หย่งฉี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หย่งฉี
เหอซั่วชินหวัง (和硕亲王)
หรงฉุนชินหวัง
ดำรงพระยศค.ศ. 1765 - 1766
ถัดไปเหมียนอี้
ประสูติ23 มีนาคม ค.ศ.1741
สิ้นพระชนม์16 เมษายน ค.ศ.1766 (พระชันษา 25 ปี)
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจวี๋ยหลัว หย่งฉี (愛新覺羅 永琪)
พระนามหลังสวรรคต
เหอซั่วหรงชินอ๋อง หย่งฉี (和硕荣亲王 永琪)
ราชวงศ์ชิง
พระบิดาจักรพรรดิเฉียนหลง
พระมารดายฺหวีกุ้ยเฟย์

หรงฉุนชินหวัง พระนามเดิมหย่งฉี (永琪) เป็นเจ้าชายแห่งจักรวรรดิต้าชิง เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ห้าในจักรพรรดิเฉียนหลง ที่ประสูติกับยฺหวีกุ้ยเฟย์ (愉貴妃)

เจ้าชายหย่งฉีเป็นคนรอบคอบและขยันหมั่นเพียรตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ในบรรดาเจ้าชายทั้งหมด ทรงเป็นท่านแรกที่ไปถึงสถานที่เรียนเสมอ ทรงสนิทสนมกับเจ้าชายหย่งเหยี่ยน พระอนุชาต่างพระมารดา ทรงปรีชาสามารถในการตรัสภาษาแมนจูและภาษามองโกลอย่างคล่องแคล่ว และยังทรงรอบรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการคำนวณปฏิทินจันทรคติ ทรงมีผลงานคือหนังสือเรื่อง เจียวถง เถิงเก่า (蕉桐幐稿) นอกจากนี้ยังทรงปรีชาสามารถในด้านการแต่งบทกวี ประดิษฐ์ตัวอักษร และอีกทั้งยังทรงมีฝีพระหัตถ์ในด้านการขี่ม้าและยิงธนู จากพรสวรรค์เหล่านี้ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของพระบิดายิ่งนัก ใน ค.ศ.1765 จักรพรรดิเฉียนหลงได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น “หรงชินหวัง” (榮親王) และเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกที่ได้รับพระนามอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ตัวอักษรคำว่า “หรง” (榮) นั้นหมายถึง “บารมี” หรือ “เกียรติ” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงตั้งความหวังไว้สูงมากกับพระราชโอรสองค์นี้

สิ้นพระชนม์[แก้]

เจ้าชายหย่งฉีสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ.1766 หลังจากทรงทุกข์ทนทรมานจากโรคที่ไม่รู้จัก เป็นเวลาหลายเดือน (ทรงเริ่มประชวรตั้งแต่ได้รับพระนามเป็นหรงชินหวัง) ทรงได้รับพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า “ฉุน” (純) อันหมายถึง “บริสุทธิ์” พระนามเต็มหลังสิ้นพระชนม์คือ “หรงฉุนชินอ๋อง” (榮純親王)

พระสุสาน[แก้]

เจ้าชายหย่งฉี มีพระสุสานอยู่ใกล้กับเจ้าชายหย่งหวง (永璜) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในจักรพรรดิเฉียนหลงที่สิ้นพระชนม์ขณะพระชันษาเพียง 22 ปี พระสุสานในบางครั้งถูกเรียกว่า “พระสุสานรัชทายาท” ตั้งอยู่ในตอนเหนือของกรุงปักกิ่งไปทางทิศตะวันออก อยู่ใกล้กับ อาคารปู้เหล่าถุน ในปี ค.ศ.1958 ที่ของพระสุสานถูกทำลายเพื่อทำการก่อสร้าง โครงกระดูกถูกเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังและถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์

การถูกสนับสนุน[แก้]

พระมารดาของเจ้าชายหย่งฉีไม่ได้เป็นจักรพรรดินีแต่เป็นเพียงกุ้ยเฟย แต่เจ้าชายหย่งฉีกลับได้รับสถาปนาขึ้นเป็นอ๋องชั้นเอก และมีสัญญาณว่าจักรพรรดิเฉียนหลงทรงพิจารณาจะให้เจ้าชายหย่งฉีเป็นรัชทายาท แทนที่เจ้าชายหย่งจีและเจ้าชายหย่งจิ่งที่ประสูติกับจักรพรรดินีจี้ เช่นนี้ก็เป็นที่เชื่อและมั่นใจได้ว่าจักรพรรดิเฉียนหลงได้ทรงสนับสนุนส่งเสริมและหมายมั่นที่จะให้พระราชโอรสพระองค์นี้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์

เจ้าชายหย่งฉีเป็นเจ้าชายที่โดดเด่นที่สุดในบรรดาพระราชโอรสในจักรพรรดิเฉียนหลง และทรงเลือกที่จะประสบความสำเร็จเหมือนกับพระบิดา แต่ก็สิ้นพระชนม์ขณะพระชันษาเพียง 25 ปี ใน ค.ศ.1793 เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงได้พบกับทูตอังกฤษชื่อ จอร์จ มาคาร์ทนีย์ ทูตคนนี้ก็พูดยกย่องและชื่นชอบในตัวองค์ชายหย่งฉีเป็นอันมาก

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

  • พระบิดา: จักรพรรดิเฉียนหลง
  • พระมารดา: อวี๋กุ้ยเฟย จากสกุลเคอหลี่เย่เท่อ
  • พระชายา
    • พระชายาเอก จากสกุลซีหลินเจวี๋ยหลัว
    • พระชายารอง จากสกุลสั่วชั่วหลัว
    • พระชายารอง จากสกุลกวาเอ่อร์เจีย
    • พระชายารอง จากสกุลอีเอ่อร์เกินเจวี๋ยหลัว
    • พระชายารอง จากสกุลว่านหลิวฮา
    • พระสนม จากสกุลหู
  • พระโอรส
    • เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (1759-1759)
    • เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (1760-1760)
    • เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (1761-1763)
    • เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (1764-1764)
    • เจ้าชายเหมียนอี้ (绵亿,1764-1815) หรงเค่อจวิ้นหวัง (榮恪郡王,1784-1815)
    • เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) (1765-1765)
  • พระธิดา
    • เจ้าหญิงกู้ซาน (ไม่ปรากฏพระนาม)