หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ17 ตุลาคม พ.ศ. 2438
สิ้นชีพิตักษัย26 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (68 ปี)
ราชสกุลจันทรทัต
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
พระมารดาหม่อมราชวงศ์แข จันทรทัต

หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต (17 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์แข จันทรทัต

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์แข จันทรทัต เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2438 มีโสทรเชษฐภคินี 3 องค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าทัตจันทร์จำรูญ จันทรทัต (พ.ศ. 2428-2485)
  • หม่อมเจ้าวิบูลย์จันทรา จันทรทัต (พ.ศ. 2429-2473)
  • หม่อมเจ้าประภาจันทรี จันทรทัต (พ.ศ. 2437-2455)

และมีอนุชาและขนิษฐาต่างพระมารดา 4 องค์ ได้แก่

เมื่อยังทรงพระเยาวน์นั้น พระบิดาทรงโปรดมากด้วยเป็นพระโอรสองค์แรก เมื่อเจริญชันษาทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง เมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัยย้ายไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรี หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัตก็ทรงลาออกแล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อพ.ศ. 2454[1] จนจบชั้นของโรงเรียน และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรีนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ขณะเดียวกันก็ทรงรับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมาย้ายไปรับราชการที่แผนกปรึกษากระทรวงพานิชย์และคมนาคม จนถึงสมัยเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลต้องปรับปรุงตัดข้าราชการออกเพื่อให้งบประมาณเข้าสู่ดุลยภาพ หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัตก็ต้องออกจากราชการในคราวนั้น และประทับอยู่ที่วังมหาชัยตลอดมา[2] ในระหว่างที่ไม่ได้ทรงทำราชการอยู่นี่เองก็ทรงใช้เวลาในการศึกษาตำราโหราศาสตร์ และทรงมีความรู้ความเชี่ยวชาญจนได้รับตำแหน่งนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2491 – 2492[3] นอกจากนี้หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต ยังเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ถึง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494[4]

หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507 สิริชันษา 68 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2508[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระประวัติ เก็บถาวร 2018-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ debsirinalumni.org สืบค้นเมื่อ 17-04-57.
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาแก่นไตรภพ เพ็ชรในหิน วิวิธธัมโมทัย มฤตยูกถา หรือ มรณานุสสร อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต. กรุงเทพ : พรหมประสิทธิ์การพิมพ์, พ.ศ. 2508. 191 หน้า.
  3. ประวัติสมาคมโหร เก็บถาวร 2013-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ astrothai.org สืบค้นเมื่อ 02-05-57.
  4. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-05-01.
  5. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 25 หน้า 67 วันที่ 2 พฤษภาคม 2493
  7. ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 6 พฤศจิกายน 2471 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 45 หน้า 2364