หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ16 มกราคม พ.ศ. 2433
ชีพิตักษัย19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (45 ปี)
ชายาหม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร (2432-2477)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระมารดาหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา

อำมาตย์เอก เสวกเอก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2432 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2433) ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยและโรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Harrow ที่ประเทศอังกฤษ แล้วจึงเสด็จเรียนวิชาสถาปัตยกรรมที่เอกอลเดโบซาร์ ประเทศฝรั่งเศส หลังจากจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการที่กรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2459 จนได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกเอกเมื่อปี พ.ศ. 2466

ปี พ.ศ. 2469 เมื่อกรมศิลปากรย้ายสังกัดขึ้นอยู่กับราชบัณฑิตยสภา หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ได้เป็นผู้อำนวยการศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตสภา และได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก เมื่อปี พ.ศ. 2470 ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรและกลุ่มสถาปนิกยุคบุกเบิกของสังคมไทยในสมัยนั้น ผู้ได้รับการศึกษาสถาปัตยกรรมตามแนวสากลจากอังกฤษและฝรั่งเศส ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม (The Association of Siamese Architects)[1]

ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของพระองค์เช่น การซ่อมแปลงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท งานออกแบบพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม[2] วังไกลกังวล เป็นต้น

เหรียญชัย หรือ เหรียญนารายณ์บันฦๅชัย เหรียญพระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ได้ปฏิบัติราชการในคราวสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งสถาปนาและพระราชทานโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และออกแบบโดย หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร

พระองค์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุรีย์ประภา รพีพัฒน์ มีพระโอรส 1 คน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร

หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2478) ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7[3] พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2478 ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม

ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็น บูรพศิลปิน สาขาทัศนศิลป์[4]ในฐานะเป็นศิลปินที่มีผลงานอันทรงคุณค่ายิ่งต่อประเทศไทย

ผลงานที่โดดเด่น[5][แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  • พ.ศ. 2470 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Ordine dei Santi Maurizio e Lazzaro ชั้น คอมมานเดอร์ แห่งอิตาลี[11]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, กอบกุล อินทรวิจิตร, ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ และวีระ อินพันทัง (2536) พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต, สมาคมสถาปนิกสยามฯ, กรุงเทพฯ, หน้า 33-34.
  2. แนวความคิดทางสถาปัตยกรรมของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
  3. กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. - - กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547.
  4. บูรพศิลปิน พุทธศักราช 2558.
  5. ปูชนียศิลปิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
  6. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 94 วันที่ 10 เมษายน 2475
  7. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและรายนามผู้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ ในวันที่ 1 เมษายน 2462 และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ , เล่ม 36,หน้า 7 วันที่ 6 เมษายน 2462
  8. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 94 วันที่ 10 เมษายน 2475
  9. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 134 วันที่ 14 เมษายน 2472
  10. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า วันที่ 26 พฤศจิกายน 2469 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 3122
  11. พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ