี สำเร็จวิชาแพทย์ได้รับปริญญา
  • พ.ศ. 2465 University, Albany New York , Examination of New York State U.S.A. (M.D. เข้าสอบ State Board สอบได้และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะในสหรัฐอเมริกา)
  • พ.ศ. 2466 – 2467 St.Joseph’s Hospital Syracuse, New York, U.S.A. จำนวน 1 ปี แพทย์ประจำบ้าน (ภายหลังที่ได้ทำงานเป็นแพทย์ประจำบ้าน 6 เดือน แล้วได้ถูกมอบหน้าที่ให้ควบคุมแพทย์ประจำบ้านแผนกศัลยกรรม)
  • พ.ศ. 2480 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ได้รับ พ.ด. D.Sc.in Med.Hon. กิตติมศักดิ์)

บรรดาศักดิ์[แก้]

ท่านได้รับพระราชทานยศ ดังนี้

  • พ.ศ. 2469 เป็นรองอำมาตย์ตรี
  • พ.ศ. 2471 เป็นรองอำมาตย์โท
  • พ.ศ. 2473 เป็นอำมาตย์โท
  • พ.ศ. 2474 เป็นอำมาตย์เอก
  • พ.ศ. 2484 ว่าที่ นายพันตรี และเป็นนายพันตรี ในปีเดียวกัน
  • พ.ศ. 2497 เป็นนายพันโท
  • 8 สิงหาคม 2471 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์

การรับราชการ[แก้]

ราชการพิเศษ[แก้]

ราชการพิเศษซึ่งทางราชการแต่งตั้งให้รับหรือกระทำนอกไปจากตำแหน่งที่ประจำอยู่

  • พ.ศ. 2471 – 2475 ศัลยแพทย์พิเศษ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • พ.ศ. 2481 กรรมการสภาการแพทย์
  • พ.ศ. 2483 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองอาสากาชาด กรรมการอบรมศัลยแพทย์ กรรมการป้องกันภัยทางอากาศส่วนภูมิภาค
  • พ.ศ. 2484 แพทย์ช่วยราชการทหารเสนารักษ์พญาไท กรรมการองค์การแพทย์ แพทย์ที่ปรึกษาและแพทย์ช่วยราชการพญาไท ไปตรวจราชการชายแดนสุดทางที่นครจำปาศักดิ์ และสำโรง
  • พ.ศ. 2485 – 2487 ประจำหน้าที่ใน บ.ก.ทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2488 ประจำหน้าที่ในกองบัญชาการเขตภายใน กรรมการพิจารณาให้รางวัลแก่ผู้ที่คิดค้นหรือประดิษฐ์ของใหม่ขึ้นใช้ในราชการ
  • พ.ศ. 2489 กรรมการอำนวยการโรงงานเภสัชกรรม ประธานกรรมการแพทย์ตรวจอนามัยข้าราชการที่ลาไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และนักเรียนทุนรัฐบาล
  • พ.ศ. 2494 ไปดูงานการปกครองที่สหรัฐอเมริกา 2 เดือน
  • พ.ศ. 2495 ไปดูงานเกี่ยวกับการแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา 3 เดือน
  • พ.ศ. 2496 ไปประชุมเกี่ยวกับสถิติชีพและสุขภาพที่กรุงลอนดอน และไปดูงานต่อที่อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา รวม 3 เดือน กรรมการวัฒนธรรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงวัฒนธรรม
  • พ.ศ. 2497 ประธานกรรมการทำนุบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์ กรรมการป้องกันภัยทางอากาศแห่งราชอาณาจักร กรรมการชดเชยค่าเสียหายเนื่องจากการกบฏ กรรมการบริหารสมาคมปราบวัณโรค กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2498 กรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการแพทย์และเภสัชทหารนานาชาติ อนุกรรมการพิจารณาการจำหน่ายยาเคลื่อนที่
  • พ.ศ. 2499 อ. ก. พ. วิสามัญพิจารณาการขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาและเข็มศิลปวิทยา
  • พ.ศ. 2501 อนุกรรมการพิจารณาการขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาและเข็มศิลปวิทยา กรรมการที่ปรึกษาฝึกอบรมข้าราชการประจำกระทรวง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  ฝรั่งเศส :
    • พ.ศ. 2501 - เครื่องอิสริยาภรณ์เอตวลนัวร์ ชั้นที่ 3[11]
  •  พม่า :
    • พ.ศ. 2501 - เครื่องอิสริยาภรณ์มหาสเรสิธุ

อ้างอิง[แก้]

  1. http://ci.nii.ac.jp/ncid/BB08637352?l=en อ้างอิงหนังสืองานศพ
  2. สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. (2559). หนังสืออนุสรณ์ 120 ปีชาตกาล พันโท นายแพทย์ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฎ์ -จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในวาระครบ 120 ปีชาตกาล พันโท นายแพทย์ หลวงนิตย์เวชชวิศิษฎ์ (นิตย์ เปาวเวทย์). หนา 218 หน้า
  3. งานรำลึก 120 ปีชาตกาล พันโทนายแพทย์หลวงนิตย์ เวชชวิศิษฎ์ https://pantip.com/topic/35661371
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๖๓๔๗, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานส่งเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๐๗, ๒ ธันวาคม ๒๔๘๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๓, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๓๘, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๗๙, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๙, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 75 ตอนที่ 57 หน้า 2176, 29 กรกฎาคม 2501