หยาด นภาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดหยาดฟ้า การวิบูลย์
เกิด15 มีนาคม พ.ศ. 2487, 15 มีนาคม พ.ศ. 2490
ที่เกิดอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
เสียชีวิต5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (65 ปี, 62 ปี)
แนวเพลงลูกกรุง, ลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง
ช่วงปี2513 - 2553 (40 ปี)
ค่ายเพลงอามิโก้
นิธิทัศน์
โรต้า
พีจีเอ็ม
ลองเพลย์ เร็ดคอร์ด
กรุงไทยออดิโอ
คู่สมรสพัชรีรัตน์ การวิบูลย์

หยาด นภาลัย หรือชื่อจริง สุริยพงศ์ การวิบูลย์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2490 (แต่ภายหลังหยาดก็ได้บอกว่าเกิดปี พ.ศ. 2487) — 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553) เป็นศิลปินเพลง เป็นนักร้องเพลงลูกกรุงชาวไทย ที่มีบทเพลงที่เป็นที่รู้จักเช่น ลำน้ำพอง พ.ศ. 2521 หนองหานวิมานร้าง พ.ศ. 2513 สาวน้ำพองสะอื้น ความช้ำที่จำใจ เนื้อคู่ยังมีมาร ยามจน และเพลง จากปากพนังถึงมหาชัย พระลอคนใหม่ พ.ศ. 2524 และมีเพลงมากกว่า 500 เพลง ในอัลบั้มโปรเจกต์ เพลงอมตะเงินล้าน ทุกอัลบั้ม ในอดีตมีหลายคนคิดว่า สมมาตร ไพรหิรัญ คือหยาด นภาลัย เพราะแสดงในมิวสิกวิดีโอของหยาด นภาลัย ทุกเพลง

ประวัติ[แก้]

หยาด นภาลัย มีชื่อเดิมว่า หยาดฟ้า กาลวิบูลย์ เกิดที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เป็นบุตรคนสุดท้อง (ภายหลังหยาดบอกว่าเป็นบุตรคนที่ 16) ในพี่น้อง 18 คน ของคุณพ่อเสมา และคุณแม่อ่อนจันทร์ กาลวิบูลย์ เมื่อตอนเด็กเขาได้ตายแล้วฟื้น 2 ครั้ง จึงต้องขออนุญาตครอบครัวมาบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 7 ขวบ ในปี พ.ศ. 2494 ได้เรียนทั้งภาษาไทย บาลี และอังกฤษที่วัดในบ้านเกิดจนแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุได้ 10 ปี จนจบชั้นป.4 จึงได้ลาสิกขา เพื่อเรียนต่อชั้น ม.ศ.1 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองอุดรธานี และเมื่อจบชั้น ม.ศ.3 ขออนุญาตทางบ้านมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่ไม่มีใครเห็นด้วย เขาจึงตัดสินใจหนีเข้ากรุงเทพฯ คนเดียว ชีวิตครอบครัวสมรสกับ พัชรีรัตน์ กาลวิบูลย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายปุณณรัตน์ การวิบูลย์ และ น.ส.ชมพูนุช การวิบูลย์

งานเพลง[แก้]

หยาด นภาลัย ได้โอกาสร้องในร้านอาหารพร ดีไลท์ ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ด้วยน้ำเสียงคล้ายคลึงกับชรินทร์ นันทนาคร และต่อมาก็ได้มีโอกาสเข้ามาแบกกลอง ให้กับวงดนตรี จุฬารัตน์ และมีโอกาสขึ้นร้องคั่นเวลา โดยมีครูเพลงเช่น ครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูมงคล อมาตยกุล พร ภิรมย์ และ นคร ถนอมทรัพย์ เป็นคนแนะนำ หยาดก็ได้บันทึกเสียงเป็นครั้งแรกคือ "วันพระไม่มีเว้น" เมื่อปี พ.ศ. 2513 ด้วยน้ำเสียงคล้ายชรินทร์ นันทนาครเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อวงจุฬารัตน์ ยุบวง หยาด มีประสบการณ์การแต่งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง ในระดับที่น่าพอใจ จึงออกอัลบั้มชุดแรก แบบทำเอง ขายเอง ในปี พ.ศ. 2513 คือหนองหานวิมานร้าง และลำน้ำพอง ในปี พ.ศ. 2521 แต่ไม่ดัง จนในชุดต่อๆมา คือพระลอคนใหม่ ในปี พ.ศ. 2524 และลำน้ำพอง เมื่อปี พ.ศ. 2527 จึงเริ่มโด่งดัง

เขาเคยใช้ชื่อหลายชื่อ เช่น ประสพชัย กาลวิบูลย์, นรินทร์ พันธนาคร จนต่อมากลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับชื่อนี้ เพราะพ้องกับชื่อของ ลุงชรินทร์ นันทนาคร แต่ในที่สุดจึงต้องเปลี่ยนเป็น นรินทร์ นภาลัย และต่อมาใช้ หยาด นภาลัย ที่ครูนคร ถนอมทรัพย์ ตั้งให้

ต่อมาหยาดได้บันทึกเสียงเพลงโดยนำเพลงของชรินทร์ นันทนาคร,สุเทพ วงศ์กำแหง,ธานินทร์ อินทรเทพ,ฯลฯ ในโปรเจกต์ เพลงอมตะเงินล้าน ตั้งแต่ชุดที่สอง จนต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ค่ายโรต้าได้ปิดตัวลง หยาดก็ได้ไปเข้าร่วมในสังกัดพีจีเอ็ม และเป็นศิลปินคนแรกของทางค่ายอีกด้วย และได้นำเพลงดังต่างๆที่หยาดได้เคยร้องอยู่นั้นมาร้องใหม่ตั้งแต่ชุด 1 - 51 ถึอเป็นมากที่สุดในขณะที่อยู่ในสังกัดพีจีเอ็ม แต่ถึงแม้หยาดจะไม่ได้ออกมิวสิควิดีโอทุกเพลงด้วยตนเองเพราะเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับทางค่ายต้นสังกัดโกงเงินค่าแสดงจนต้องจ้างให้สมมาตร ไพรหิรัญ มาแสดงแทน จนทำให้เป็นที่กระแสว่าสมมาตร ไพรหิรัญ คือ หยาด นภาลัย จนในที่สุดเขาก็หมดสัญญากับทางค่าย จนต่อมาได้เข้าร่วมสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น และ อาโซน่า จนอามิโก้ได้ปิดตัวลง จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่บ้านเกิดที่ จ.อุดรธานี จนเสียชีวิต แต่เขาได้เคยปั้นศิลปินคนอื่นๆเป็นศิลปินแทนตัวอีกด้วย คือนิตยา นภาลัย ก้อง นภาลัย และ พร นภาลัย ปัจจุบันกลับมาใช้ชื่อ ยอดธง ทองใบ และก่อนหน้านั้นเคยใช้เมื่อตอนอยู่ในค่ายโรส มีเดีย จนได้เปลี่ยนเป็นหลายชื่อ เช่น พร นภาลัย, ยอด หลานนภาลัย, ยอด วณาไลยณ์, ยอด วณาลัย, และในที่สุดเขาได้เปลี่ยนเป็นเพลงแนวหมอลำและลูกทุ่ง แต่ก็ไม่โด่งดัง

บั้นปลายชีวิต[แก้]

หลังจากที่หยาด นภาลัย ถูกทางค่ายพีจีเอ็มโกงเงินจนเป็นข่าวและหมดสัญญาแล้ว ก็ได้มีปัญญาเครียดสะสมจนป่วยเป็นโรคเบาหวาน มานานกว่า 13 ปี ในปี พ.ศ. 2540 และได้เสียชีวิตเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จากอาการหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นเลือดในสมองแตก รวมอายุได้ 63 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ วัดโตนดมหาสวัสดิ์

ผลงาน[แก้]

อัลบั้มในช่วงยุคแรก[แก้]

  • วันพระไม่ได้มีหนเดียว
  • ลำน้ำพอง
  • อกพี่ยังคอย
  • หนองหารวิมารร้าง
  • พระลอคนใหม่
  • สาวลาวรำพัน ลูกข้าวเหนียว (คู่กับ ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์) (อโซน่า)

อัลบั้มในสังกัด ลองเพลย์ เรคคอร์ด[แก้]

  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 2 ลืมไม่ลง
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 5 ลำน้ำพอง
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 10 หนองหารวิมานร้าง
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 15 กากีเหมือนดอกไม้
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 25 กาใฝ่หงส์
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 29 ทาสเทวี
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด 52 สาวสุราษฎร์
  • เพลงอมตะเงินล้าน ชุด คู่รัก นกเขาคูรัก (คู่กับ ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์)
  • เพลงสังคีตประยุกต์
  • ฝากฮักสาวนา

อัลบั้มในสังกัด พีจีเอ็ม เรคคอร์ด[แก้]

  • เพลงดังอมตะ แนวดนตรีใหม่ ดอกแก้ว
  • เพลงดังอมตะ แนวดนตรีใหม่ ผิดทางรัก
  • เพลงดังอมตะ แนวดนตรีใหม่ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 1 ล่องโขง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 2 รวมเพลงรัก
  • เพลงดังอมตะ ชุด 3 ลำน้ำพอง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 4 ในอ้อมกอดพี่
  • เพลงดังอมตะ ชุด 5 (ไม่ทราบชื่อ)
  • เพลงดังอมตะ ชุด 6 กากีเหมือนดอกไม้
  • เพลงดังอมตะ ชุด 7 แม่ยอดรัก
  • เพลงดังอมตะ ชุด 8 คิดถึงพี่บ้างไหม
  • เพลงดังอมตะ ชุด 9 รักจากดวงใจ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 10 ขุ่นแม่โขง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 11 ลาก่อนความรัก
  • เพลงดังอมตะ ชุด 12 แม่นางนกขมิ้น
  • เพลงดังอมตะ ชุด 13 ในฝัน
  • เพลงดังอมตะ ชุด 14 ตะรางหัวใจ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 15 โลกนี้คือละคร
  • เพลงดังอมตะ ชุด 16 ไก่ฟ้า
  • เพลงดังอมตะ ชุด 17 โนรีจากคอน
  • เพลงดังอมตะ ชุด 18 คืนนี้พี่คอยเจ้า
  • เพลงดังอมตะ ชุด 19 รักพี่มีบาป
  • เพลงดังอมตะ ชุด 20 ลำน้ำพอง (พิเศษ)
  • เพลงดังอมตะ ชุด 21 ค่ำแล้วในฤดูหนาว
  • เพลงดังอมตะ ชุด 22 แอ่วเมืองเหนือ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 23 เสียงสะอื้นจากสายลม
  • เพลงดังอมตะ ชุด 24 จุมพิตนวลปราง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 25 น้องนางบ้านนา
  • เพลงดังอมตะ ชุด 26 สาวฝั่งโขง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 27 เสียขวัญ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 28 หรีดรัก
  • เพลงดังอมตะ ชุด 29 ใต้เงาจันทร์
  • เพลงดังอมตะ ชุด 30 เพลงอมตะคู่ขวัญ (คู่กับ วงจันทร์)
  • เพลงดังอมตะ ชุด 31 ชุดพิเศษ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 32 ดาวเหนือ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 33 รอ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 34 ที่รัก
  • เพลงดังอมตะ ชุด 35 ศรีนวล
  • เพลงดังอมตะ ชุด 36 ร่มฟ้าป่าซาง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 37 ลืมไม่ลง
  • เพลงดังอมตะ ชุด 38 เอ็กซ์โอ
  • เพลงดังอมตะ ชุด 39 (ไม่ทราบชื่อ)
  • อมตะลูกทุ่ง ชุด 40 บัวตูมบัวบาน
  • อมตะลูกทุ่ง ชุด 41 น้ำท่วม
  • อมตะลูกทุ่ง ชุด 42 นิราศเวียงพิงค์
  • อมตะลูกทุ่ง ชุด 43 หนาวลมที่เรณู
  • ชุด 44 ฝากเพลงลอยลม
  • ชุด 45 คาวหัวใจ
  • ชุด 46 (ไม่ทราบชื่อ)
  • ชุด 47 กว๊านพะเยา
  • ชุด 48 ออกพรรษาที่เชียงคาน
  • ชุด 49 เรือนแพ
  • ชุด 50 (ไม่ทราบชื่อ)
  • ชุด 51 (ไม่ทราบชื่อ)
  • ตำนานเพลงสุนทราภรณ์

อัลบั้มในสังกัด นิธิทัศน์ โปรโมชั่น[แก้]

  • กล่อมกรุง

อ้างอิง[แก้]