สุริยนันทนา สุจริตกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุริยนันทนา สุจริตกุล

เกิดหม่อมเจ้าสุริยนันทนา
7 สิงหาคม พ.ศ. 2456
เสียชีวิต4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (100 ปี)
คู่สมรสจิตติ สุจริตกุล (2485–2513)
บุตรไกรจิตต์ สุจริตกุล
บิดามารดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
หม่อมเรณี สุริยง ณ อยุธยา

ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล (เดิม: หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง; 7 สิงหาคม พ.ศ. 2456 — 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ประสูติแต่หม่อมเรณี สุริยง ณ อยุธยา

ประวัติ[แก้]

ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล มีพระยศเมื่อประสูติที่ หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง มีนามลำลองว่า ท่านหญิงน้อย[1] เป็นพระธิดาองค์รองในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เป็นองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่หม่อมเรณี สุริยง ณ อยุธยา บุตรีของร้อยเอก ไมเคิล ฟุสโก ชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี[2] ครูแตรในกรมทหารแตรมะรีน[3] ซึ่งหม่อมเรณี (Renée Fusco) มีฝาแฝดชื่อ หม่อมเรณิ (Reni Fusco) ซึ่งเป็นหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เช่นกัน หม่อมเจ้าสุริยนันทนามีอนุชาร่วมหม่อมมารดา 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าสุริยทัตรังสรรค์ สุริยง[4] ในวัยเยาว์หม่อมเจ้าสุริยนันทนาได้ประทับกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าวังสระปทุม และทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินี หลังสำเร็จการศึกษาได้รับราชการเป็นครูสอนที่โรงเรียนราชินีบน[5]

หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง ได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2485[6][7] เพื่อสมรสกับจิตติ สุจริตกุล ซึ่งเป็นอดีตเอกอัครราชทูต และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) มีโอรส 1 คน คือ ไกรจิตต์ สุจริตกุล สมรสกับพัลลภา สุจริตกุล (สกุลเดิม หงสกุล)[8] มีบุตรสองคน คือ โสภณา สุจริตกุล และศักดิ์สุริยง สุจริตกุล[9]

หลังการสมรส ท่านผู้หญิงสุริยนันทนาได้ช่วยเหลือสามีที่ปฏิบัติราชการในตำแหน่งเอกอัครราชทูตในหลายประเทศ รวมถึงอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งเคยถวายการรับใช้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นผู้แทนพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ[5]

ปัจฉิมวัยและอนิจกรรม[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2545 ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล ประชวรด้วยพระโรคชราและพระสมองเสื่อม ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงมีคำสั่งให้ท่านผู้หญิงสุริยนันทนาเป็นบุคคลไร้ความสามารถ และให้ศักดิ์สุริยงผู้เป็นนัดดาทำการอนุบาล[10] ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล ถึงแก่อนิจกรรมด้วยพระโรคปัปผาสะบวม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 สิริชันษา 100 ปี นับเป็นพระราชนัดดาชั้นหม่อมเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีชันษาสูงที่สุด ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพระราชทานโกศราชวงศ์ พร้อมฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งประดับเป็นเกียรติยศศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ มีกำหนด 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาพิเศษ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร[5][11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เอกชัย โควาวิสารัช, รศ. นพ. (19 พฤษภาคม 2565). "วิเคราะห์สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของกรมหลวงชุมพรฯ ผ่านมุมมองการแพทย์สมัยใหม่". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. พูนพิศ อมาตยกุล, ศ.นพ. ฝรั่งกับดนตรีไทย. เรียกดูเมื่อ 21 เมษายน 2557
  3. "ผู้บังคับบัญชา". กองดุริยางค์ทหารเรือ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-07. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-746-7
  5. 5.0 5.1 5.2 "ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม 2557". MGR Online. 26 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาสสำนักพระราชวัง เรื่องลาออกจากถานันดรสักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 59 (60ง): 2099. 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  8. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  9. "สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ 6" (PDF). ชมรมสายสกุล ณ สงขลา. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งให้ หม่อมเจ้าหญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของนายศักดิ์สุริยง สุจริตกุล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (71ง): 37. 3 กันยายน พ.ศ. 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. อินทรีเหล็ก (28 ตุลาคม 2557). "บุคคลในข่าว". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๑๘๗, ๑๗ มกราคม ๒๔๙๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๗๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๕๑, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔